Archive | มีนาคม, 2013

เมื่อ….ไรระบาดทำลายเส้นใยเห็ดเหลือแต่ก้อนขี้เลื่อย

29 มี.ค.

ไรเห็ดเป็นศัตรูเห็ดชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กต้องใช้แว่นขยายส่องจึงจะมองเห็นตัว บ้างก็ตัวใสบ้างก็ตัวขุ่นแตกต่างตามชนิดกันไป รวมเป็นกลุ่มกระจายทั่วบริเวณที่มีเส้นใย ที่สำคัญสัตว์จำพวกนี้วงจรชีวิตสั้นแค่เพียง 4-5 วันเท่านั้น ทั่วไปพบตัวเมียมากกว่าตัวผู้ประมาณ 4 เท่า ขยายพันธุ์โดยการออกไข่-ฟักเป็นตัว บ้างครั้งไม่จำเป็นต้องผสมพันธุ์ก็ได้ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ไรระบาดทำลายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงที่เส้นใยเห็ดกำลังเดิน ทำให้เส้นใยขาดไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ที่สำคัญสามารถระบาดได้ทุกชนิดเห็ด ต่างกันที่ชนิดของไรเท่านั้นเอง มักจะเข้าทำลายเส้นใยเห็ดที่กำลังเดินในถุงพลาสติกช่วงบ่มก้อน ทำให้เส้นใยบางหรือบ้างก็กลายเป็นขี้เลื่อย ส่งผลให้ดอกแคระแกร็นไม่โต ส่วนที่ว่ามาจากไหนนั้น ปกติแล้วไรเห็ดมีอยู่ในธรรมชาติเกือบทุกที่ เพียงแต่เมื่อไหร่ ทำอย่างไรไม่ให้ไรแพร่ระบาดในโรงเห็ด ไรเห็ดสามารถเจริญเติบโตได้ดีหรือชอบบริเวณที่มีความชื้นแต่ไม่แฉะ หมักหมมนิดๆหรือสกปรกนั้นเอง

หากพบว่าระบาดแล้วเป็นเรื่องยากที่จะรักษา เนื่องจากต้องใช้สารเคมีอันตรายในการฉีดพ่น ซึ่งไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ผู้บริโภค ดังนั้นควรให้ความสำคัญหันมาป้องกันจะได้ผลดีมากกว่า วิธีที่ดีที่สุดคือรักษาความสะอาดภายในโรงเรือน เนื่องจากไรไม่ชอบความสะอาด หากระบาดช่วงเปิดดอก วิธีเดียวที่จะปลอดภัยต่อผู้ใช้ผู้บริโภคคือให้ใช้จุลินทรีย์กำจัดร่วมกับสมุนไพร จุลินทรีย์ที่ว่านี้คือบาซิลลัส-ไมโตฟากัส ก่อนนำจุลินทรีย์ชนิดนี้มาใช้แนะนำให้ขยายเชื้อด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน1ลูก หรือนมกล่องรสหวาน1กล่อง ต่อหัวเชื้อ 5-10กรัมหรือ1-2ช้อนชา ทิ้งไว้ 1คืน หลังจากนั้นค่อยนำมาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วก้อนสัปดาห์ละ 2ครั้ง ส่วนสมุนไพรที่นำมาใช้ร่วมอาจใช้ใบน้อยหน่า 1 กิโลกรัม โขลกให้ละเอียดกรองเอาแต่น้ำนำมาผสมเจือจางกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นร่วมกันหรือสลับให้ทั่วก้อนเห็ด เท่านี้ก็สามารถช่วยลดการระบาดของไรเห็ดได้ในระดับหนึ่ง เกษตรกรท่านใดที่กำลังเพาะเห็ดอยู่ แล้วมีปัญหาไรระบาดทำลายก้อนเห็ด แก้ไม่ตกโทรปรึกษาได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (02-9861680 -2)หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com

มะนาวแป้นรำไพใช้ปุ๋ยละลายช้าช่วยเยียวยาให้เขียวนานและทนร้อน

28 มี.ค.

ไทยกรีนอะโกรฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ 202 หมู่ 9 ตำบลรำมะสัก อำเภอ โพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง 14120 โทร. 084-555-4207-10 ได้ทำแปลงทดสอบในเชิงเกษตรไว้หลากหลายชนิด ทั้งการปลูกหญ้าแฝกไว้ริมสระน้ำประจำไร่นาเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน การเลี้ยงปลาทับทิมในร่องสวน การเพาะเห็ดในรูปแบบต่างๆ ทั้งแบบโรงเรือน กองเตี้ย แบบแปลงปลูกผัก (casing soil) แบบพึ่งพาอาศัยจากต้นไม้โดยอาศัยร่มเงา (symbiosis) การปลูกข้าวและการปลูกมะนาวในวงซิเมนต์แบบปลอดสารพิษไม่ใช้ฝาปิดด้านล่าง ฯลฯ ซึ่งโดยเฉพาะอย่างหลังนี้คือสิ่งที่จะนำมาเล่าในลำดับถัดไปในการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยละลายช้าเพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโต

ทางไทยกรีนอะโกรฟาร์มได้นำมะนาวสายพันธุ์ต่างๆ มารวบรวมปลูกไว้ในแปลงทดสอบประมาณ 100 ต้นโดยปลูกที่ระยะห่าง 6×6 แบบสลับฟันปลาบนท้องร่องที่กว้างอย่างจำกัดประมาณ 5 เมตรและใช้วงซิเมนต์เป็นตัวควบคุมสภาพอาหารจากด้านบนผิวดินอีกทั้งพื้นที่บริเวณที่ปลูกนี้ค่อนข้างลุ่มต่ำน้ำท่วมขังได้ง่าย ฉะนั้นการใช้วงซิเมนต์จึงมีประโยชน์ในการที่จะช่วยให้รากมีที่อาศัยหากินเมื่อถึงเวลาหน้าฝนที่ระดับน้ำจากท้องร่องปริ่มเอ่อท้นขึ้นมา อย่างไรก็ตามการใช้วงซิเมนต์นั้นไม่จำเป็นนะครับถ้าพื้นที่เป็นดินดีไม่เปรี้ยวไม่เค็มไม่ลุ่มไม่ต่ำและที่สำคัญเมื่อจำเป็นต้องใช้วงซิเมนต์อย่าใช้ฝาปิดด้านล่างเด็ดขาด เพราะเป็นการปิดกั้นแร่ธาตุสารอาหารที่มีอยู่ในดินจนตัวเกษตรกรเองต้องสิ้นเปลืองอาหารให้พืชด้วยการซื้อมาใส่มาเติมเพียงอย่างเดียว

จากการสังเกตมะนาวพันธุ์แป้นรำไพที่ใช้ระบบการปลูกแบบเตรียมดินด้วยการใช้ดิน 50 ส่วน ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหรือินทรีย์วัตถุ 50 ส่วนและใช้หินแร่ภูเขาไฟ (พูมิชซัลเฟอร์) 20 ส่วนช่วยให้มะนาวแป้นรำไพรอดตาย 100 เปอร์เซนต์ (เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคง่ายโดยเฉพาะแคงเกอร์) โดยที่ไม่ต้องใช้โพลิเมอร์เพราะสภาพพื้นที่มีน้ำค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ (ยกเว้นหน้าแล้งที่ภาคชลประทานประกาศหยุดปล่อยน้ำทำนา) จึงทำให้มีปัญหาเรื่องน้ำอยู่บ้างประมาณหนึ่งถึงสองเดือน ถ้าสภาพมะนาวมีอาการหนักจริงก็คงต้องใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์เข้ามาช่วยด้วยเช่นกัน แต่ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือหินแร่ภูเขาไฟที่ช่วยให้มะนาวมีความแข็งแรงทนทานต่อโรคแมลงและสภาพภูมิอากาศไม่เกิดความสูญเสียและล้มตายง่าย

หลังจากลงปลูกไปประมาณเดือนกว่าๆ มะนาวเริ่มมีปัญหากับสภาพอากาศที่ร้อนจัดจึงทำให้ดูซึมเซาหงอยเหงาแห้งเหี่ยว จึงได้รีบใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ในอัตรา 1 กำมือต่อ 1 วงซิเมนต์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างใบอ่อน แต่ต้องนำมาทำให้เป็นปุ๋ยละลายช้าเสียก่อนด้วยการแกะเชือกเปิดปากถุงและขมวดม้วนพับจากปากถุงลงมาให้กว้าง แล้วใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วยเทราดรดเป็นรูปก้นหอยบนปากถุงกระสอบละ 1 ลิตรทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วจึงเทกองรวม น้ำจุลินทรีย์หน่อกล้วยจะแทรกซึมลงไปจนทำให้เม็ดปุ๋ยเปียกถ้วนทั่วไม่ต้องมาเสียเวลาใช้แรงงานนำสูบมาคอยยืนฉีดพ่นอยู่ข้างๆ แล้วจึงค่อยนำไคลน็อพนิโลไลท์ หรือพูมิช หรือ สเม็คโตไท์นำมาผสมคลุกเคล้าอีก 20 กิโลกรัมใช้จอบโกยกลับไปกลับมาจนถ้วนทั่วแล้วนำไปเก็บไว้ในกระสอบดังเดิม ค่อยๆนำมาออกมาใช้ทีละน้อยตามความเหมาะสม

ปุ๋ยยูเรียที่มีปัญหาเรื่องการละลายสูญสลายง่ายและรวดเร็ว พืชกินไม่ทันหรือกินจริงๆได้ไม่กี่สิบเปอร์เซ็นต์แต่สูญสลายหายไปกับสายลมแสงแดดมากกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์เมื่อนำมาคลุกผสมกับหินแร่ภูเขาไฟที่มีความโปร่งพรุน (C.E.C. = Cation Exchange Capacity) ก็จะช่วยจับตรึงสสารของปุ๋ยให้อยู่อย่างครบถ้วนไม่สูญเสีย จึงช่วยทำให้มะนาวเขียวนานเขียวทน แข็งแรงและทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งร้อนจัดหนาวจัด รอเวลาให้รากพืชที่มีแรงดึงออสโมซิสสูงกว่าดูดลำเลียงขึ้นไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆ เมื่อหิวก็กิน อิ่มก็หยุด จึงทำให้มะนาวไม่เฝือใบ ไม่โอเวอร์ไนโตรเจน ไม่อ่อนแอต่อเพลี้ย หนอน แมลง ราและไร

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

ถั่วฝักยาวกับปัญหาโรคราสนิม

27 มี.ค.

ราสนิม เกิดจากเชื้อรา ที่ชื่อว่า Puccinia arachidis จะแพร่ระบาดได้ดีในสภาพที่มีความชื้นในอากาศสูง และในช่วงที่เวลากลางวันร้อน กลางคืนอากาศเย็น และโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบโรคนี้ระบาดมากกว่าฤดูแล้งและมักพบร่วมกับโรคใบจุดสีน้ำตาลหรือใบจุดสีดำ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา อาการเริ่มแรกจะเห็นได้ทันทีที่ใต้ใบจะมีจุดสีน้ำตาลเทาเล็กๆ โดยเริ่มจากใบล่างๆของลำต้น จุดเหล่านี้จะขยายขึ้นมีลักษณะนูน คล้ายขุยผงสีสนิมเหล็ก ซึ่งจะพบได้ทั้งบนใบและใต้ใบ เมื่อเป็นโรคมากๆ ใบจะเหลือง และแห้งจะร่วงก่อนกำหนด โรคราสนิมถ้าระบาดมากจะทำให้ถั่วฝักยาวมีฝักเล็กลง ผลผลิตลด โดยเฉพาะในระยะออกดอก-ติดฝักอ่อน ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาวประสบกับปัญหาทางด้านผลผลิตที่ได้ต่ำกว่าเกณฑ์จึงทำให้ประสบกับภาวะขาดทุน

ควรทำการแก้ไขที่ต้นเหตุโดยใช้พูมิชหรือพูมิช-ซัลเฟอร์รองก้นหลุมหรือใส่ในแปลงตั้งแต่เริ่มปลูก เพื่อให้ถั่วฝักยาวได้รับซิลิก้าที่ละลายจากพูมิชให้เพียงพอต่อการป้องกัน โรค แมลงเพลี้ยหนอน รา ไรต่างๆได้ ทีนี้มาดูในกรณีของคุณภาพของใบว่าตอนนี้ราสนิมได้ระบาดแล้วหรือยังถ้าพบว่ามีการระบาดแล้วแนะนำให้รีบทำลายสปอร์ให้หายหรือหยุดการแพร่ระบาดของราสนิมทันที โดยการใช้ฟังก์กัสเคลียร์ อัตรา 1-2.5 กรัม (1/2 ช้อนชา) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 3 วัน ในช่วงที่ระบาดหนัก ฉีดประมาณ 5 ครั้ง แล้วให้สลับไปฉีดพ่น บีเอสพลายแก้ว อัตรา 5 กรัม หมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน 1 คืน แล้วนำไปผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก 7 วัน เพื่อให้ทำหน้าที่เฝ้ายาม เพราะบีเอสพลายแก้วเป็นจุลินทรย์ที่มีชีวิตคอยเฝ้าระวังมิให้เชื้อราที่เป็นโทษต่อพืชเข้าทำลายได้ แต่วงจรชีวิตของแบคทีเรียจะมีชีวิตหรือแอคทีปดีมากในช่วงระยะ 7 วันนะครับ เพราะฉะนั้น ต้องทำการฉีดพ่นทุก 7 วัน และจะได้ผลดีก็ต้องฉีดในช่วงแสงแดดอ่อนๆด้วยครับ

เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

เสนอแนะติชมที่ 02-9861680-2 หรือ http://www.thaigreenagro.com

เขียนและรายงานเมื่อวันพุธที่ 27 มีนาคม 2556

ผลลัพธ์ของน้ำที่ผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

26 มี.ค.

การให้น้ำต้นไม้ก็สำคัญถ้าให้น้ำมากเกินน้อยเกินหรือไม่ถูกวิธี อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์พืช ดิน สภาพแวดล้อม อย่างเช่น ในร่มหรือกลางแจ้ง มีลมพัดผ่านมั้ย อุณหภูมิเท่าไร ช่วงฤดูกาลไหน บางครั้งพืชได้รับน้ำน้อยเกินไปก็ทำให้ใบเหี่ยว เนื่องจากน้ำในดินมีไม่เพียงพอให้รากดูดไปเลี้ยงลำต้น เห็นได้ชัดเจนช่วงใกล้เที่ยงถึงบ่าย 3 ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศร้อนจัดทำให้พืชคายน้ำมาก เมื่อใบคายมากรากก็ต้องดูดมาทดแทนให้เกิดสมดุลไม่ให้ใบพืชเหี่ยว

แต่บางครั้งน้ำในดินมากเกินไปจนเต็มช่องว่างของเม็ดดิน ทำให้อากาศในดินถูกแทนที่จนเกิดน้ำขัง ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโต ขาดออกซิเจน รากพืชไม่มีอากาศหายใจ แค่ 2-3 วันต้นพืชก็แสดงอาการเหี่ยวหรือตายทั้งๆที่ไม่ขาดน้ำ ในทางกลับกันหากให้รับน้ำน้อยเกินไปก็ทำต้นเหี่ยวได้เช่นเดียวกัน การให้น้ำควรรดที่โคนต้นแทนการฉีดพ่นทางใบ เป็นไปได้ควรพรวนดินให้ฟูก่อนรดน้ำ ทำให้ดินซับน้ำได้ดี ป้องกันการชะล้างหน้าดิน ส่งผลให้รากพืชลอยและเหี่ยวแห้งได้ง่าย

การนำโพลิเมอร์มาใช้ปลูกพืชเพื่อประหยัดน้ำ โดยไม่ต้องฮ้อน้ำฝนหรือค่อยรดบ่อยๆ ยิ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้งแล้วนั้นก็ยิ่งช่วยยืดอายุการให้น้ำ ลดการเหี่ยวเฉา เนื่องจากสารดังกล่าวสามารถดูดซับน้ำได้ไม่น้อยกว่า 200 เท่า ทำให้ดินชุ่มชื้นต้นพืชเจริญเติบโตต่อไปได้แม้เป็นหน้าแล้ง เพียงแค่นำโพลิเมอร์ 1 กิโลกรัมไปแช่น้ำ 150 ลิตรทิ้งไว้ 4 ชั่วโมง เมื่อดูดซับน้ำเต็มที่แล้ว จากนั้นนำมาผสมวัสดุหรือรองก้นหลุมปลูก ช่วงหน้าแล้งดินก็จะดูดซับน้ำจากโพลิเมอร์เพิ่มความชื้นให้แก่ราก แต่เมื่อดินได้รับน้ำเพิ่มเข้ามาโพลิเมอร์ก็จะทำหน้าที่ดูดเก็บน้ำไว้ใช้ต่อยามดินแห้งวนเวียนไปมา ?-1ปี ช้าเร็วขึ้นอยู่กับการย่อยสลายของจุลินทรีย์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680-2 หรือ 081-3983128 (เอกรินทร์)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ผลิตปุ๋ยใช้เอง หมักสมุนไพรไล่แมลง ต้นทุนชาวนาลด กำไรเพิ่ม

25 มี.ค.

ประเทศเวียดนามสามารถที่จะส่งข้าวราคาถูกกว่าประเทศไทยไปขายทั่วโลกเพราะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและจริงจัง ด้วยการวางกรอบและนโยบาย 3 ลด 3 เพิ่ม คือ ลดเมล็ดพันธุ์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และลดการใช้ยาฆ่าแมลง ในส่วนที่เพิ่มก็มีการรณรงค์ส่งเสริมให้มีการเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพและเพิ่มกำไร ทำให้ชาวไร่ชาวนาของประเทศเวียดนามมีทิศทางในการก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยความมั่นคง เหตุผลที่สำคัญคือเวียดนามอาจจะไม่ได้ต้องการดั๊มราคาข้าวของไทย แต่เนื่องด้วยต้นทุนการผลิตของเขานั่นต่ำเพียง 4,978 บาทส่วนของไทยอยู่ที่ 5,800 บาท (ที่มา : วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย การเปรียบเทียบศักยภาพการผลิตและการค้าข้าวไทยและเวียดนามในตลาดอาเซียน ปีท่ี 31 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2554) จึงทำให้รัฐบาลของเขาสามารถที่จะขายข้าวได้ในราคาที่ต่ำกว่าประเทศไทยโดยมิได้ดั๊มราคาขายแข่งกับรัฐบาลไทยอย่างที่เป็นข่าวก็ได้ เพียงแต่ต้นทุนต่ำก็ขายในราคาพอควรไม่ดีกว่าหรือแค่นี้ลูกค้าก็มากันตรึมแล้ว (ฮ่าๆ)

ถ้ารัฐบาลต้องการที่จะให้ชาวไร่ชาวนาไทยมีกำไรและมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ควรหันกลับมาทบทวนในเรื่องการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้มากๆ เพราะนี่คือวิถีธรรมชาติที่อาจจะใช้กลไกตลาดเข้ามาช่วยนำเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เนื่องด้วยมีปัจจัยผันแปรค่อนข้างมากในระบบและวิถีชีวิตการทำเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ดิน เรื่องน้ำ สภาพภูมิอากาศ โรคแมลงศัตรูพืชระบาด ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้ถ้าเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มในทันที เพราะค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะตกไปอยู่ที่ค่าปุ๋ย ค่ายาและเมล็ดพันธุ์ โดยเฉพาะยาฆ่าแมลงศัตรูพืชและยาฆ่าหญ้านั้นถือได้ว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านของชาวไร่ชาวนาเลยทีเดียว ร้านค้าปุ๋ยยาน้อยใหญ่อย่างน้อยจะต้องมียาสองชนิดนี้ติดร้านอยู่เป็นประจำ เรียกว่าขาดไม่ได้

ถ้ารัฐบาลมีการรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องปัจจัยพื้นฐานโดยผ่านองค์กรของภาครัฐโดยกรมส่งเสริมการเกษตรหรือกรมวิชาการเกษตรให้มากขึ้น ก็จะช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับปรุงแก้ไขให้ดินมีคุณสมบัติที่เหมาะสมไม่เป็นกรดหรือด่างจัด ใช้ปุ๋ยได้พอเหมาะพอดีไม่มากไปน้อยไป อีกทั้งให้ความรู้ความเข้าใจในการผลิตปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและสมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืชจากวัสดุหรือพืชสมุนไพรในธรรมชาติใช้เองไม่ต้องซื้อ ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพจากกรมการข้าวที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง สามารถนำเสนอเมล็ดพันธุ์ให้ชาวนาได้ใช้อย่างถูกต้องตรงกับเวลาและสถานการณ์ไม่ต้องคอยวิ่งหากระเสือกกระสนไปซื้อเมล็ดพันธุ์จากภาคเอกชนที่มีราคาแพง ถ้ารัฐสามารถทำได้โดยเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆไปเรื่อยๆเพียงเท่านี้คาดว่าชาวไร่ชาวนาก็น่าจะลืมตาอ้าปากได้ไม่ยาก

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

ทริปโตฝาจกับด้วงกัดยอดมะพร้าว

22 มี.ค.

แมลงที่กัดกินทำลายยอดอ่อนมะพร้าว ส่วนใหญ่เป็นด้วงแรด ด้วงกวางฯลฯ มักออกหากินเวลาพลบค่ำหรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ชอบบินออกมาเล่นแสงไฟหลังฝนตกใหม่ๆ พื้นที่ใดที่ระบบนิเวศน์ยังสมดุลมักจะไม่พบระบาด ส่วนใหญ่เกิดจากการปล่อยปละละเลยของเกษตรกรก่อให้เกิดแหล่งขยายพันธุ์ อย่างซากเน่าเปื่อยของลำต้นตอมะพร้าว, กองปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก, ขุยมะพร้าว รวมถึงซากพืชต่างๆ ที่เน่าเปื่อย จากนั้นตัวด้วงที่โตเต็มวัยก็จะบินขึ้นไปกัดเจาะทางใบมะพร้าว รวมถึงยอดอ่อนที่ไม่คลี่เสียหายขาดแหว่งเป็นหางปลาทู

การนำทริปโตฝาจหรือกลุ่มเชื้อรากินแมลงมาควบคุมด้วงดังกล่าวนั้น เป็นวิธีป้องกันกำจัดทางชีววิธีที่ได้ผลระยะยาว ไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ซึ่งเชื้อรากลุ่มนี้สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้ข้ามปี ที่สำคัญเป็นภัยต่อด้วงแมลงอาศัย การควบคุมส่วนใหญ่จะเลือกวิธีคลุกผสมกองปุ๋ยหมักล่อให้ด้วงมาวางไข่เพื่อตัดวงจรชีวิต หรือบางพื้นอาจใช้วิธีผสมน้ำฉีดพ่นตามจุดที่พบเข้าทำลาย จากการศึกษางานวิจัยพบว่าเชื้อราดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดโรคแก่แมลง โดยเฉพาะในกลุ่มหนอนด้วงมะพร้าว รวมถึงสามารถควบคุมการระบาดของตั๊กแตน มวน และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ฯลฯ

เชื้อราทริปโตฝาจจะเข้าทำลายแมลงผ่านทางผนังลำตัวหรือรูหายใจ เมื่อสภาพอุณหภูมิความชื้นเหมาะสม เชื้อราจะสร้างเส้นใยแล้วแทงทะลุผ่านผนังลำตัวเข้าสู่เนื้อเยื่อ จากนั้นก็ดูดซึมสารอาหารในลำตัวแมลงจนแห้งแข็งเหมือนมัมมี่ หลังจากแมลงตายแล้วเชื้อก็จะแทงทะลุผ่านผนังลำตัวออกมาข้างนอก ช่วงแรกๆจะพบว่ามีเส้นใยสีขาวปกคลุมลำตัวเพียงเล็กน้อย แล้วค่อยๆหนาขึ้นเรื่อยๆคล้ายฟองน้ำหุ้มตัวแมลงในเวลาต่อมา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680-2 หรือ 081-3983128 (เอกรินทร์)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com

ผลดี-ผลเสียของอุณหภูมิความชื้นที่เปลี่ยนแปลงในโรงเรือนเปิดดอกเห็ดนางฟ้า

21 มี.ค.

เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดที่นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก เนื่องจากเลี้ยงง่าย ซื้อขายง่าย ราคาไม่แพง แต่ก็เจอปัญหามากที่สุดเพราะเห็ดชนิดนี้ชอบอากาศเย็นชื้นประมาณ 20-30 ?c แต่กลับกันหน้าร้อนทุกวันนี้สูงขึ้น 36-40 ?c หรืออาจสูงกว่า อุณหภูมิสูงขึ้นเห็ดออกดอกน้อย ต่างจากหน้าฝนหรือหน้าหนาว มีเห็ดนางฟ้า 3,000 ก้อน เก็บผลผลิตได้ 30-40 กิโลกรัมต่อวัน แต่หน้าร้อนลดเหลือแค่วันละ10 กิโลกรัมหรือไม่ถึง ทำให้สูญเสียรายได้และยิ่งกว่านั้นบางรายต้องซื้อก้อนมาเปิดดอกก็ยิ่งทำให้ขาดทุนกันไปใหญ่

อุณหภูมิความชื้นภายในโรงเปิดดอกถือได้ว่ามีความสำคัญต่อการเจริญของเส้นใยดอกเห็ดอย่างยิ่ง ยิ่งเป็นเห็ดนางฟ้าแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-30 ?c ซึ่งจะได้ดอกเห็ดที่มีขนาดใหญ่ได้น้ำหนัก ผลผลิตมาก แต่หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 ?c หรือสูงกว่า 35 ?c เห็ดชนิดนี้จะไม่ออกดอก กรณีที่ก้อนเห็ดได้รับอุณหภูมิต่ำกว่า 20 ?c บ้างเวลาช่วงสั้นๆ เวลากลางคืน จะช่วยกระตุ้นให้เกิดดอกได้ดีอีกทางหนึ่ง ความชื้นก็สำคัญไม่น้อยกว่ากันเท่าใดนัก โดยเฉพาะช่วงเปิดดอกต้องอาศัยโรงเรือนที่เก็บความชื้นได้ดี และความชื้นที่เหมาะสมไม่ควรต่ำกว่า 80 % เนื่องจากความชื้นเป็นตัวแทนของน้ำที่มีผลโดยตรงกับการออกดอกของเห็ด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680-2 หรือ 081-3983128 (เอกรินทร์)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com

ฤดูแล้งมาไว ต้นยางพาราที่ปลูกเริ่มตาย โพลิเมอร์คือแสงสว่างของท่าน

20 มี.ค.

เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนกันแล้วนะครับดูจากข่าวรู้สึกปีนี้อากาศจะหนักหนาสาหัสสากันกว่าทุกๆปี อุณหภูมิบางพื้นที่ทะลุ 40 องศาไปแล้ว จังหวัดที่อากาศร้อนที่สุดรู้สึกจะเป็น จังหวัดลำปางครับ ต้องขอใช้สรรพวัยรุ่นเลยว่า บ่องตง…“ลำปางร้อนมาก” แต่ก็มีพื้นที่บางพื้นที่หรือบางจังหวัดที่มีฝนหลงฤดูตกลงมาสร้างความชุ่มชื่นให้ผู้คนในเขตนั้นๆได้คลายร้อนกัน ในบทความตอนนี้เรื่องที่ผู้เขียนจะนำเสนอมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องอากาศที่ร้อนและภัยแล้งที่ปีนี้มาเร็วกว่าปกติ เรื่องอากาศที่ร้อนและภาวะแล้งขาดน้ำ ส่งผลโดยตรงกับต้นไม้ที่ปลูกไว้ โดยเฉพาะต้นยางพารา ที่มีข้อมูลว่าช่วงฤดูฝนปีที่แล้วมีการปลูกยางพาราหลายล้านไร่ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งรุนแรงทุกปี ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้รับโทรศัพท์ของพี่น้องเกษตรกรที่ปลูกยาพาราโทรเข้ามาปรึกษาเรื่องยางพาราที่ปลูกเริ่มตายให้เห็นเนื่องจากขาดน้ำเป็นเวลานานหลายเดือนและก็โทรเข้ามาถามข้อมูลเกี่ยวกับสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ ว่าสามารถช่วยลดการตายของต้นยางพาราได้จริงหรือ หลังจากได้ข้อมูลว่าต้นยางพาราของเกษตรกรเจอปัญหาภัยแล้งเล่นงานอยากหนักเลยได้ โทรไปสอบถามเก็บข้อมูลของท่านสมาชิกที่ได้ใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์รองก้นหลุมปลูกยางพารา ไปตั้งแต่เริ่มปลูกตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฏาคม ของปีที่แล้ว ข้อมูลที่ได้จากท่านสมาชิกทั้งหลายจะคล้ายๆกัน

คือต้นยางพาราที่ปลูกยังไม่มีต้นที่ล้มหายตายจากไปเลย ยังคงมีสภาพปกติ ใบเขียวเข้มไม่แสดงอาการเขียวหรือขาดน้ำให้เห็นเลย ต่างจากสวนข้างๆบริเวณนั้นที่เริ่มมีตายให้เห็นชัดเจน เกษตรกรส่วนข้างๆยังถามเลยว่าทำไมต้นยางพาราของท่านไม่ตายเลย ท่านใช้อะไร ซึ่งท่านสมาชิกก็บอกต่อไปว่าใช้โพลิเมอร์สารอุ้มน้ำของชมรมเกษตรปลอดสารพิษรองก้นหลุมไว้ สำหรับเกษตรกรที่ปลูกยางพาราโดยไม่ได้ใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์รองก้นหลุดตั้งแต่ตอนปลูกแล้วกำลังประสบปัญหาภัยแล้งไม่มีน้ำรดต้นยางแล้วยางพารากำลังยืนต้นตาย ทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษมีวิธีแนะนำเพื่อช่วยบรรเทาเรื่องของต้นยางพาราที่ขาดน้ำ โดยการใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ นำไปแช่น้ำให้พองตัวเต็มที่แล้วนำไปรองต้นหลุมต้นยางพารา โดยเตรียมน้ำ 200 ลิตร ใส่โพลิเมอร์ลงไป 1 กิโลกรัม แช่ทิ้งค้างคืนไว้ วันต่อมาโพลิเมอร์จะกลายเป็นวุ้นหรือเจล จากนั้นไปขุดหลุมข้างๆต้นยางพารา โดยขุดลึกลงไประยะของรากยาง ขุดอย่างน้อย 2 -4 หลุม แล้วตักโพลิเมอร์ที่แช่น้ำแล้วลงไปหลุมละครึ่งกิโลกรัม แล้วนำดินที่ขุดกลบให้เรียบร้อย ยางของต้นยางพาราจะมาดูดน้ำจากโพลิเมอร์เพื่อไปใช้ประทังชีวิตให้ผ่านพ้นหน้าแล้งอันแสนโหดร้ายและยาวนานไปได้ครับ ถ้าท่านใดที่ปลูกยางพาราแล้วประสบปัญหานี้อยู่ก็ลองนำเทคนิควิธีของทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษไปลองใช้ดูนะครับ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดควรใช้โพลิเมอร์สารอุ้มน้ำตั้งแต่ตอนปลูกใหม่เลยให้รากของต้นยางพารานั่งอยู่บนโพลิเมอร์เลย จะได้ดูดซับน้ำง่ายขึ้นครับ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2

เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2หรือ http://www.thaigreenagro.com

เขียนและรายงานวันที่ 20 มีนาคม 2556

ถั่วฝักยาวกับปัญหาโรคราสนิม

20 มี.ค.

ราสนิม เกิดจากเชื้อรา ที่ชื่อว่า Puccinia arachidis จะแพร่ระบาดได้ดีในสภาพที่มีความชื้นในอากาศสูง และในช่วงที่เวลากลางวันร้อน กลางคืนอากาศเย็น และโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบโรคนี้ระบาดมากกว่าฤดูแล้งและมักพบร่วมกับโรคใบจุดสีน้ำตาลหรือใบจุดสีดำ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา อาการเริ่มแรกจะเห็นได้ทันทีที่ใต้ใบจะมีจุดสีน้ำตาลเทาเล็กๆ โดยเริ่มจากใบล่างๆของลำต้น จุดเหล่านี้จะขยายขึ้นมีลักษณะนูน คล้ายขุยผงสีสนิมเหล็ก ซึ่งจะพบได้ทั้งบนใบและใต้ใบ เมื่อเป็นโรคมากๆ ใบจะเหลือง และแห้งจะร่วงก่อนกำหนด โรคราสนิมถ้าระบาดมากจะทำให้ถั่วฝักยาวมีฝักเล็กลง ผลผลิตลด โดยเฉพาะในระยะออกดอก-ติดฝักอ่อน ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาวประสบกับปัญหาทางด้านผลผลิตที่ได้ต่ำกว่าเกณฑ์จึงทำให้ประสบกับภาวะขาดทุน

ควรทำการแก้ไขที่ต้นเหตุโดยใช้พูมิชหรือพูมิช-ซัลเฟอร์รองก้นหลุมหรือใส่ในแปลงตั้งแต่เริ่มปลูก เพื่อให้ถั่วฝักยาวได้รับซิลิก้าที่ละลายจากพูมิชให้เพียงพอต่อการป้องกัน โรค แมลงเพลี้ยหนอน รา ไรต่างๆได้ ทีนี้มาดูในกรณีของคุณภาพของใบว่าตอนนี้ราสนิมได้ระบาดแล้วหรือยังถ้าพบว่ามีการระบาดแล้วแนะนำให้รีบทำลายสปอร์ให้หายหรือหยุดการแพร่ระบาดของราสนิมทันที โดยการใช้ฟังก์กัสเคลียร์ อัตรา 1-2.5 กรัม (1/2 ช้อนชา) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 3 วัน ในช่วงที่ระบาดหนัก ฉีดประมาณ 5 ครั้ง แล้วให้สลับไปฉีดพ่น บีเอสพลายแก้ว อัตรา 5 กรัม หมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน 1 คืน แล้วนำไปผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก 7 วัน เพื่อให้ทำหน้าที่เฝ้ายาม เพราะบีเอสพลายแก้วเป็นจุลินทรย์ที่มีชีวิตคอยเฝ้าระวังมิให้เชื้อราที่เป็นโทษต่อพืชเข้าทำลายได้ แต่วงจรชีวิตของแบคทีเรียจะมีชีวิตหรือแอคทีปดีมากในช่วงระยะ 7 วันนะครับ เพราะฉะนั้น ต้องทำการฉีดพ่นทุก 7 วัน และจะได้ผลดีก็ต้องฉีดในช่วงแสงแดดอ่อนๆด้วยครับ

เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

เสนอแนะติชมที่ 02-9861680-2 หรือ http://www.thaigreenagro.com

เขียนและรายงานเมื่อวันพุธที่ 27 มีนาคม 2556

บทความเกษตร”วิธีประหยัดปุ๋ยในการปลูกมันสำปะหลัง”

19 มี.ค.

บทความเกษตร”วิธีประหยัดปุ๋ยในการปลูกมันสำปะหลัง”
มันสำปะหลังเป็นพืชอาหารที่สำคัญเป็นอันดับ 5 ของโลกรองจากข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว และมันฝรั่ง เป็นพืชอาหารที่สำคัญของประเทศในเขตร้อน โดยเฉพาะประเทศต่างๆ ในทวีปอัฟริกาและทวีปอเมริกาใต้ ในทวีปเอเซียประเทศอินโดนีเซียและอินเดียมีการบริโภคมันสำปะหลังกันเป็น จำนวนมาก ปริมาณผลผลิตที่ได้ในแต่ละปีร้อยละ 60 ใช้เป็นอาหารของมนุษย์ ร้อยละ 27.5 ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ และร้อยละ 12.5 ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ มันสำปะหลังเป็นพืชที่ทำรายได้ให้เกษตรกรมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากยางพารา อ้อย และข้าว ผลผลิตมันสำปะหลัง ภายในประเทศนำไปใช้ทำมันเส้นและมันอัดเม็ดร้อยละ 45-50 ใช้แปรรูปเป็นแป้งร้อยละ 50-55 ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังออกมากที่สุดในโลก ประเทศที่ไทยส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในรูปของมันอัดเม็ดไปขายมากที่สุดคือ ประเทศในกลุ่มประชาคมยุโรป (เนเธอร์แลนด์ สเปน เยอรมัน โปรตุเกส) เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ส่วนในรูปของแป้งมันสำปะหลัง ประเทศญี่ปุ่นสั่งซื้อ มากที่สุด รองลงมาคือฮ่องกง สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน ในปัจจุบันการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรนั้นจะประสบกับปัญหาต้นทุนสูงในเรื่องของการให้ปุ๋ย โดยการให้ปุ๋ยนั้นจะทำการให้โดยการหว่านตอนยกล่อง(ตอนเตรียมดินนั่นเอง)โดยปุ๋ยที่หว่านไปนั้นจะสูญเสียไปกับน้ำ ลมและแสงแดดทำให้มันสำปะหลังนั้นแสดงอาการขาดปุ๋ย

ในวันนี้ทางด้านผู้เขียนจะมาบอกเล่าเก้าสิบถึงการให้ปุ๋ยของคุณ บุญมี คำแสง ผู้ที่ปลูกมันสำปะหลังจำนวน 10 ไร่ซึ่งการให้ปุ๋ยของคุณบุญมี คำแสงนั้นจะทำการให้ดังนี้ตอนเตรียมดินจะใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 17-8-20 (จะค่อนข้างหนักไปทางตัวท้าย)โดยการเทปุ๋ยลงในกระบะ 1 กระสอบและใช้น้ำที่หมักด้วยปลาทะเลเทให้ท่วมตัวปุ๋ย จากนั้นให้นำลำหยาบมาเทให้ซับน้ำให้หมดจากนั้นใช้พูมิชผสมลงไป 2 กระสอบผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันเท่านี้ก็เสร็จพิธีพร้อมที่จะนำไปหว่านลงล่องมันสำปะหลังที่จัดเตรียมไว้ โดยพี่บุญมี คำแสง บอกว่าใช้วิธีนี้มานานแล้ว ผลที่ได้คือหว่านปุ๋ยเพียงรอบเดียวมันสำปะหลังก็จะเขียวนาน 3-4 เดือนและลำต้นมันสำปะหลังจะสูงและสีของต้นจะขาว กิ่งและลำต้นจะเหนียวต้นแข็งแรงใบแข็งแรงโรคแมลงไม่ค่อยจะมีมารบกวนเมื่อเทียบกับแปลงข้างๆทั้งๆที่ปลูกมันอายุเท่าๆกันโดยทางพี่บุญมี คำแสงยังบอกว่าพี่เขาได้สังเกตุแปลงข้างๆของพี่เขาเห็นว่าทุกๆเดือนจะต้องมีการใส่ปุ๋ยทุกๆครั้งทำให้สิ้นเปลืองปุ๋ยและค่าแรงในการให้ปุ๋ยไปอย่างสิ้นเชิง ผลผลิตที่ได้เมื่อเทียบกันกับแปลงข้างๆแล้วได้ผลผลิตเท่าๆกันคือ 6 ตัน/ไร่นั่นเอง เคล็ดลับของพี่บุญมี คำแสง นั่นก็คือจะใช้น้ำหมักปลาทะเลเท่านั้นไม่ใช้น้ำเปล่าวพี่บุญมี คำแสงยังทิ้งท้ายไว้ว่าถ้าใช้สูตรนี้แล้วผลผลิตจะได้ไม่ต่ำกว่า 5 ตัน/ไร่อย่างแน่นอนต้นทุนก็ลดลงมาอย่างเห็นได้ชัดเจน***ขออภัยที่ไม่อาจลงที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ได้เนื่องจากจะไปรบกวนพี่เขา*** เกษตรกรท่านใดที่ปลูกมันสำปะหลังอยู่จะทดลองวิธีการให้ปุ๋ยอย่างพี่บุญมี คำแสงก็สามารถโทรสอบถามได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือ http://www.thaigreenagro.com

เขียนและรายงานเมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม 2556