Archive | มกราคม, 2015

บทความเกษตร”กลิ่นขี้หมูที่เลี้ยงรบกวนเพื่อนบ้าน แก้ได้ด้วย ซีโอฟาร์ม

30 ม.ค.

ซีโอฟาร์ม เป็นผลิตภัณฑ์จากหินแร่ภูเขาไฟ ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ที่ใช้แก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นในคอกปศุสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นฟาร์มไก่ ฟาร์มหมู ฟาร์มเป็ด ฟาร์มนกกระทา ฟาร์มวัว หลังจากที่ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้โปรโมจตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อวิทยุทางสยามชัยเรดิโอ(ออกอากาศทั่วทั้งภาคอีสาน) วิทยุชุมชนในเขตภาคกลาง หรือจะเป็นสื่อออนไลท์ในเว็บไซต์ http://www.thaigreenagro.com หรือจะเป็นการเขียนบทความเกี่ยวกับผลการใช้ซีโอฟาร์มของฟาร์มเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ต่างๆ ทั่วประเทศ ลงในเว็บไซต์ ทำให้เกษตรกรที่ทำฟาร์มปศุสัตว์ได้รับรู้ว่ามีตัวช่วยที่คอยแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นในฟาร์ม ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลการใช้ ซีโอฟาร์ม ของลูกค้าที่นำไปใช้ในฟาร์มของตัวเอง ส่วนมากได้ผลค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ สามารถแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นในฟาร์มของตัวเองได้ เช่นเดียวกับเกษตรกรที่ผู้เขียนจะนำเรื่องราวมาบอกกล่าวในบทความตอนนี้ ที่มีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นในฟาร์มที่รบกวนเพื่อนบ้าน เกษตรกรท่านนี้คือ คุณสุรชัย อินพหล อยู่บ้านเลขที่ 33/1 ม.5 ต.ถ้ำกระต่ายทอง อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร มีอาชีพทำฟาร์มหมู โดยเลี้ยงอยู่ครั้งละ 100 ตัว ปัญหาที่เจอหนี้ไม่พ้นเรื่องกลิ่นเหม็นของขี้หมูที่ส่งกลิ่นรบกวนเพื่อนบ้านเพราะเลี้ยงใกล้แหล่งชุมชน การแก้ปัญหาของคุณสุรชัย อินพหล ก่อนมาใช้ซีโอฟาร์ม จะขุดบ่อทำเป็นบ่อพักของเสียแล้วใช้จุลินทรีย์ EM รดหรือราดไปบนบ่อพัก แต่ก็ช่วยลดปัญหาเรื่องกลิ่นได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น พอบ่อพักเริ่มมีขี้หมูในจำนวนที่มากขึ้นกลิ่นเหม็นก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

คุณสุรชัย อินพหล จึงลองหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆที่จะมาช่วยแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นในฟาร์มหมูของตัวเอง ในอินเตอร์เน็ตจนมาเจอ ผลิตภัณฑ์หินแร่ภูเขาไฟดับกลิ่นแอมโมเนียปศุสัตว์”ซีโอฟาร์ม” ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษในเว็บไซต์ http://www.thaigreenagro.com แล้วเกิดความสนใจ เลยได้โทรเข้ามาสอบถามข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ของชมรม(ผู้เขียนเอง) แล้วสนใจจะนำไปทดลองใช้ ทางผู้เขียนเลยแนะนำให้ไปซื้อสินค้าที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษสาขากำแพงเพชร คุณสุรชัย อินพหล เลยขับรถไปซื้อมาลอง 5 กระสอบ โดยวิธีใช้จะใช้ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โดยนำซีโอฟาร์มไปโรยในบ่อพักของเสียที่มีกลิ่นเหม็นโดยหว่านบางๆให้ทั่วบ่อ หลังจากหว่านไม่ถึง 30 นาทีกลิ่นที่เหม็นค่อยๆเบาลงและไม่มีกลิ่นเลย และยังนำซีโอฟาร์มไปผสมอาหาร สัดส่วน ซีโอฟาร์ม 5 กิโลกรัมผสมอาหารหมู 100 กิโลกรัม ให้หมูกินตอนเย็น พอตอนเช้าปรากฏว่าแทบไม่มีกลิ่นเหม็นของขี้หมูเลย จากแต่ก่อนที่เช้ามากลิ่นเหม็นจะรุนแรงมากจนต้องรีบล้างคอกหมูแต่เช้า แต่เดี๋ยวนี้การล้างคอกหมูของ คุณสุรชัย อินพหล ไม่ต้องล้างทุกวันเหมือนแต่ก่อนแล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นายจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่ Call Center ของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ที่เบอร์ 084-5554205-9

เขียนและรายงานโดย
นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)

“บทความเกษตร”บาซิลลัส ธูริงเยนซิส กำจัดหนอนปลอดสารพิษชัวร์ ไม่เป็นพิษต่อคน

29 ม.ค.

Bacillus Thuringiensis คือ เชื้อบีที หรือ Bt ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี1901 ในรูปสปอร์เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งพบได้ในดินตามธรรมชาติ และตัวหนอนกินใบพืชบางชนิดที่ตายหลังจากกินใบพืชหรือส่วนของพืชที่ปนเปื้อนไปด้วยเชื้อชนิดนี้ ยกตัวอย่างเช่น ตัวอ่อนของผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืน ปกติเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มีหลายสายพันธุ์มากครับ มีเพียงสองหรือสามสายพันธุ์เท่านั้นที่ถูกนำมาวิจัยต่อยอดและผลิตเป็นสารชีวภัณฑ์กำจัดหนอน แมลง ฯลฯ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ก็จะประกอบไปด้วย ผลึกโปรตีน สปอร์ของเชื้อที่มีชีวิต ประเทศไทยบีทีได้รับการส่งเสริมจากหน่อยงานภาครัฐอยู่เนืองๆกะปริกะปรอย อาจเป็นเพราะออกฤทธิ์ช้าสู้ยาเคมีไม่ได้กะมังครับ
ก่อนอื่นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจว่าเชื้อบีทีไม่ได้ออกฤทธิ์เหมือนสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ใช้กันอยู่ทั่วๆไปในท้องตลาด แต่เชื้อบีทีสามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ไม่ได้ออกฤทธิ์แบบถูกตัวตาย หรือ“น๊อคดาว” หรือฆ่าตายทันทีทันใดที่ฉีดพ่น แต่แมลงจะต้องกินส่วนของพืชที่เคลือบไปด้วยเชื้อบีทีในปริมาณที่มากพอที่จะฆ่าได้ เมื่อหนอนหรือแมลงได้รับเชื้อบีทีในจำนวนที่มากพอ สารพิษในผลึกโปรตีนจะไปทำให้ปาก ช่องท้องของหนอนและแมลงค่อยๆเป็นอัมพาต เคลื่อนไหวช้าลงจนกระทั้งหยุดกินอาหารหลังจากที่ได้รับเชื้อเข้าไปไม่กี่นาที หรืออาจเป็นชั่วโมงขึ้นอยู่กับขนาดตัวของหนอน แมลงหรือปริมาณเชื้อที่รับเข้าไป ซึ่งสารพิษดังกล่าวจะเข้าทำลายผนังช่องท้องของหนอนและแมลงภายใน 1/2 -1 ชั่วโมง ส่งผลให้สปอร์และชิ้นส่วนของเชื้อหลุดลอดเข้าสู่อวัยวะส่วนอื่น เป็นเหตุทำให้แมลงตายเนื่องจากขาดอาหารและติดเชื้อในเลือด และ osmotic shock ภายใน 24-48 ชั่วโมง หนอนที่ตายเนื่องจากเชื้อบีทีเข้าทำลายนั้น เริ่มจากตัวของหนอนจะค่อยๆซีดและเปลี่ยนเป็นสีดำ จากนั้นก็จะเหี่ยวย่น ร่วงหล่นหรืออาจจะแห้งติดกับกิ่งก้านของต้นพืชนั้นๆ
ผู้เขียนว่าเชื้อบีทีนี่แหละเหมาะที่สุดแล้ว ที่จะใช้ในแปลงพืชผักปลอดสารพิษ เพื่อทดแทนสารเคมีอันตรายพวก โคโนโครโตฟอส เมวินฟอส เอ็นโดซัลแฟน ฯลฯ ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติอย่าง ตัวห้ำ ตัวเบียน อีกทั้งไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์เลี้ยง ที่สำคัญไม่มีพิษตกค้างในพืช และสิ่งแวดล้อมปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคครับ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680-2 หรือผู้เขียน 081-3983128
เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
วันที่ 29 มกราคม 2558 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

บทความเกษตร”นางฟ้าดอกไม่บาน ภูฐานดอกหงิก ทำยังไงดี

28 ม.ค.

เริ่มจากดอกเห็ดออกเป็นกระจุกซ้อนกันหลายๆดอก ตั้งแต่ 5-10 ดอกขึ้นไป ซึ่งแต่ละดอกจะมีขนาดเล็กประมาณ 1-2 ซม. บางดอกก็มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยแต่ไม่เกิน 4 ซม. ที่สำคัญหมวกดอกไม่บานหรือไม่คลี่ออก ก้านดอกเกิดเดี่ยวๆติดเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีลักษณะของหมวกดอกปกติให้เห็น ขอบหมวกหงิกงอหยักม้วนบิดไปมา ส่วนก้านดอกก็ค่อนข้างยาวบิดเบี้ยวไม่มีหมวกเห็ด หรือมีก็ใหญ่ผิดปกติ เป็นกรวยคล้ายปากแตร ดอกเล็ก ไม่คลี่บาน ส่วนสีนั้นยังคงมีสีขาว สีครีม และสีดำ ตามชนิดของเห็ดประเภทนั้นๆ ลักษณะเช่นนี้เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ความแปรปรวนของอุณหภูมิ ความชื้นภายในโรงเรือน สูงๆต่ำๆไม่นิ่ง ซึ่งอาจเกิดรวมถึงเชื้อเห็ดอ่อนแอ และคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากเกินไป ไม่ได้เกิดจากโรคสาเหตุอย่างใดหรอก…สบายใจได้เลยครับ

จริงๆแล้วความผิดปกติของดอกเห็ดที่พบเจอเกิดจาก 1.อากาศ ภายโรงเรือนที่เพาะเห็ดจะต้องมีช่องระบายอากาศอย่างเพียงพอควรเปิดประตู ช่องลมในตอนเช้ามืดเพื่อระบายอากาศ 1-2 ชั่วโมง ป้องกันการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.แสงสว่าง ตรวจความเข้มของแสงในโรงเพาะให้เพียงพอต่อการพัฒนาเจริญเติบโตของดอกเห็ด(นางฟ้า) 3.ความชื้น ตรวจเช็คเครื่องความชื้นภายในโรงเรือน ว่ามีความชื้นในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ ปกติความชื้นสัมพันธ์ที่เหมาะสมช่วงเปิดดอกจะอยู่ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ สูงต่ำได้ไม่เกิน 5-6 เปอร์เซ็นต์ ที่กล่าวอย่างนี้เพราะผู้เขียนรู้ดีว่าช่วงฤดูหนาวอากาศจะแห้ง ความชื้นสัมพัทธ์จะต่ำ อันนี้ก็ต้องใช้ผ้าพลาสติกบุผนังโรงเรือนด้านในปิดประตู ช่องลม ภายในโรงเรือนให้มิดชิด เพื่อป้องกันความชื้นระเหยออก การให้น้ำก็อาจจะต้องให้วันละ 3 เวลา (เช้า เที่ยง เย็น) แต่ทั้งนี้ก็ต้องเช็คเกย์วัดความชื้นด้วยเป็นหลัก

4.สูตรอาหาร ก็อีกส่วนหนึ่งครับที่ผู้เขียนหนักใจเป็นพิเศษ เนื่องจากแก้ไขยากลำบากมาก เพราะสูตรอาหารของแต่ละฟาร์มก็ไม่เหมือนกัน หรือเหมือนแต่ในอัตราที่ไม่เท่ากัน บางฟาร์มอยากได้กำไรเยอะๆก็ใส่อาหารน้อยๆ ใส่ปูนเยอะๆ แต่ทุกอย่างมันก็บ่งชี้ให้เห็นถึงอายุก้อนที่เปิดดอกว่าอยู่ได้กี่เดือน มันคุ้มกับการลงทุนหรือป่าว อันนี้ถามถึงคนซื้อก้อนไปเปิดดอกครับ ซึ่งจุดนี้ผู้เขียนคิดว่าคนทำก้อนทุกคน ทุกฟาร์มควรมองถึงใจเขาใจเราเยอะๆนะครับ ไม่ใช่ว่าเน้นการตลาด เน้นโจมตีฟาร์มไม่ดีขายแพง ของฉันขายถูกกว่า แต่ที่ไหนได้อาศัยลดส่วนผสมลง เพราะต้องการลดราคา คนซื้อเขาก็ไม่รู้ซื้อไปเปิดดอกได้ 2 เดือน ดอกหมดแล้ว จริงๆแล้วก้อนเห็ด 1 ก้อน หรือ 1 ชุด ควรเปิดดอก เก็บผลผลิตได้อย่างน้อย 5-6 เดือน เมื่อคนเปิดดอกอยู่ได้คนทำก้อนขายก็อยู่ได้ Happy มีความสุขทั้ง 2 ฝ่าย แบบนี้ดีมั้ยฝากให้คิดนะครับ ส่วนเกษตรกรท่านใด สงสัยต้องการสอบถามหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ฝ่ายวิชาการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680-2 หรือผู้เขียน 081-3983128

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
วันที่ 28 มกราคม 2558 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

บทความเกษตร”เทคนิคป้องกันโรคมะนาวทางอ้อมฉบับพึ่งตนเอง

27 ม.ค.

ต้นมะนาวอายุย่างเข้าปีที่ 4 ปีที่ 5 ส่วนใหญ่มักพบปัญหาแคงเกอร์ ยางไหล กรีนนิ่ง ฯลฯ อยู่บ่อยๆ ซึ่งจะเกิดกับมะนาววงบ่อซิเมนต์มากกว่าปลูกลงดิน ด้วยเหตุผลง่ายๆ… เนื่องจากมะนาวที่ปลูกลงดินจะแข็งแรงกว่ามะนาวในวงบ่อซิเมนต์นั้นเอง บางสวนระบาดหนักถึงขั้นต้องทำลายต้นทิ้งเพราะควบคุมไม่อยู่ แต่ในความเป็นจริงปัญหาทุกอย่าง มันย่อมมีทางออกของมันเสมอ รวบรวมปัญญาตั้งสติให้ได้อย่าพึ่งท้อครับ วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำแนวทางป้องกันโรคมะนาวแบบพึ่งพาตนเอง โดยอาศัยเคล็ดลับการจัดการ 2 แบบผสมผสานเข้าด้วยกัน และนั้นก็คือ

ถ้าเปรียบเทียบต้นมะนาวเป็นร่างกายคนเราแล้วพบว่า คนที่สุขภาพดีจะรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ไม่รับประทานอาหารที่เป็นพิษ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเมื่อร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี ดังนั้นโรคภัยต่างๆก็ไม่รุมเร้า หันกลับมามองต้นมะนาวต่อ ถ้าเช่นนั้นเราก็ต้องบำรุงต้นให้สมบูรณ์โดยเน้นที่ดินเป็นหลักซึ่งจะสอดคล้องกับที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้น เทคนิคบำรุงต้นสำหรับมะนาวผู้เขียนจะเน้นให้ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกร่วมพูมิชซัลเฟอร์เป็นหลัก ให้หว่านเป็นรูปขนมโดนัท โดยไม่ให้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกชิดโคนต้นจนเกินไป ให้ห่างออกมาประมาณ 1-2 คืบ หรือรัศมีประมาณ 1 ฟุต ให้น้ำแบบวันเว้นวันเพื่อรักษาความชื้น ไม่นานมะนาวของท่านก็จะกลับสดชื่นและสมบูรณ์แข็งแรง

การตัดแต่งกิ่งมะนาวถือเป็นเรื่องที่สำคัญ สามารถช่วยป้องกันโรคในทางอ้อมที่ดีเยี่ยม ตัดแต่งกิ่งที่เล็กที่ไม่มีประโยชน์ออกไป ทำให้ต้นมะนาวโปร่งแดดส่องผ่านถึงโคนต้น ถึงพื้นดิน ถึงกิ่งก้านต่างๆ ก็จะช่วยลดการสะสมของเชื้อโรคต่างๆ อันจะก่อให้เกิดให้โรครุมเร้าต้นมะนาวของเราได้ โดยเฉพาะหน้าฝนและหน้าหนาว เมื่อมะนาวโดนความชื้นหรือเปียกโชก ถ้าเราตัดแต่งกิ่งต้นก็จะโปร่ง เมื่อมีลมพัดผ่านหรือแสงแดดอ่อนๆส่องลงไป แค่นี้ก็สามารถช่วยลดปริมาณความชื้น ลดปริมาณเชื้อโรคได้ดีทีเดียวละครับ ซึ่งเทคนิคทั้ง 2 วิธีที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ชาวสวนสามารถนำปฏิบัติได้จริง ที่สำคัญไม่ต้องฉีดพ่นยาบ่อยๆ อีกทั้งช่วยประหยัดต้นทุนการผลิต เหมาะกับยุคสมัยและสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างมากเลยละครับ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680-2 หรือผู้เขียน 081-3983128

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
วันที่ 27 มกราคม 2558 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

บทความเกษตร”อากาศแปรปรวน ทำให้เห็ดระงักการออกดอก

26 ม.ค.

ในช่วง 1-2สัปดาห์มานี้ เป็นช่วงที่มีสภาพอากาศแปรปรวนเป็นอย่างมาก เป็นวันที่มีทั้ง 3 ฤดูในวันเดียว ในช่วงเช้าอากาศเย็นๆค่อนไปทางหนาว ในช่วงสายๆถึงเย็นมีแดดร้อน อากาศร้อนอบอ้าว อากาศที่แปรปรวนเช่นนี้ทำเอาทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษของเรามีอาการไม่สบาย ไข้ขึ้น มีน้ำมูกไหล ไอจาม กันไปหลายราย ทางท่านสมาชิกล่ะครับได้รับผลกระทบไม่สบายเป็นไข้ กันบ้างรึป่าว ยังไงก็ดูแลสุขภาพกันบ้างนะครับ สำหรับคนเราเรื่องของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆอาจไม่ค่อยส่งผลกระทบมากนัก แต่ที่มีผลกระทบโดยตรงที่เห็นได้ชัดเจนในช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวนคือเกษตรกรที่เพาะเห็ดสังเกตได้จากโทรศัพท์ของท่านสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษและเกษตรกรที่เพาะเห็ดจะโทรเข้ามาปรึกษาเรื่องเห็ดไม่ค่อยออกดอก เห็ดออกดอกน้อย เห็ดพักก้อนนานผิดปรกติ โดยเฉพาะผู้ที่ทำเห็ดนางฟ้าภูฐานในช่วงนี้ที่อากาศแปรปรวน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เกษตรกรผู้ที่ทำอาชีพเพาะเห็ดจะประสบปัญหาเหมือนๆกันแทบทุกรายก็คือปัญหาเรื่องเห็ดไม่ค่อยออกดอกหรือไม่ยอมออกดอกเลยก็มี ผลผลิตดอกเห็ดต่อวันเคยได้อยู่วันละเป็น 100 กิโลกรัม ก็เหลือแค่วันละไม่ถึง 10 กิโลกรัม ทั้งที่การจัดการดูแลในโรงเรือนเห็ด การรดน้ำ การเก็บดอก หรือแม้กระทั้งการทำก้อนเห็ดก็ทำสูตรเดิม แต่เห็ดช่วงนี้กลับไม่ยอมออกดอกเลย ซึ่งปัญหาเหล่านี้สาเหตุเกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวนอยู่ในเวลานี้ ทำให้การสร้างเส้นใยของเห็ดชะงักการเจริญเติบโต หรือที่เรียกว่าเส้นใยเห็ดไม่ยอมเดิน แต่มีสมาชิกที่ทำเห็ดอยู่ในพื้นที่ที่อากาศไม่แปรปรวนกลับไม่เจอปัญหานี้เห็ดก็ออกดอกปกติ ทำให้ผู้เขียนสันนิษฐานได้เลยว่าปัญหาเรื่องเห็ดไม่ค่อยออกดอกในเวลานี้สาเหตุเกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวนอยู่ในช่วงเวลานี้

สำหรับเทคนิควิธีการแก้ปัญหาเรื่องสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้เห็ดไม่ค่อยออกดอกในช่วงนี้ ท่านที่เพาะเห็ดต้องรักษาอุณหภูมิในโรงเรือนเห็ดให้ได้ 25-30 องศาคลุมโรงเรือนเห็ดให้มิดชิดอย่าให้ลมพัดเข้ามาในโรงเรือนเห็ดได้เพราะลมในช่วงฤดูหนาวจะเป็นลมแห้งๆ ทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเห็ดลดลงได้ และใช้ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ดร่วมกับอาหารเสริมเห็ดดีพร้อมฉีดพ่นทุก 3-7 วันเพื่อช่วยให้เห็ดสร้างเส้นใยได้ดีและเร็วกระตุ้นให้เห็ดออกดอกได้ ถ้ายังไงท่านสมาชิกที่เพาะเห็ดอยู่แล้วมีปัญหาตามที่ผู้เขียนกล่าวมา ก็ลองนำวิธีแก้ปัญหานี้ไปลองทำกันดูนะครับ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846

บทความเกษตร”ผลการทดสอบหินแร่ภูเขาไฟกับนาข้าวพื้นที่ สิงห์บุรี

23 ม.ค.

บทความตอนนี้ขอนำเสนอข้อมูลผลการทดสอบการใช้หินแร่ภูเขาไฟ”พูมิชซัลเฟอร์”ในแปลงนาพื้นที่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ได้ลงไปสอบถามเกี่ยวกับการใช้หินแร่ภูเขาไฟเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน , การจับตรึงปุ๋ยให้ข้าวเขียวนานเขียวทนและการทำให้ต้นข้าวแข็งแรงแข็งแกร่ง ใบข้าวตั้งชูสู้แสง ของเกษตรกรท่านหนึ่งที่ได้มีโอกาสใช้ผลิตภัณฑ์หินแร่พูเขาไฟพูมิช-ซัลเฟอร์ในนาข้าว เกษตรกรท่านนั้นก็คือ คุณกฤษณา พงษ์เพชร หรือที่คนแถวนั้นเรียกกันว่า “ป้ากฤษ” มีอาชีพเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและเป็นอาสาสมัครของหมู่บ้าน ปัจจุบันป้ากฤษได้ทำการเกษตรโดยการทำนาในพื้นที่จำนวนทั้งหมด 30 ไร่ ที่ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี โดยคราวที่แล้วที่ทำการทดลองใช้พูมิช-ซัลเฟอร์ได้ปลูกข้าวพันธ์หอมปทุมทั้งหมด 30 ไร่แบ่งเป็น 3 แปลงแปลงละ 10 ไร่ ได้ใช้พูมิช-ซัลเฟอร์ผสมปุ๋ยอัตราพูมิช-ซัลเฟอร์ 100 กิโลกรัม/ปุ๋ยเคมี 250 กิโลกรัมหว่านในแปลงที่แบ่งไว้จำนวน 1 แปลงคือ 10 ไร่ตอนหว่านปุ๋ยรอบ 2 นั่นเองครับ

ผลการใช้เมื่อเทียบกับอีก 2 แปลงที่ปลูกเป็นปกติคือแปลงที่ใช้พูมิช-ซัลเฟอร์นั้นใบจะตั้งขึ้นกว่าเดิมและใบจะแข็งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบด้วยสายตา ข้าวจะเขียวได้นานกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้พูมิช-ซัลเฟอร์ จากการสอบถามเพิ่มเติมป้ากฤษได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าเรื่องสภาพของดินนั้นยังวัดไม่ได้ว่าดินร่วนซุยดีกว่าเดิมหรือป่าวจะต้องรอตอนเตรียมดินทำนาครั้งใหม่ถึงจะวัดกัน(แต่ต้องรอน้ำในการทำนาก่อนเพราะช่วงนี้แล้งจัด) ได้ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะมาบอกเล่าเก้าสิบให้สมาชิกชาวชมรมเกษตรปลอดสารพิษหรือเกษตรกรท่านอื่นๆได้ฟังกันอีกครั้งครับ ส่วนตอนเก็บเกี่ยวนั้นพบการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเข้ามาทำลายข้าวหอมประทุมด้วยแต่ทางป้ากฤษบอกว่าแปลงที่ใช้พูมิช-ซัลเฟอร์นั้นเพลี้ยจะไม่ค่อยทำลายคือข้าวไม่แสดงอาการต่อการทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเลยต่างจากแปลงที่ไม่ได้ใช้จะแสดงอาการจนข้าวไหม้บ้างบางส่วน ส่วนผลผลิตตอนเก็บเกี่ยวนั้นป้ากฤษได้บอกว่าแปลงที่ใช้พูมิช-ซัลเฟอร์นั้นจะได้เฉลี่ยอยู่ที่ 1 เกวียนนิดๆ/ไร่ แต่แปลงที่ไม่ได้ใช้พูมิช-ซัลเฟอร์นั้นเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 1 เกวียน/ไร่ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นมานิดหน่อยเท่านั้นเองถ้าใช้ตั้งแต่เริ่มแรกผลผลิตอาจจะเพิ่มขึ้นกว่านี้ก็เป็นได้

เกษตรกรที่ทำนาท่านอื่นๆที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรสอบถามกับทางผู้เขียนได้ โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่เบอร์ Call Center ของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่เบอร์ 084-5554205-9

เขียนและรายงานโดย
นายจตุโชค จันทรภูมี (นักวิชาการ)

“บทความเกษตร”ยับยั้งการเกิดโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตงแบบปลอดสารพิษ

22 ม.ค.

ครับพี่ๆน้องๆชาวสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกๆท่าน วันนี้ทางทีมงานนำข้อมูลเกี่ยวกับการยับยั้งโรคเชื้อราในพืชตระกูลแตงอย่างแตงกวา ของเกษตรกรจังหวัดสิงห์บุรี ชื่อคุณนิวัฒน์ คุ้มดี ที่ได้ทราบข้อมูลว่าตอนนี้ได้ปลูกแตงกวาอยู่ในพื้นที่จำนวน 3 ไร่ โดยบริหารจัดการดูแลเพียงคนเดียว จากการสอบถามยังพบว่าตอนนี้แตงกวานั้นสมบูรณ์แข็งแรงดี ผลผลิตก็สมบูรณ์ แต่มีปัญหาตรงที่สภาพอากาศนั้นมีหมอกและน้ำค้างเยอะในตอนเช้าทำให้เกิดปัญหาเรื่องของโรคราน้ำค้างเข้าเล่นงาน โดยโรคราน้ำค้าง หรือที่เกษตรกรเรียกว่า “โรคใบลาย” เป็นโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดโรคหนึ่งของแตงกวาและพืชวงศ์แตงในประเทศไทย สาเหตุของโรคเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis (Berk.& M. A. Curtis) Rostovzev ที่สามารถเข้าทำลายได้เฉพาะในพืชวงศ์แตง โดยอาการจะเกิดเป็นปื้นเหลืองบนใบ ด้านหลังของใบอาจมองเห็นกลุ่มของเส้นใยหรือบางครั้งมองไม่เห็นด้วยตา ปื้นสีเหลืองนั้นต่อไปจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลโดยเริ่มเปลี่ยนจากกลางแผลออกไป ถ้าสภาพอากาศเหมาะต่อการเจริญของเชื้อคือ อุณหภูมิ 16-22 องศาเซลเซียส และความชื้นสูงจะทำให้มีการระบาดของโรคอย่างรวดเร็วทำให้ ใบของแตงแห้งและทำให้ต้นตาย เกษตรกรที่เพาะปลูกนั้นสามารถมองสังเกตเห็นอาการผิดปกติที่บริเวณใบแก่ และโคนเถาจะแสดงอาการก่อนคือ มีแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอ่อนประปายทั่วไปทำให้ใบแห้งและเหี่ยว เมื่อโรคระบาดรุนแรงจะทำให้เถาแตงเหี่ยวตายหมดทั้งเถา ในช่วงมีอากาศชื้นเมื่อพลิกดูด้านท้องใบจะมีขุยของราสีขาวหม่นคล้ายผงแป้ง โรคนี้จะระบาดรุนแรงและรวดเร็วเมื่อแตงอยู่ในระยะกำลังให้ผล ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่จะเก็บเกี่ยว การแพร่กระจายของเชื้อนั้นจะปลิวไปตามลม แต่บางครั้งระบาดได้โดยติดไปกับแมลงบางชนิด เช่น ด้วงเต่าแตง ฯลฯ กรณีที่โรคระบาดรุนแรง อาจทำให้ผลผลิตแตงกวาลดลงมากกว่าร้อยละ 50

การป้องกันเบื้องต้นที่ใช้ป้องกันคือการดูแลเรื่องดินให้ร่วนซุยการใช้หินแร่ภูเขาไฟพูมิช-ซัลเฟอร์หว่านให้ทั่วแปลงหรือผสมกับปุ๋ยแล้วหว่านก็ได้ ขั้นตอนต่อมานั้นก็คือการใช้ฮอร์โมนของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เช่น ซิลิโคเทรซ ไวตาไลเซอร์และไคโตซานMT ฉีดพ่นบำรุงทุกๆ 7-14 วัน/ครั้ง(โดยปรกติพี่เขาจะฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน/ครั้ง) ขั้นตอนต่อมาคือการใช้จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า(ชนิดละเอียด)ผสมน้ำฉีดพ่นสลับกับบีเอสพลายแก้ว เพื่อเป็นการกำจัดสปอร์เชื้อราที่ปลิวมาตกและกำลังจะขยายเชื้อ โดยการทำวิธีนี้จะเป็นการป้องกันและกำจัดโรคราน้ำค้างและเชื้อราต่างๆได้อย่างดีเยี่ยม และตอนนี้พี่เขากำลังทดลองใช้แซนโธไนท์ซึ่งเป็นสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่สามารถล้างเชื้อราน้ำค้างได้อย่างดีเยี่ยมแทนการใช้จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่าและบีเอสพลายแก้ว ซึ่งการใช้พลายแก้วและไตรโคเดอร์ม่านั้นจะมีต้นทุนที่สูงกว่าการใช้แซนโธไนท์พอสมควร แต่วิธีข้างต้นที่กล่าวมาตอนแรกนั้นทางสวนแตงของคุณนิวัฒน์ คุ้มดี ได้ยืนยันว่าได้ผลดีมาก(แค่อยากจะลดต้นทุนลงมาอีกเท่านั้นถึงลองแบบใหม่) เกษตรกรท่านใดที่ปลูกแตงกวาอยู่ในตอนนี้อย่านิ่งเฉยควรลงดูแปลงเพื่อตรวจสอบการระบาดของโรคเพื่อจะได้ป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายจตุโชค จันทรภูมี(ผู้เขียน) โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่เบอร์ Call Center ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.084-5554205-9

เขียนและรายงานโดย

จตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)

บทความเกษตร””พูมิชซัลเฟอร์” ทำให้ข้าวต้นแข็ง กินปุ๋ยดี ลดการเข้าทำลายของโรคแมลง

21 ม.ค.

ทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้เคยนำเสนอบทความของสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่ใช้หินแร่พูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์ ในนาข้าวแล้วได้ผลดีในด้านต่างๆมาแล้วมากมาย ทั้งช่วยเพิ่มผลผลิตข้าว ช่วยให้ข้าวกินปุ๋ยดี ข้าวแตกกอดี ใบตั้งชูสู้แสง ลดการเข้าทำลายของโรคและแมลง และอีกหนึ่งคุณสมบัติของหินแร่ภูเขาไฟปรับปรุงบำรุงดินพูมิชซัลเฟอร์ก็คือเรื่องของการทำให้เซลล์พืชแข็งแรงแข็งแกร่ง หรือที่ชาวนาเรียกกันว่าข้าวต้นแข็ง ผู้เขียนเลยนำข้อมูลการใช้พูมิชซัลเฟอร์แล้วทำให้ต้นแข็งของท่านสมาชิกมายกตัวอย่างให้ท่านสมาชิกท่านอื่นๆได้รับทราบข้อมูลกัน

คุณแฉล่ม แจ่มจรรยา อยู่บ้านเลขที่ 45 หมู่ที่3 ต.ประชาสุขสรรค์ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร เป็นสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษมาหลายปี มีอาชีพทำนาตอนนี้ทำอยู่ 8 ไร่ เดิมที่คุณแฉล่มจะใช้ผลิตภัณฑ์ของทางชมรมกลุ่มธาตุอาหารพืช ซิลิโคเทรซกับไวตาไลเซอร์ เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาหารเสริมทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ออกรวงดีเพิ่มน้ำหนักเมล็ด แต่ยังไม่มีโอกาสได้ใช้พูมิชซัลเฟอร์ เนื่องจากในตอนนั้นยังไม่มั่นใจและหาซื้อลำบาก แต่พอหลังจากนักวิชาการของทางชมรมฯได้ติดต่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีสมาชิกท่านอื่นที่ได้ใช้แล้วได้ผลทำให้คุณแฉล่มตัดสินใจทดลองใช้พูมิชซัลเฟอร์ ในนาข้าว คุณแฉล่มใช้ พูมิชซัลเฟอร์ หว่านไร่ละ 2 กระสอบ (40 กิโลกรัม)หว่านตอนก่อนลูบเทือกเพื่อเป็นการหมักให้พูมิชซัลเฟอร์ ไปจับตรึงธาตุอาหารต่างๆที่อยู่ภายในดินไว้รอข้าว

หลังจากใช้พูมิชซัลเฟอร์ทางผู้เขียนได้โทรไปเก็บข้อมูลกับคุณแฉล่มได้ทราบข้อมูลว่า ตอนนี้ข้าวอายุได้ 45 วันแล้วข้าวแตกกอดีมาก แตกกอมาชนกันพอดีกำลังสวยเลยระหว่างกอ(ไม่แน่นหรือไม่บางเกินไป) เพราะคุณแฉล่มหว่านข้าวแค่ไร่ละ 2 ถังเป็นข้าวพันธ์ กข.31 กอข้าวก็ใหญ่ กอแข็งมาก ใบคมหรือใบหญ้าคา รากข้าวก็ยาว ไม่มีหนอน มีเพลี้ย ในแปลงนาเลย ทั้งที่ช่วงข้าวอายุ 45 วัน น่าจะมีหนอนใบขาว ก็ก็กลับไม่มีเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนกับแต่ก่อนที่ไม่ได้ใช้พูมิชซัลเฟอร์ ทำให้คุณแฉล่มถึงกับทึ่งถึงความแตกต่างระหว่างที่ใช้”พูมิชซัลเฟอร์” กับที่ไม่ได้ใช้ ตอนนี้คุณแฉล่มพอใจเป็นอย่างมากกับการทำนาเที่ยวนี้ถ้าทางคุณแฉล่มเกี่ยวข้าวแล้วได้ผลผลิตเป็นอย่างไรเพิ่มขึ้นมามากน้อยเพียงไรทางผู้เขียนสัญญาครับว่าจะมารายงานให้ทราบแน่นอนครับ
เกษตรกรที่ทำนาท่านอื่นๆที่สนใจแต่ยังเขินอายไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแนวคิดใหม่ ยังยึดวิธีทำนาแบบเดิมๆสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของหินแร่พูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์ได้ที่นายจตุโชค จันทรภูมี(ผู้เขียน) โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่เบอร์ Call Center ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.084-5554205-9

เขียนและรายงานโดย
นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)

บทความเกษตร”เทคนิคการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นกรดของดิน

20 ม.ค.

เมื่อดินเสื่อมคุณภาพ ขาดธาตุอาหาร ขาดความอุดมสมบูรณ์ ลำดับต้นๆที่เกษตรกรส่วนใหญ่ 80 เปอร์เซ็นต์จะกระทำก่อน คือ… การแก้ปัญหาโดยการหว่านใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มธาตุอาหารให้พอเพียงต่อความต้องการ ทำให้ผลผลิตที่เคยลดต่ำก็กลับสูงขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็กลายเป็นค่านิยม ความเคยชิน เข้าใจผิดว่าปุ๋ยเคมีอย่างเดียวก็แก้ปัญหาได้แล้ว เมื่อเห็นว่าดีก็จะยึดติด และใช้ต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆทุกๆปี จนทำให้ผลผลิตกลับค่อยๆลดลงๆเรื่อยๆ ทั้งๆที่รู้แต่ก็ยังมีบางคนใส่เพิ่มเพื่อรักษาผลผลิตให้สูงเท่าเดิมอยู่ มุมกลับกันยิ่งใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารมากเท่าไหรยิ่งสร้างปัญหามากเท่านั้น

ดินเสื่อมสภาพกลายเป็นกรดจนเป็นอุปสรรคต่อการดูดกินธาตุอาหารและน้ำของราก ธาตุบางธาตุเมื่อมีมากเกินไป อาจทำให้เป็นพิษต่อพืชได้เช่นกัน ยิ่งดินเป็นกรดยิ่งต้องรีบปรับปรุงให้เหมาะสม ให้สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารได้ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ทราบ ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงสภาพดิน เหตุหนึ่งที่ทำให้ปุ๋ยทำงานไม่ได้ผลเต็มที่อย่างที่เคยได้รับ ผลผลิตที่เคยเพิ่มก็กลับลดลงเรื่อยๆ นี่ก็อีกประเด็นที่มักนำมาโจมตี ถกเถียงกันอยู่เสมอๆว่าปุ๋ยเคมีคือต้นเหตุทำให้ดินเป็นกรด จริงๆแล้วการใช้ปุ๋ยเคมีนานๆทำให้ดินเป็นกรดได้จริงไหม ตอบว่า “จริง” แต่ไม่ใช่ 100 เปอร์เซ็นต์ หรือทุกชนิดที่จะทำให้ดินเป็นกรด คงมีแต่ปุ๋ยเคมีพวกที่ให้ไนโตรเจนอย่างแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) และยูเรีย (46-0-0) ส่วนพวกไนเตรทอย่างแคลเซียมไนเตรท (15-0-0) ไม่มีผลต่อเป็นกรดแต่กลับเหมาะกับสภาพดินดังกล่าวเพราะทำให้ดินดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนฟอสเฟตและโพแทสเซียมไม่มีผลต่อความเป็นกรดของดินแต่อย่างใด ฉะนั้นปุ๋ยเคมีไม่ทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นเสมอไป

ยิ่งใช้แอมโมเนียมซัลเฟตหรือยูเรีย บ่อยๆต่อเนื่องนานๆยิ่งทำให้ดินเป็นกรดมากเพิ่มขึ้น แต่ก็สามารถแก้ไขได้ ถ้าวัด pHดินอย่างสม่ำเสมอ เมื่อไหร pHดินมีค่าต่ำกว่า 5.8 ก็ให้เกษตรกรปรับสภาพดินด้วยวัตถุปูน อย่างปูนมาร์ล ปูนขาว และโดโลไมท์ ในปริมาณที่เหมาะสมเป็นประจำทุกปี แต่เมื่อไหร pHดินสูงกว่า 5.8 แต่ไม่เกิน 6.3 ซึ่งสภาพเป็นกรดอ่อนๆเหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ในทางที่ดีก็ให้ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่เป็นแคลเซียมไนเตรท และโพแทสเซียมไนเตรท แทนการใช้แอมโมเนียมซัลเฟตและยูเรีย แค่นี้ก็สามารถแก้ปัญหาดินกรดที่จะเกิดจากปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟตหรือยูเรียได้แล้วละครับ

สอบถามข้อมูลวิชาการเพิ่มเติมได้ที่ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน (081-3983128)

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
วันที่ 20 มกราคม 2558 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

บทความเกษตร”ดอกและผลมะนาวหลุดรวงแก้ได้โดยการใช้”ซิ้งคีเลท 75%”

19 ม.ค.

ช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงหัวเรี่ยวหัวต่อของเกษตรกรชาวสวนมะนาว คือช่วงที่มะนาวกำลังติดลูกเท่าหัวไม้ขีด ปัญหาในช่วงนี้คือ หน้าหนาวมีลมพัดแรงทำให้ลูกมะนาวหลุดรวง สร้างความเสียหายต่อผลผลิตมะนาวได้ ซึ่งถ้าเราดูแลไม่ให้มะนาวหลุดร่วงในช่วงนี้ได้ มะนาวก็จะอยู่รวดไปจนให้ผลผลิตในเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวราคาดีที่สุด ทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษจึงนำข้อมูลของเกษตรกรตัวอย่าง ที่ป้องกันการหลุดร่วงของผลมะนาวในช่วงนี้ มานำเสนอเพื่อเป็นข้อมูลให้กับเกษตรกรท่านอื่นๆนำไปปรับใช้ในสวนมะนาวของตัวท่านเอง เกษตรกรตัวอย่างที่ทำสวนมะนาวของเรา ชื่อคุณกุลชาติ พัวพันวัฒนา ปลูกมะนาวอยู่ที่ หมู่ 6ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ปลูกมะนาวกระกูลแป้นอยู่ 5 ไร่ มีทั้งแป้นทวาย แป้นรำไพ โดยการช่วยให้มะนาวลดการหลุดร่วงนั้นคุณกุลชาติ จะใช้ผลิตภัณฑ์ของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่ชื่อว่า ซิ้งคีเลท 75% ปกติต้นมะนาวของคุณกุลชาตินั้นจะประสบปัญหาของการหลุดร่วงของผลอ่อนมะนาวอยู่เสมอในช่วงเดือนมกราคม โดยเมื่อก่อนคุณกุลชาติยังไม่ทราบถึงสาเหตุของผลมะนาวขนาดเล็กนั้นหลุดร่วงมากโดยที่ลองคิดทบทวนถึงต้นเหตุของปัญหานี้แต่ก็ยังไม่ทราบ ทางคุณกุลชาติจึงได้โทรมาปรึกษากับทีมงานของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โดยทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ขอข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกมะนาวของพี่กุลชาติอย่างละเอียดจึงค้นพบต้นตอของปัญหานั่นก็คือ ต้นมะนาวของคุณกุลชาติมีแร่ธาตุอาหารไม่พอต่อผลมะนาวที่ติดลูกเยอะมาก จึงทำให้ต้นมะนาวนั้นสลัดลูกทิ้ง ซึ่งปฎิกิริยาของต้นมะนาวนั้นก็เป็นไปตามธรรมชาติที่ต้นแม่มีลูกเยอะ ต้นแม่นั้นก็ต้องนำสารอาหารแร่ธาตุต่างๆไปเลี้ยงลูก แต่เมื่อแร่ธาตุสารอาหารนั้นมีไม่เพียงพอจึงทำให้ต้นมะนาวต้นแม่นั้นสลัดลูกทิ้งเพื่อความอยู่รอดของต้นแม่นั่นเองครับ

ซึ่งเมื่อคุณกุลชาติทราบถึงต้นตอจึงได้ขอคำแนะนำจากทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษจึงได้ให้คำแนะนำว่าให้บำรุงต้นด้วยปุ๋ยเกร็ดสูตร 20-20-20 ผสมซิลิโครเทรซ แคลเซียมโบรอนและประเด็นหลักคือ ซิ้งคีเลท 75% ผสมกันตามอัตราส่วนที่กำหนดฉีดพ่นทุกๆ 3 วัน จากการโทรไปสอบถามคุณกุลชาติพบว่าปัญหาของการหลุดร่วงของผลมะนาวนั้นได้ผลดีมากโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์คุณกุลชาติบอกว่าผลของมะนาวยังร่วงอยู่แค่ 10 % เองทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษก็อธิบายต่อไปว่าผลผลิตของคุณกุลชาตินั้นเยอะมากเกินจึงทำให้ยังมีปัญหาอยู่บ้างต้องทำใจเพราะผลผลิตของคุณกุลชาตินั้นเยอะมากจริงๆครับโดยคุณกุลชาติก็บอกต่อว่าพอใจกับการแก้ปัญหาของชมรมเกษตรปลอดสารพิษมากแต่ก็ต้องโทษตัวพี่เองด้วยที่บำรุงต้นยังไม่ดีเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์จึงทำให้เกิดปัญหา พี่ต้อยกล่าวทิ้งท้ายว่าการที่ใช้ ซิ้งคีเลท 75% ช่วยทำให้ผลของมะนาวนั้นหยุดการหลุดร่วงได้อย่างดีเยี่ยม ท่านเกษตรกรท่านใดที่มีปัญหาของการปลูกมะนาวก็สามารถโทรมาปรึกษากับทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ตลอด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายจตุโชค จันทรภูมี (ผู้เขียน) โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่ CallCenter ของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่เบอร์ 084-5554205-9 ได้ทุกวัน

เขียนและรายงานโดย
นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)