Archive | กรกฎาคม, 2013

ซีโอฟาร์ม (Zeo Farm) หินแร่ภูเขาไฟใช้แก้ปัญหากลิ่นเหม็นประจำฟาร์ม

30 ก.ค.

ปัญหาการเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยในปัจจุบันยังถือว่าเป็นอาชีพที่มักสร้างความไม่พอใจให้แก่ เทศบาล อบต. นักปกครองท้องถิ่นทั่วไป เพราะปัญหาและผลกระทบที่ตามมาส่วนใหญ่จะทำให้บ้านใกล้เรือนเคียงนั้นได้รับความเดือดร้อนจาก กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ แมลงวัน หนู แมลงสาบ ยุง ซึ่งสร้างสามารถสร้างปัญหาก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตามมาอีกมากมาย หากมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ไม่ดีพอ กลิ่นบูดเน่าของมูลสัตว์ที่มีทั้ง แอมโมเนีย (NH3) ก๊าซไข่เน่า (H2S) ที่ส่วนใหญ่แล้วก็จะทำร้ายสัตว์ที่เลี้ยงอยู่ในฟาร์มนั้นก่อนใครเพื่อ ทำให้ระบบทางเดินหายใจผิดปรก ไอจาม ฟืดฟาด แพ้แอมโมเนีย น้ำตาไหล เจ็บไข่ได้ป่วยได้ง่าย ทำให้อ่อนแอ เครียด ไม่กินอาหาร น้ำหนักลด เจ็บป่วยได้ง่าย

อีกทั้งกลิ่นเหม็นที่เกิดจากก๊าซต่างๆ เหล่านี้ทำให้ดึงดูดแมลงวัน ยุง มด หนู แมลงสาบ ฯลฯ เข้ามารบกวนสร้างความรำคาญใจแก่เพื่อนบ้าน ยุงตัวเมียนั้นกินเลือดคนและสัตว์ สามารถเป็นพาหะนำพาเอาเชื้อไวรัสสมองอักเสบในสุกรไปติดยังคนได้ แมลงวันตอมสิ่งปฏิกูลและนำพาไปสู่อาหาร อาจทำให้สุขอนามัยทางด้านอาหารในละแวกของชุมชนนั้นไม่สะอาดปลอดภัย ทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอลูกเล็กเด็กแดงอาจจะมีปัญหาเรื่องการเจ็บป่วยจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือติดเชื้อโรคจากพาหนะแมลงวันที่เคลื่อนย้ายถ่ายเทไปต่างๆได้โดยง่าย

การแก้ปัญหาเบื้องต้นที่ทำได้ง่ายและก่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลด้านบวกตามมาอย่างมากมาย คือการใช้หินลาวาหรือหินแร่ภูเขาไฟที่ผ่านความร้อนมหาศาลจากใต้พื้นภิภพ ผิวเปลือกโลกที่แข็งแต่มีความบางมากกว่าจึงถูกหลอมเหลวไม่สามารถควบคุมกักกั้นลาวาเหล่านั้นได้ทำให้ทะลักหลั่งไหลออกมาเจอสภาพบรรยากาศที่บางเบากว่า จึงทำให้หินภูเขาไฟเหล่านี้ระเบิดแตกตัว เกิดการเดือดทำให้มีโพรงของอากาศที่แทรกเข้ามา ทำให้เกิดรูพรุนมหาศาล (C.E.C. = Catchion Exchange Capacity) ไม่ว่าจะนำมาทุบ บด ให้แตกละเอียดอย่างไรก็จะยังคงสภาพของการจับได้อยู่เสมอ เพราะความโปร่งพรุนจะอยู่ในทุกอณูทุกรูปของหินแร่ภูเขาที่ผ่านเครื่องบดไม่สูงเกินไปซึ่งอาจจะเป็น1,000 เมช (Mesh)หรือมากกว่า แต่ถ้าในระดับแค่ไม่กี่ร้อยเมชนั้นสามารถที่จะช่วยจับตรึงก๊าซในรูปต่างๆ ได้อย่างสบาย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสในพื้นคอกต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น เกษตรกรท่านใดสนใจผลิตภัณฑ์หินแร่ภูเชาไฟที่ใช้จึบก๊าซของเสียและกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์ ซีโอฟาร์ม (ZeoFarm) เพื่อแก้ปัญหาการเลี้ยงสัตว์ไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้านติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com 0-2986-1680 – 2

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13528&Param2=7

กุญแจดอกสำคัญ ปลดล็อคดินที่ไร้ค่าให้มีปุ๋ย

29 ก.ค.

กรด-ด่างของดินมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากกรด-ด่างไปเกี่ยวข้องกับธาตุอาหารในดินที่พืชนำไปใช้ประโยชน์จริง ความเป็นกรด-เป็นด่างของดินบอกเป็นพีเอช ไล่ระดับเป็นตัวเลขตั้งแต่ 1-14 ตามกรด-ด่างของดิน โดยถือว่าเอาพีเอชที่ 7 เป็นกลาง ดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งหมายถึงว่าธาตุอาหารในดินสามารถปลดปล่อยได้ดีที่สุด ครบถ้วนที่สุด ดินบริเวณนั้นต้องมีค่าพีเอช อยู่ระหว่าง 5.8-6.3 หรือเป็นกรดอ่อนๆ ดินเปรี้ยว(ดินกรด)เป็นปัญหาหนึ่งที่มีผลต่อการปลูกพืช เนื่องมาจากปริมาณของกรดในดินที่มากเกิน ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ปริมาณธาตุอาหารในดินที่ถูกปลดปล่อยออกมาอาจจะมากหรือน้อยเกินไป ไม่สมดุลต่อการนำไปใช้ ส่งผลให้พืชได้รับไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในปริมาณน้อย ทั้งๆที่มีการเติมอยู่ตลอดเวลา ความเปรี้ยวของดินส่งผลให้ธาตุอาหารพืชอย่างอะลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีสละลายปลดปล่อยออกมาเยอะเกินไป ก่อให้เกิดอันตรายต่อพืช ทำให้พืชขาดไนโตรเจนไม่โตแคระแกร็น อาจเลวร้ายถึงขั้นยืนต้นตายได้ แก้ปัญหานั้นไม่ยากเพียงแค่ปรับดินให้เกิดความสมดุลเท่านั้นเอง เมื่อดินเปรี้ยว(ดินกรด)ก็หาสิ่งที่ตรงกันข้ามมาปรับ เกษตรกรส่วนใหญ่ทราบกันดีว่าต้องใช้ปูนมาร์ล โดโลไมท์ เพราะมีฤทธิ์เป็นด่าง(เค็ม)

ปูนมาร์ล ปูนโดโลไมท์ปรับดินเปรี้ยว(ดินกรด)ควรใช้อย่างชาญฉลาด ต้องรู้ว่าดินเปรี้ยวมากน้อยแค่ไหน ต้องใช้เท่าไรจึงจะพอ ใช่ว่าถูกต้นทุนต่ำแล้วใช้บ่อยใช้เยอะ มากๆเข้าก็จะเกิดโทษได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามปูนก็คือปูนวันยังค่ำ เจอน้ำละลายตัวได้ดีจริงอยู่ พอแห้งหรือเข้าหน้าแล้งเมื่อไรแน่นแข็งจับตัวเป็นก้อนชนิดทุบไม่แตก ฝนตก ราดน้ำไม่ละลาย น้ำผ่านขึ้นลงไม่ได้พืชเหี่ยวเฉาขาดออกซิเจน การปรับตัวรับสิ่งใหม่ๆ อย่างนำหินภูเขาไฟมาปรับเปลี่ยนโครงสร้างดินให้ดี ไม่ให้รัดตัวเป็นก้อน ทำให้น้ำให้อากาศผ่านได้สะดวก ใช่ว่าคนโง่หรือยอมให้เขาหลอก ซึ่งสิ่งๆนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่เลยกับเกษตรกรบางท่าน แต่มันอาจเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรหลายคนที่ยังไม่ทราบ ไม่มีทางออกยังปิดหูปิดตาทำทั้งๆที่รู้ว่าขาดทุน ต้องกู้หนี้ยืมสินเขามาซื้อปุ๋ยยาราคาแพงๆ เพื่อแก้ที่ปลายเหตุไม่รู้จักจบสิ้น จริงๆแล้วหินภูเขาไฟนอกจากปรับสภาพดินแล้วยังช่วยตรึงไนโตรเจนให้ปุ๋ยละลายช้าลง มีซิลิก้าช่วยให้ต้นพืชแข็งแกร่งไม่เป็นโรค สำหรับดินเปรี้ยว(ดินกรด)ควรใช้หินภูเขาไฟที่ชื่อว่า “พูมิช” ปรับเนื่องจากพีเอช 7-7.5 (เป็นกลาง) แต่หากตรวจวัดแล้วปรากฏว่าดินของท่านเป็นด่าง(เค็ม)ให้ใช้หินภูเขาไฟที่ชื่อว่า “ภูไมท์ซัลเฟต(สีแดง)” แทนเนื่องจากพีเอช 4.5 (เป็นกรด) แม้ผลผลิตจะได้เท่าเดิมหรือมากกว่า แต่ที่สำคัญใช้ปุ๋ยใช้ยาน้อยกว่าแน่นอน สอบถามเพิ่มเติมหรือหาซื้อผลิตภัณฑ์มาทดลองใช้ได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13520&Param2=17
วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

เที่ยวปากเซ ดูเกษตรประเทศลาว

22 ก.ค.

ในห้วงช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสข้ามไปยังฝั่งลาว โดยได้รับคำเชิญจากท่านท้าวสุรชัย ซึ่งมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของสหกรณ์การเกษตรของเมืองปากซ่อง ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งของแขวงจำปาสัก (ในอนาคตจะพัฒนาเป็นนครจำปาสักรองจากนครเวียงจันและนครหลวงพระบาง) ได้ให้โอกาสเข้าไปดูลักษณะงานด้านเกษตรที่ถือว่ามีศักยภาพค่อนข้างมากในด้านการปลูกพืชเมืองหนาว โดยเฉพาะพืชกาแฟและกะหล่ำปลี แต่ปัญหาของเกษตรกรรมที่นี่ ลึกๆ แล้วก็จะดูคล้ายๆฝั่งบ้านเราอยู่เหมือนกันคืออิทธิพลของการใช้สารเคมีที่เป็นพิษยังคงมีอยู่มาก และกะหล่ำปลีนั้นจะถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศ และประเทศที่ซื้อมากที่สุดคือประเทศไทยของเรานั่นเอง

การพัฒนาของประเทศลาว ที่ตื่นตัวและรองรับการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC : Asean Economics Community)จึงมีนโยบายผลักดันให้ระบบการเกษตรของประเทศลาวทั้งหมดนั้น หันไปในแนวทางเกษตรอินทรีย์เกษตรปลอดสารพิษ เป็นส่วนใหญ่ ปัญหาจึงอยู่ที่ตัวเกษตรกรที่ยังคงเคยชินกับการทำเกษตรแบบที่สะดวกสบายคือใช้สารเคมีที่เป็นพิษและมีวางขายอยู่มากมายในเมือง ปากซ่อง (ดูๆ แล้วก็คล้ายๆกับเกษตรกรในบ้านเราอยู่เหมือนกันนะครับ) แต่ข้อแตกต่างหลังจากที่รัฐบาลของ สปป. ลาวได้สั่งการลงมานั้นทำให้ประชาชนของเขาตื่นตัวและปฏิบัติตามอย่างฉับพลัน เพราะประเทศของเขานั่นค่อนข้างที่จะเคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎหมายกันอย่างเคร่งครัด จึงทำให้เราได้ข่าวเกี่ยวกับลาวที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้ประเทศของตนเองนั่นมุ่งสู่ประเทศเกษตรกรรมในรูปแบบปลอดสารพิษและมุ่งสู่อินทรีย์กันมาอยู่ตลอดเวลา นอกจากข่าวล่าสุดที่เราได้ยินมาไม่นานนี้คือ ประเทศลาวคือ “แบตเตอร์รี่แห่งเอเชีย”

การได้ไปสัมมนาพูดคุยกันในครั้งนี้ ทางฝั่งลาวต้องการคัดเลือกบริษัทต่างๆ ที่มีศักยภาพด้านการดูแลจัดการปัจจัยการเกษตรในรูปแบบที่ปลอดภัยไร้สารพิษ และสามารถช่วยเหลือเกษตรกรของลาวให้มีศักยภาพที่จะสามารถทำเกษตรกรรมในรูปแบบปลอดสารพิษผลิตพืชผลทางการเกษตรที่ปลอดภัยออกมาป้อนผู้บริโภคทั่วโลก โดยที่มีรูปแบบในลักษณะที่พึ่งพิงอิงอาศัยซึ่งกันและกันไม่ได้มุ่งหวังแต่จะเข้าไปกอบโกยแต่ผลประโยชน์กลับมาแต่เพียงอย่างเดียว หน่วยงานหรือบริษัทใดๆที่ต้องการเข้าไปสัมผัสหรือต้องการขยายตลาดในแขวงจำปาสัก ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่ปากเซ ก็สามารถที่จะลองเข้าไปดูก็ได้นะครับโดยเฉพาะพืชกาแฟ พืชผักเมืองหนาว และที่ยังไม่เห็นเลยก็คือไม้ดอกเมืองหนาวก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเช่นกันครับ พวกกุหลาบ ทิวลิป ดาวเรือง คาเนชั่น ฯลฯ หรือในแขวงอื่นๆของลาวพืชเศรษฐกิจในบ้านเราเช่น ยางพารา ปาล์ม ข้าว ก็มีอยู่ไม่น้อยนะครับ หน่วยงานตรงนี้จะเป็นประตูมุ่งไปสู่อีก 17 แขวงของลาวทั้งประเทศ โดยทุกสหกรณ์จะมีงบประมาณสนับสนุนโดยตรงหลายพันล้านบาทอยู่ครับ

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13471&Param2=13

ใช้หินแร่ภูเขาไฟ พืชได้รับซิลิก้า (Sio2- H4Sio4)

3 ก.ค.

สารปรับปรุงบำรุงดินโดยทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะนำกลุ่มของวัสดุปูนจำพวกโดโลไมท์ (แคลเซียม แมกนีเซียม คาร์บอเนต [ca Mg co3])หรือกลุ่มปูนฟอสเฟต (Ca3(PO4)2) หรือไม่ก็ใช้ปูนมาร์ลปูนเปลือกหอยที่ให้แร่ธาตุแคลเซียมในกลุ่มคาร์บอเนตเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้สภาพดินที่ได้รับแร่ธาตุสารอาหารเหล่านี้ลงไปมากๆ ก็จะสะสมด่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เกษตรกรอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพียงหวังจะได้รับธาตุฟอสฟอรัสหรือธาตุรองในราคาประหยัดแต่กลับได้ความเป็นด่างของปูนสะสมในดินเพิ่มขึ้นไปเรื่อย เมื่อถึงระดับหนึ่งผลของความเป็นด่างจะทำให้ดินเสื่อมโทรมไม่กักเก็บปุ๋ยละลายแร่ธาตุทองแดง แมงกานีสหรือธาตุอื่นออกมามากล้นจนเป็นพิษต่อพืช ทำให้พืชใบไหม้ เปราะแตกหักง่าย หรือแม้แต่การปลดปล่อยไนโตรเจนออกไปมากเกินไป ไม่สามารถกักเก็บได้เพราะความเป็นด่างของปูนจะขับไล่กลุ่มแอมโมเนีย (NH3-) ที่เป็นโครงสร้างหลักของไนโตรเจน แอมโมเนียสูญเสียมาก ปุ๋ยไนโตรเจนก็เสียหายไปมากเช่นกัน

การใช้กลุ่มวัสดุปูนในการปรับปรุงสภาพดินเกษตรกรควรจะต้องตรวจวัดสภาพความเป็นกรดและด่างของดินให้ดีเสียก่อน มิฉะนั้นจะเป็นการเติมปูน เติมด่างลงไปในดิน ซึ่งในระยะยาวจะเกิดผลเสียตามมามากว่าผลดี ค่าพีเอชที่เหมาะสมต่อการใช้กลุ่มวัสดุปุน (ปูนมาร์ล [caco3], ปูนเผา [cao], ปูนขาว [caoH2], โดโลไมท์ [Ca Mg Co3] ฟอสเฟต [Ca3[PO4]2, ยิปซั่ม [CaSo4-2H2O) ควรจะอยู่ในระดับที่ต่ำว่า 5.8 หรือ 6.0 ค่าความเป็นกรดและด่างของดินในระดับนี้เมื่อใส่ปูนลงไปจะไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่ปลดปล่อยแร่ธาตุออกมามากจนเป็นพิษ ไม่จับตรึงปุ๋ย ไม่ไล่ไนโตรเจน ฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการหมั่นตรวจเช็คสภาพความเป็นกรดและด่างของดินอย่างสม่ำเสมอ

การใช้หินแร่ภูเขาไฟ (Vocanic Rock) ที่เป็นหินหนืด (magma) จากใต้พื้นพิภพที่มีแรงกดแรงอัดมหาศาลเกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเทไปยังชั้นเปลือกโลกที่บางเบาจนทะลักออกมาเป็น ลาวา (Lava) หลั่งไหลออกมาจากปล่องภูเขาไฟ หินลาวาที่หลอมละลายจากความร้อนหลายล้านองศาเมื่อสัมผัสกับบรรยากาศของเปลือกโลกที่บางเบากว่าเพียงหนึ่งชั้นบรรยากาศก็เกิดการพองตัวคล้ายๆกับการนำเมล็ดข้าวโพดมาคั่วจะระแตกระเบิดเป็น ป๊อปคอร์น (popcorn) ทำให้มีโครงสร้างพื้นที่ผิวที่โปร่งพรุนมหาศาลอีกทั้งยังสามารถละลายปลดปล่อยแร่ธาตุสารอาหารในรูปแบบต่างๆออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ทึ้ง เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิดินั่ม นิกเกิล ไททาเนียม และซิลิก้า โดยเฉพาะซิลิก้านั้นมีมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ที่ละลายน้ำได้แตกต่างจากดิน หิน ทราย แกลบ ที่มีซิลิก้าอยู่จริงแต่ละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้น้อย และที่สำคัญการใช้หินแร่ภูเขาไฟนั้นไม่สะสมความเป็นด่างจนเกินโทษต่อดิน …

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13333&Param2=18

อย่าปล่อยให้เวลาเสียไป พัฒนาเกษตรกรไทย เข้าสู่โลกไร้พรมแดน

2 ก.ค.

อดีตถึงปัจจุบันต้องยอมรับว่าเกษตรกรไทยต้องประสบปัญหามากมาย ตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะเกษตรกรมือใหม่หลายท่านก็ต้องเคยประสบปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่ 80 กว่าเปอร์เซ็นต์แก้ปัญหาโดยการค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต แทนการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง สอบถามแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านทางสื่อเกษตรออนไลน์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือประสบการณ์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต แม้ว่าเราไม่รู้จักหน้าตาเขาแต่ก็ได้ประโยชน์เหมือนนั่งพูดคุยกันซึ่งๆหน้า ตัวอย่างเช่น การใส่ปุ๋ยหรือใช้ยาป้องกันกำจัดโรคศัตรูในข้าว ไม้ผล ฯลฯ ไม่ใช่ว่า…จะใช้ยาอะไรก็ได้ ใช้แล้ว…จะได้ผลไปทั้งหมด หากไม่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน…ก็ไม่รู้ไม่ทราบ….ต้องลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆกว่าจะลงตัวก็นาน ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น บางครั้งอาจทำให้ศัตรูพืชขยายวงกว้างระบาดเพิ่ม….จนควบคุมไม่ทันก็มีมาแล้ว

อินเตอร์เน็ตสามารถขยาย-เพิ่มโอกาสทางการตลาดกว้างไกลรวดเร็วพริบตาเดียว โอกาสการขายผลผลิต กิ่งพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ มีมากขึ้น แม้จะสร้างการรับรู้ระดับพื้นฐานในหมู่บ้าน ขยายออกสู่อำเภอ จังหวัด ประเทศ หรือมองจากตลาดแคบๆ ออกสู่ตลาดที่กว้างขึ้น แต่อย่างไรการใช้อินเตอร์เน็ตก็ย่อมมีโอกาสทางการตลาดเยอะกว่าอยู่ดี สามารถรับรู้ได้ว่าปลูกอะไร ตลาดต้องการแบบไหน แล้วปลูกอย่างไร ลงทุนมากไหม ปลูกแล้วจะขาดทุนไหม ฯลฯ คำถามเหล่านี้ได้ยินค่อนข้างบ่อย แต่ถ้าไม่กล้า ไม่สู้ ก็ไม่มีโอกาสได้ลองทำซักที แล้วเมื่อไรความสำเร็จจะมาหา ที่กล่าวเช่นนี้เพราะทุกวันนี้เป็นยุคออนไลน์ ไร้พรมแดน อยากรู้อะไรเข้าอินเตอร์เน็ตถามกูรู(Google) กูรูช่วยได้ทุกเรื่อง จะแลกเปลี่ยนข้อมูล ขายของบนตลาดออนไลน์ ขยายกิจการ ซึ่งมองเห็นภาพอนาคตที่ชัดเจนกว่า

อินเตอร์เน็ตยังขยายโอกาสให้เกษตรกรได้เลือกอาชีพที่ตรงใจ ใช่เลยนี่แหละตัวเรา ช่วยไขปัญหาชี้ทางถูก-ผิด สร้างพักพวกเพื่อนฝูงร่วมสายอาชีพแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ คนรุ่นเก่าทำเกษตรแบบดั้งเดิม แต่คนรุ่นใหม่ไวไฟใจร้อนขาดประสบการณ์ เมื่อคน 2 กลุ่มมาเจอกัน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน ย่อมก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดการเผยแพร่ ทั้งปัญหาโรคแมลงศัตรูพืช วิธีการป้องกันรักษา ตลอดจนรวมตัวสร้างตลาดต่อรองกับทุนนิยม(พ่อค้าคนกลาง) ตั้งราคาสินค้าโดยไม่ต้องง้อให้ใครมากำหนด ผู้เขียนเชื่อว่าลูกหลานเกษตรกรใช้อินเตอร์เน็ตเป็น หากมีโอกาสได้อ่านบทความนี้ช่วยนำสื่ออินเตอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้ผสมผสานทำเกษตรให้คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย พ่อแม่ ฯลฯ หรือใครก็ได้ที่เรารัก ผู้เขียนและชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เรายินดีเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อมูล ไขปัญหาเกี่ยวกับเกษตรแบบปลอดสารพิษ เพียงแค่ท่านไว้ใจเรา โทรติดต่อเราที่ 02-9861680-2 พร้อมให้บริการทุกวัน (08.30 น.- 17.30 น.)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13325&Param2=13
วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

เพียงลดการใช้สารพิษ ก็จะเรียกชีวิตกลับคืนสู่ดิน

1 ก.ค.

สภาพดินที่ถูกใช้ในการผลิตกรรมการเกษตรมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีและยิ่งปัจจัยการผลิตประกอบไปด้วยสารเคมีที่หลากหลายแถมยังมีสารพิษที่สามารถตกค้างสะสมอยู่ได้ตลอดเวลา ก็จะทำให้ดินนั้นค่อยๆ ตายลงไปทีละน้อยๆ คำว่า “ดินตาย” นั้นหมายถึงดินหยุดกิจกรรมทางระบบนิเวศน์ระหว่างกันของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในดินนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นไส้เดือน หนอน แมง แมลงและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ทำให้ดินตายด้านเหมือนดินที่ถูกนำไปอบเผาในอุณหภูมิสูงๆ จนสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยอยู่ในทุกซอกทุกมุมทุกอณูตายหมดไม่มีเหลือ ถ้ายังนึกภาพไม่ออกก็ให้นึกถึงอิฐมอญที่ทำขายกันแถบอยุธยาหรืออำเภอป่าโมกจังหวัดอ่างทองนั่นเชียว

ดังนั้นดินที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืชคือดินที่สามารถเป็นที่พักอาศัยของสิ่งมีชีวิตได้หลากหลายชนิด โดยจะต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ต้องอยู่อย่างสะดวกสบายด้วย ไม่ใช่อยู่อย่างทรมานทรกรรมกับสิ่งที่มนุษย์นำสิ่งแปลกปลอมที่ทั้งระคายเคืองทั้งมีกลิ่นเหม็น ทั้งสามารถทำลายชีวิตของเขาให้ตายลงไปด้วยนั้น ก็จะทำให้จำนวนสิ่งมีชีวิตลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ หรือไม่ก็จำเป็นต้องอพยพโยกย้ายหลีกหนีไปยังแหล่งอื่นที่มีสภาพความเป็นอยู่สะดวกสบายไร้สารพิษเจือปนมากกว่า

ฉะนั้นการที่จะนำมาซึ่งดินดี สภาพแวดล้อมดี ระบบนิเวศน์ดีเพื่อนำมาซึ่งสุขภาพของมนุษย์ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ให้ดีขึ้นมาด้วยนั้นก็เพียงแค่ เปลี่ยนความคิด ลดการใช้สารพิษทุกชนิด เพื่อให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงกับมาสู่โหมดที่ปลอดภัยไร้สารพิษ ก็สามารถที่จะช่วยทำให้ดินนั้นกลับมามีชีวิตชีวาได้อีกครั้ง หลังจากนั้นตัวห้ำ ตัวเบียน แมลงที่มีประโยชน์ ไส้เดือน จุลินทรีย์ แอคติโนมัยซี มัยคอร์รัยซ่า ไตรโคเดอร์ม่า ฯลฯ ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาดิน แบบพึ่งพิงอิงอาศัยกันก็จะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13317&Param2=17