Archive | พฤษภาคม, 2014

ปรับน้ำ ปรับ pH ก่อนปล่อยกุ้ง ปล่อยปลา

30 พ.ค.

ก่อนปล่อยลูกกุ้งลูกปลาลงบ่อ ควรปรับสภาพน้ำ ตรวจวัด pH ความเป็นกรดหรือด่าง โดยนำน้ำตัวอย่างในบ่อใส่จานหลุมพลาสติก แล้วหยดน้ำยาตรวจสอบ pH 1 หยด ปล่อยทิ้งไว้ให้น้ำยาผสมกัน แล้วจึงตรวจสอบสีเทียบสี หากต่ำกว่า 7 แสดงว่าเป็นกรด แต่ถ้าสูงกว่า 7 หมายถึงเป็นด่าง กรณีพบว่าน้ำเป็นกรดก็ให้ใช้โดโลไมท์เนื่องจากเป็นด่างน้อย มีแร่ธาตุที่แพลงค์ตอนพืชต้องการอย่างแมกนีเซียม แคลเซียม แต่ในบางพื้นที่นิยมใช้ปูนขาว ปูนเปลือกหอย เนื่องจากปรับ pH ได้รวดเร็วกว่า หากจำเป็นก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง

ก่อนปรับสภาพน้ำต้องรู้สภาพแวดล้อมตรงจุดนั้นๆด้วยว่า ควรใช้อะไรอย่างไร ใช้ลักษณะใด เพราะสารแต่อย่างให้คุณสมบัติไม่เหมือนกัน ควรใช้อย่างระมัดระวัง ไม่น้อยหรือไม่มากจนทำให้เกิดโทษ ทำให้น้ำเป็นด่าง ดินเป็นด่าง แต่หากเป็นเช่นนั้นก็ควรปรับสภาพด้วยภูไมท์ซัลเฟตถุงแดง ซึ่งความเป็นกรดที่ pH 4.5 สามารถช่วยลดความเป็นด่างของดิน ของน้ำได้อย่างลงตัว โดยที่ไม่ก่อให้เกิดโทษต่อแพลงค์ตอนพืชแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ

เมื่อระดับ pH ของน้ำคงที่แล้วให้ใส่จุลินทรีย์บาซิลลัส MT ลงไป เฉลี่ยไร่ละ ? -1 กิโลกรัม สำหรับย่อยอินทรีย์วัตถุ เศษอาหารที่ตกค้างบนพื้นบ่อ ช่วยเพิ่มปริมาณแพลงค์ตอน รักษาระบบนิเวศน์ของน้ำให้คงที่อยู่เสมอ ซึ่งจะใส่มากใส่น้อยดูจากสภาพแวดล้อม การถ่ายน้ำเข้า-ออกจากบ่อบ่อยครั้งไม่ใช่เรื่องที่ดี แต่กลับทำให้สัตว์น้ำเกิดอาการเครียด ไม่กินอาหาร อัตราการเจริญเติบโตไม่ต่อเนื่อง สังเกตได้จากการเลี้ยงปลาในบ่อปูน ดังนั้นควรควบคุมระบบน้ำตั้งแต่ปล่อยลูกพันธุ์ลงไปจนถึงวันที่จับขาย เพราะน้ำคือตัวแปรสำคัญ ที่อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารต่างๆในสัตว์น้ำได้เช่นเดียวกัน หากต้องการสอบถามหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (02-9861680-2) หรือผู้เขียน (081-6929660)

เขียนโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
แนะนำติชมได้ที่ email:thaigreenagro@gmail.com

ป้องกันกำจัดปลวก ด้วยจุลินทรีย์เมธาไรเซียม ปลอดภัยไร้สารพิษ

28 พ.ค.

เรื่องราวที่ผู้เขียนจำนำเสนอในบทความตอนนี้ก็คือเรื่อง ปลวก ที่ชอบระบาดในช่วงฤดูฝนพร้องทั้งวิธีป้องกันกำจัดด้วยวิธีปลอดสารพิษ ช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝนแล้วสิ่งที่เราต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นคือการที่ ปลวกจะเข้ามาผสมพันธุ์และใช้พื้นที่ในบ้านของเราในการสร้างรังของมัน ปลวกเป็นแมลงสังคมเพราะภายในรังจะมีการแบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆ ซึ่งเราก็ได้รู้จักปลวกในแต่ละวรรณะกันแล้วในคราวก่อน ในครั้งนี้เรามารู้ถึงวงจรชีวิตของปลวกกันเพื่อเป็นการเพิ่มความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำรงชีพของปลวกและเพื่อเป็นการป้องกันกำจัดได้อย่างสมบูรณ์ยิ่ง ขึ้น เริ่มจากปลวกตัวเต็มวัยจะมีปีกหรือที่เรารู้จักกันว่า ”แมลงเม่า” เราจะพบแมลงเม่ามากในช่วงต้นฤดูฝน (พฤษภาคม-มิถุนายน) หรืออีกช่วงหนึ่งจะเป็นช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์ ถ้าในช่วงดังกล่าวมีฝนตกผิดฤดู ช่วงดังกล่าวจะมีปริมาณความชื้นสูง จึงเป็นระยะที่เหมาะกับการผสมพันธุ์เราจึงสามารถพบเห็นแมลงเม่าได้มากในระยะดังกล่าว

แมลงเม่าเป็นปลวกทั้งเพศผู้และเพศเมียที่ไม่เป็นหมัน เมื่อบินออกจากรังจะจับคู่กันแล้วจะสลัดปีกทิ้ง จากนั้นจะพากันไปหาสถานที่ที่เหมาะสมในการที่จะเป็นรังใหม่ของมันต่อไปนั่นคือที่ที่มีความชื้นสูงและมีอาหารคือไม้อยู่อย่างพอเพียง ขั้นตอนการผสมพันธุ์เริ่มจากเพศเมีย ซึ่งเป็นราชินีปลวกจะชูส่วนท้องและปล่อยกลิ่นฟีโรโมนเพศ ทำให้ปลวกราชาเคลื่อนที่เข้าไปหาและเริ่มการผสมพันธุ์ เมื่อสร้างรังเสร็จตัวเมียจะเริ่มวางไข่ในระยะต่อมาภายในระยะเวลา 1 เดือน การวางไข่ครั้งแรกจะมีจำนวนน้อยประมาณ 10 ฟองหรือมากกว่า ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนออกมาภายในเวลาหลายสัปดาห์ โดยปลวกรุ่นแรกจะเป็นปลวกงานและปลวกทหาร ในระยะแรกตัวอ่อนจะได้รับอาหารจากปลวกราชินีโดยการกินมูลและอาหาร ซึ่งทำให้ปลวกได้รับโปรโตซัวและแบคทีเรีย ต่อมาส่วนท้องของปลวกราชินีจะขยายใหญ่ขึ้นจะเริ่มวางไข่อีกและจะเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนไม่ได้ ในครั้งนี้จะเป็นการผลิตปลวกงานและปลวกทหารให้เพิ่มขึ้น ในระยะ 3-4 ปีต่อมาราชินีจึงวางไข่เพื่อผลิตวรรณะสืบพันธุ์ชุดแรก (primary reproductive) สำหรับตัวราชาปลวกจะมีรูปร่างขยายขึ้นกว่าเดิมไม่มากนัก จะคอยอยู่ใกล้ๆ กับตัวนางพญาปลวกเพื่อทำการผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียว

ปัญหาเรื่อง “ปลวก” ที่มักก่อกวนและสร้างความรำคาญใจให้กับมนุษย์เราในทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่อยู่อาศัย ไร่นา สวนป่า สวนยาง ฯลฯ ปัจจุบันได้มีหลายหน่วยงานทั้งรัฐบาลและเอกชนได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือแก้ไขบรรเทาแก่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเหล่านั้นอยู่บ้าง แต่วิธีการรักษาและป้องกันกำจัดส่วนมากจะยังคงใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงเสียป็นส่วนใหญ่ทำให้ไม่ได้รับความปลอดภัยทั้งคน สัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อม เพราะอาจจะมีสารพิษตกค้างก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย เชื้อจุลินทรีย์เมธาไรเซียม นั้นเกิดจากการค้นพบโดยบังเอิญของผู้ที่ศึกษาวิจัยและเพาะเห็ดยุคบุกเบิกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ที่ได้ทำการทดลองและศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเห็ดโคนว่าทำไมถึงได้เจริญเติบโตและขึ้นได้เฉพาะที่จอมปลวกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หลังจากที่ได้ขุดจอมปลวกเพื่อศึกษาโครงสร้างและระบบนิเวศน์ของรังปลวก ได้สังเกตเห็นว่าทุก ๆ จอมปลวกที่ร้างไปนั้น จะมีเชื้อราเขียวที่ชื่อว่า เมธาไรเซียม อยู่ที่รักเก่าร้างนั้นทุกครั้งไป ทำให้เกิดการศึกษาค้นคว้าวิจัยพัฒนาตามมาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการกำจัดปลวกอยู่ในปัจจุบัน

คุณวัฒนา คนไว อยู่บ้านเลขที่ 85 หมู่ 9 ต.บ้านเอื้อง อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งก็มีปัญหาเรื่องปลวกในสวนและบริเวณรอบ ๆ บ้านอยู่ด้วยเหมือนกัน แต่จะใช้วิธีการป้องกันรักษาแบบปลอดสารพิษโดยการนำ เชื้อจุลินทรีย์ เมธาไรเซียม ไปใช้ทดแทนการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เพราะเกรงว่าจะได้ผลกระทบจากสารพิษที่ตกค้างจนอาจจะทำให้เกิดพิษภัยและโรคต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมาในภายหน้า วิธีการใช้โดยนำเชื้อจุลินทรีย์ เมธาไรเซียม ผสมน้ำราดเทลงไปในรังปลวก โดยก่อนที่จะทำการราดรดจุลินทรีย์กำจัดปลวก เมธาไรเซียมลงไปนั้น ได้นำเหล็กแหลมทิ่มตำลงไปในรังปลวกหลาย ๆ ครั้งเสียก่อน เพื่อจะได้ทำให้เชื้อเมธาไรเซียมสามารถซึมซาบ ผ่านเข้าไปจนทั่วรังปลวกอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาการใช้ คุณวัฒนา จะใช้เชื้อจุลินทรีย์เมธาไรเซียมเพียงเดือนละครั้ง อัตราการใช้ไม่แน่นอนแล้วแต่ขนาดรังหรือตามความพอใจเสียเป็นส่วนใหญ่ หลังจากที่ได้ใช้ไปผลปรากฏว่าปลวกตายยกรัง และก็จะกลับมาสร้างรังใหม่ภายใน 1 เดือน โดยวัตถุประสงค์ของคุณวัฒนา บอกว่าจะไม่ฆ่าปลวกให้ตายทีเดียวทั้งหมด แต่จะใช้วิธีการควบคุมประชากรปลวกแทนโดยควบคุมไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะว่าต้องการที่จะเลี้ยงปลวกไว้ให้กินพวกเศษไม้เศษต่าง ๆ ในสวนของตนเอง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้กับเจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือคุณจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846 (ผู้เขียน)

เขียนโดย : คุณจตุโชค จันทรภูมี
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

ต้องเปิดดอกมะนาวเดือนไหน จึงจะได้มะนาวไปขายหน้าแล้ง

27 พ.ค.

หลายคนอาจจะยังสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับวิธีการทำให้มะนาวนั้นออกดอกในช่วงเดือนไหนจึงจะได้ผลผลิตออกขายในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่มีราคาแพง ซึ่งปีนี้ 2557 เป็นที่ทราบกันดีว่ามะนาวที่อำเภอเบตงพุ่งสูงขึ้นถึงลูกละ 16บาท ความจริงในปีก่อนๆก็มีราคาแพงเช่นกัน แต่เนื่องด้วยมีมะนาวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาแทรกแซงแย่งส่วนแบ่งตลาดจึง ทำให้มะนาวในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนมีราคาถึงลูกละสิบกว่าบาท

จะอย่างไรก็ตามมะนาวในช่วงหน้าแล้งก็ยังคงแพงขึ้นอยู่ตลอดเวลา แสดงให้เห็นว่าอุปสงค์อุปทานไม่สอดคล้องสัมพันธ์กัน ซัพพลายหรืออุปทานความต้องการขายมีน้อยกว่าดีมานด์หรืออุปสงค์ก็คือความต้อง การซื้อนั่นเองจึงทำให้มะนาวมีราคาสูง เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่าถึงแม้จะมีการฝึกอบรมส่งเสริมเผยแพร่จากหลายๆ สำนัก แต่การทำมะนาวให้ออกในช่วงที่มีราคาแพงก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายเสียทีเดียว (จริงไหมครับ?!?)

การที่จะทำให้มะนาวเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนนั้นมะนาวจะต้องเริ่มเกิดดอกในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนนะครับ แต่ใครจะรู้บ้างว่ากว่ามะนาวจะเกิดดอกได้นั้นจะต้องมีการดูแลบำรุงรักษาบำรุงต้นให้พร้อมต่อการออกดอกมาก่อนตั้งแต่เดือน มิถุนายน กรกฎาคมและสิงหาคม ซึ่งการบำรุงดูแลรักษาสภาพต้นมะนาวนี้ก็จะต้องว่างเว้นจากดอกและผลของมะนาวตามช่วงฤดูกาลปรกตินั้นๆด้วย

มะนาวนั้นจะเกิดดอกในรอบแรกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตรอบแรกในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และจะเกิดดอกช่วงรอบที่สองในช่วงสิงหาคม-กันยายนและไปเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม ในช่วงเดือนธันวาคมก็จะมีดอกชุดสุดท้ายที่ติดพันมาออกผลให้เก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤษภาคมหรือช่วงต้นฤดูฝนหรือตามฤดูกาลปรกติ ซึ่งมะนาวในช่วงฤดูฝนนั้นจะมีราคาถูกมาก เพราะมะนาวเกือบทั่วประเทศจะผ่านแล้งมีการสะสมอาหารเมื่อมากระทบฝนแตกใบอ่อนเกิดดอกจึงมีผลผลิตมะนาวออกมาทั่วทั้งประเทศ

ดังนั้นเซียนมะนาวส่วนใหญ่จึงต้องการให้มะนาวให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ในเดือนมีนาคม-เมษายนนั่นเอง และนับถอยหลังกลับไปอีก 6 เดือน ก็คือช่วงที่มะนาวเกิดดอกแล้วนั่นเอง แต่มะนาวใช่ว่าจะอยู่ดีๆแล้วจะเกิดดอกได้เองทันทีจะต้องผ่านการบำรุงดูแลจน สมบูรณ์และสะสมอาหารด้วยสูตร 1-1-4 (น้ำ = 20 ลิตร, 46-0-0 = 10 กรัม, 15-0-0 = 10 กรัม, 0-52-34 = 10 กรัม และ 0-0-50 = 40 กรัม,ฮอร์โมนไข่ =. 10ซี.ซี.) ในเดือนกันยายนทุก 7 วัน พอใบเริ่มแก่สะสมอาหารยอดอั้นก็จะเปิดหรือกระตุ้นตาดอกให้ออกในเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายนนั่นเอง สรุปก็คือสะสมอาหารในเดือนกันยายนและเปิดดอกในเดือนตุลาคมจึงจะได้เก็บผลผลิตมะนาวไปขายในหน้าแล้งได้สมใจ อ้ออย่าเพิ่งดีใจไปนะครับ เพราะความยากก็อยู่ในห้วงช่วงสองสามเดือนนี่แหละครับ เอาไว้คราวหน้าผมจะมาทบทวนให้ฟังกันตามโอกาสจะเอื้ออำนวย

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

น้ำเค็ม กรรมซ้ำกรรมซ้อน ซ้ำเติมชาวนาภาคกลาง

27 พ.ค.

เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้น้ำทะเลหนุนสูงขึ้น ส่งผลให้พื้นที่เกษตรแถบริมแม่น้ำ คลองซอยต่างๆในพื้นที่นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ มีน้ำเค็มบุกรุกเข้าแทนที่น้ำจืด ทำให้นาข้าวเกษตรกรเสียหาย บ้างก็ยืนต้นตาย บ้างก็ลีบไม่สม่ำเสมอ สุกไม่พร้อมกัน เกษตรกรท่านหนึ่งกล่าวว่าตนเองทำนามาเกือบ 10 ปี ยังไม่เคยพบเจอมาก่อน นิ่งๆต้นข้าวใบไหม้แล้วยืนต้นตาย ต้นไหนที่รอดมีรวงโผล่ เมล็ดก็จะลีบไม่สม่ำเสมอ แรกๆก็ไม่คิดว่าเป็นเพราะน้ำที่เค็มขึ้นหรอก ยังเข้าใจว่าเป็นที่อากาศหนาวนานไปหน่อย แต่พอสำรวจดูแปลงอื่นรอบๆที่ห่างออกไป ไม่เป็นไร…ยิ่งแน่ใจเลยว่าไม่ใช่อากาศหนาว เพราะต้นข้าวที่ตายและรวงลีบส่วนใหญ่อยู่ในแปลงที่ใกล้แม่น้ำหรือติดคลองซอยใกล้แม่น้ำเท่านั้น

ปีก่อนๆต้นข้าวในนาก็โตปกติไม่มีปัญหาอะไร อาจเป็นเพราะว่าน้ำในคลองที่เชื่อมต่อแม่น้ำเจ้าพระยายังปกติ ไม่เค็มเหมือนปีนี้ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากอากาศที่ร้อนและแล้งยาวนานทำให้น้ำจืดในแม่น้ำลดลงอย่างรวดเร็ว ที่น่าสังเกตปลาในคลองใกล้แม่น้ำมักลอยหัวเหมือนว่าในน้ำไม่มีออกซิเจนอยู่เลยยังไงยังงั้น เลยให้เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลมาดู จนได้รับคำยืนยันว่า…ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงนานทำให้น้ำจืดในธรรมชาติลดลง เมื่อน้ำทะเลหนุนสูงจะทะลักเข้ามาผสมทำให้ในน้ำคลองซอยหรือแปลงนาเค็มขึ้น เมื่อน้ำเค็มมากๆเข้า ทำให้ดินเค็ม ต้นข้าวเริ่มใบไหม้ จากนั้นก็ค่อยๆยืนต้นตายในที่สุด

สร้างสมดุลธรรมชาติรักษาระดับน้ำจืดในแม่น้ำ ปลูกพืชหมุนเวียนระหว่างใช้น้ำน้อย-ใช้น้ำมาก ไล่ความเค็มออกจากดินโดยการล้างหรือขังน้ำ อาจจะเป็นวิธีที่ดีแต่ปฏิบัติยากเพราะน้ำมีจำกัด การปรับสภาพดินโดยใช้ปูนมาร์ลหว่านตรงจุดที่พบว่าหน้าดินเค็มแต่ดินชั้นล่างยังเป็นกรดอยู่ ส่วนพื้นที่ใดหน้าดินก็เค็มดินชั้นล่างก็เป็นด่างให้หว่านยิปซั่มแทนจะให้ผลที่ดีกว่า เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยประหยัดน้ำ เห็นผลเร็ว ต้นทุนต่ำ ที่สำคัญไม่เสียเวลา ไม่ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ หากวิธีข้างต้นยังยุ่งยากเพราะไม่รู้ว่า “เค็ม-กรด, เค็ม-ด่าง” เป็นอย่างไร? อย่างนี้แล้วกัน…เมื่อไรน้ำในนาเริ่มกร่อยและใบข้าวเริ่มไหม้ให้เกษตรกรหว่านภูไมท์ซัลเฟต(สีแดง)สามารถลดปัญหาข้าวใบไหม้ยืนต้นตายจากน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (02-9861680-2) หรือผู้เขียน (081-6929660)

เขียนโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com

เกษตร น้ำใส

23 พ.ค.

ฉบับที่แล้วผู้เขียนได้กล่าวถึงความสำคัญของดิน ปรับปรุงดินโดยอาศัยค่า pH ของดิน ตรวจเช็คกรดด่างของดินก่อนทำการปรับสภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมธาตุอาหาร จะช่วยลดปริมาณปุ๋ยที่ต้องใส่หรือฉีดพ่นลงไป นอกจากดินไม่เสียแล้ว พืชยังได้รับธาตุอาหารในอัตราที่พอเหมาะพอควร ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป เจริญเติบโตตามอายุไม่แคระแกร็น ให้ผลผลิตดีต้นไม่โทรม ให้ผลผลิตตลอดไม่ต้องหยุดพักฟื้นฟูต้นบ่อยๆ

น้ำที่ใช้ราดรดหรือฉีดพ่นปุ๋ย ยา ฮอร์โมนไม่ควรเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป เพราะจริงๆแล้วน้ำที่เหมาะสมต่อการผสมฉีดพ่นควรเป็นกรดอ่อนๆ pH อยู่ประมาณ 6.5-7 ไม่ควรน้อยหรือมากกว่านี้ เนื่องจาก pH ของน้ำจะไปหักล้างฤทธิ์ยาจนขาดประสิทธิภาพ ซึ่งปกติน้ำธรรมชาติมีทั้งกรดและด่างปะปนกันอยู่แล้วแต่พื้นที่ หากเลี่ยงไม่ได้ต้องใช้น้ำจากแหล่งนั้นๆราดรดหรือฉีดพ่นยาฮอร์โมน ก็ควรปรับสภาพน้ำก่อนที่จะผสมทุกครั้ง จะปรับสภาพน้ำให้ดีให้คุ้มค่าก็ควรเลิกสิ่งดีๆที่มีประโยชน์อย่าง “ซิลิซิค แอซิค” นอกจากปรับสภาพน้ำได้แล้ว “ซิลิซิค แอซิค” ยังมีซิลิก้าคอยเพิ่มความแข็งให้ต้นพืช ช่วยลดปัญหาแมลงกัดทำลายได้อีกทางหนึ่ง

ความต้องการน้ำไม่ได้มีแค่พืชเท่านั้น สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก มนุษย์ก็ต้องการน้ำเหมือนๆกัน น้ำที่ดีไม่มีสารพิษปนเปื้อนในธรรมชาติเริ่มน้อยลง อุตสาหกรรมเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นบวกกับความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ ปล่อยทิ้งสิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำลำคลอง จนเกิดการหมักหมมเน่าเหม็น น้ำเสียสิ่งมีชีวิตในน้ำอยู่ไม่ได้ ระบบนิเวศถูกทำลาย กาลจะฟื้นฟูกลับมาเหมือนเก่าอาจต้องใช้เวลานาน ยังไม่สายหากช่วยกันหยุดทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลองไม่ว่าเมืองหรือแหล่งต้นน้ำ พื้นที่ใดหนักขยะหมักหมมนานจนเกิดแก๊สไข่เน่าเหม็นคละคลุ้ง ให้ใช้สเม็คโตไทต์หว่านจับแก๊สก่อนขุดรื้อลอก ทำบ่อยๆไม่นานลำน้ำก็ใสสะอาด ปราศจากสารพิษตกค้างสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ผู้เขียน (081-6929660)

เขียนโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com

สถานการณ์ตลาดสัตว์ปีกของไทยในภาวะการเมืองล้มเหลว

22 พ.ค.

จากการที่ประเทศไทยเราต้องการที่จะเป็นผู้นำด้านปศุสัตว์ในอาเซียน เนื่องด้วยความสามารถทางด้านการส่งออกเกี่ยวกับปศุสัตว์นั้นสร้างรายได้ให้แก่ประเทศของเราสูงถึงปีละ 200,000 ล้านบาท มีศักยภาพในการผลิตสุกรปีละ 16 ล้านตัน กุ้งปีละ 300,000 ตัน, ไก่ 20 ล้านตัว, สุนัข 7ล้านตัว, แมว 1 ล้านตัว โดยเฉพาะไก่และกุ้งนั้นต้องถือว่าเป็นพระเอกหรือเป็นผู้นำที่โดดเด่นอยู่ตลอดเวลาในเรื่องของการส่งออก

อย่างไรก็ตามการที่จะเป็นผู้นำอาเซียนได้นั้น จะต้องเน้นที่ภาคส่วนระดับปฏิบัติงานให้มีรูปแบบการทำงานที่มีคุณภาพและเน้นพันธุ์สัตว์ที่มีศักยภาพควบคู่ไปด้วย ไม่เว้นแต่เบื้องหลังการทำให้สัตว์เจริญเติบโตอย่างอาหารสัตว์ที่ใช้ภายในประเทศหรือการส่งออกจะต้องเน้นวัตถุดิบที่นำมาผลิตจะต้องปลอดภัยไร้สารพิษ ต้นทุนต่ำมีราคาไม่สูงหรือขูดรีดเกษตรกรผู้เลี้ยงมากจนเกินไป

โดยเราลองไปดูวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์กันดู นั่นก็คือถั่วเหลือง ซึ่งปัจจุบันนั้นผู้ผลิตรายใหญ่ในกลุ่มอาเซียนของเราก็คือประเทศกัมพูชา ถือว่าเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในเรื่องของการส่งออกถั่วเหลืองอยู่ในขณะนี้ เนื่องด้วยรัฐบาลของกัมพูชามีการรณรงค์ให้เกษตรกรผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งพื้นที่ที่ปลูกกันมากอยู่ในพื้นที่แขวงกำปงจาม พระตะบองและกำปงธม การผลิตส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมแบบชาวบ้าน ใช้บริโภคกันเองภายในประเทศเพียง 20% และส่งออกสูงถึง 80% ซึ่งผู้ซื้อก็ใช่ใครที่ไหนอื่นไกลเป็นประเทศไทยและเวียดนามนี่เอง โดยเกรดพรีเมี่ยมชั่นหนึ่งจะสางไปเวียดนามเสียเป็นส่วนใหญ่ในราคา 600-800 เหรียญสหรัฐต่อตันหรือประมาณ 18,000 -24,000 บาทต่อตัน ส่วนเกรดรองลงมาส่วนใหญ่จะถูกนำเข้ามาในไทยซึ่งนำไปใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ในราคาตันละ 550 เหรียญสหรัฐ 16,500 บาท ที่นำราคามาแจ้งให้ประชาชนคนทั่วไปได้ทราบก็เพื่อที่จะได้พิจารณาว่าอาหารสัตว์ยี่ห้อใดมีราคาที่สูงเกินไปจะได้เลือกซื้อกันได้ตามความพึงพอใจ

เศรษฐกิจและการเมืองทำให้เสฐียรภาพของรัฐบาลในการบริหารประเทศทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลทำให้ราคาพืชไร่ไม้ผลหลากหลายชนิดตกต่ำลง ดังนั้นสิ่งที่อยากให้พี่น้องเกษตรกรควรจะเฝ้าสังเกตและศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นอาชีพเสริมแต่อย่าหักโหมเลี้ยงกันจนล้นตลาดเดี๋ยวจะทำให้เจ๊งกันอีกแบบเดียวกับหลายๆครั้งที่ผ่านมา สถานการณ์ด้านตลาดของไก่ในช่วงนี้ถือว่าสดใสเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ญี่ปุ่นยกเลิกการแบนนำเข้าไก่สดจากประเทศไทยตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว อีกทั้งการกระตุ้นตลาดของกรมการค้าต่างประเทศที่จับมือกับกรมปศุสัตว์ไปจีบเกาหลีใต้ ฮ่องกง และล่าสุดฟิลิปปินส์ ตลาดหลักอย่างยุโรปก็มีแนวโน้มว่าจะสั่งซื้อไก่จากประเทศเรามากขึ้น

ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าส่งออกไก่ทั่วโลก ในห้วงช่วงหนึ่งถึงสามปีข้างหน้าอยู่ที่ 500,000 ตัน โดยมี ไก่สด 300,000 ตัน, ไก่แปรรูป 200,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 7-8 หมื่นล้านบาทในอดีตไทยเราเคยส่งไก่สดไปญี่ปุ่นกว่า 200,000 ตัน แต่เกิดวิกฤติไข้หวัดนก จึงหันไปนำเข้าจากบราซิลแทน ประเทศไทยเรานั้นถือเป็นผู้ส่งออกไก่เนื้อเป็นอันดับ 4 ของโลก ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2552-2556) รองจากบราซิล, สหรัฐอเมริกา, และสหภาพยุโรป และแนวโน้มการส่งเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทยเพิ่มมากขึ้น เฉลี่ยราว 9% ต่อปี จากข้อมูลดังกล่าวนี้น่าจะพอเป็นแนวทางให้เกษตรกรที่สนใจและมีพื้นฐานการเลี้ยงสัตว์ที่ดีนำไปใช้ในการนำไปประกอบการตัดสินใจในการหาอาชีพเสริมทดแทนรายได้หลักที่หดหายไปได้ไม่มากก็น้อยนะครับ

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

หนอนห่อใบข้าว แมลงศัตรูข้าวที่ควรระวังในฤดูฝน

21 พ.ค.

ปัญหาการทำนาของพี่น้องเกษตรกรชาวนาทั้งหลายในปัจจุบันนี้ นับได้ว่ามีมากมาย สาหัสสากัณทีเดียว ไหนจะปัญหาเรื่องราคาข้าวตกต่ำ เรื่องต้นทุนค่าแรงงานค่าปุ๋ยยา ค่าครองชีพที่สูงขึ้นสวนทางกับราคาข้าวที่ต่ำลง และไหนจะต้องเจอกับปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติ(น้ำท่วม) ที่มีในฤดูฝนและก็ยังปัญหาเรื่องโรคแมลงที่ต้องเจอในทุกคราวของการทำนาอีกด้วย ยิ่งการทำนาในช่วงฤดู จะพบการระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าวมากกว่าฤดูอื่น เพราะช่วงฤดูฝนการเจริญเติบโตของแมลงศัตรูข้าวจะเจริญเติบโตดี ปัญหาเรื่องแมลงศัตรูข้าวที่จะต้องเจอแน่ๆก็คือ หนอนห่อใบข้าวหรือหนอนกินใบข้าวหรือที่ชาวนาเรียกกันจนติดปากว่าหนอนใบขาว(เรียกตามลักษณะอาการของข้าวที่ถูกทำลาย) ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้เขียนจะนำเสนอในวันนี้

ลักษณะของหนอนใบขาว หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ๆจะมีสีขาวใส หัวมีสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม โดยลักษณะการสั่งเกตุว่ามีหนอนระบาดให้สั่งเกตุที่ใบข้าวถ้ามีแถบยาวสีขาวใบข้าวขาดเหมือนโดนตัดด้วยมีดหรือกรรไกรแสดงว่าเริ่มมีการระบาดแล้ว ซึ่งการแก้ปัญหาของเกษตรกรส่วนใหญ่ก็จะซื้อยาเคมีที่ใช้กำจัดหนอนมาฉีดพ่นกัน ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องนักเหมือนเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่าเพราะอย่าลืมไปว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดหนอนใบขาวระบาดก็คือตัวผีเสื้อกลางคืน(หรือที่ชาวนาเรียกกันว่าตัวชีประขาว)ที่มาวางไข่ไว้

ถึงแม้เกษตรกรจะฉีดพ่นยาฆ่าแมลงเพื่อฆ่าหนอนไปบ่อยแค่ไหนถ้ามีผีเสื้อกลางคืนมาบินหรือมาอาศัยเข้ามาวางไข่อยู่ในนายังไงหนอนก็ยังมีการระบาดอยู่เรื่อยๆ ทางที่ดีเกษตรกรควรจะแก้ปัญหาทั้งตัวผีเสื้อกลางคืนและตัวหนอนใบขาวไปพร้อมๆกัน วิธีการแก้ปัญหาแบบชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะให้ใช้สารสกัดสมุนไพรขับไล่แมลงเช่น ไทเกอร์เฮิร์บ หรือสารสกัดสะเดา(มาร์โก้ซีด)เป็นตัวไล่แม่ผีเสื้อโดยฉีดร่วมกับตัวกำจัดหนอนอย่างจุลินทรีย์ทริปโตฝาจหรืออาจจะบวกจุลินทรีย์ปราบหนอนอย่างบีทีชีวภาพไปด้วยก็ได้ หลักการทำงานของสารสกัดสมุนไพรจะค่อยส่งกลิ่นเหม็นขับไล่แม่ผีเสื้อไห้ออกไปจากแปลงนาและป้องกันแม่ผีเสื้อเข้ามาใหม่แถมยังไปเคลือบใบข้าวทำให้ไปเปลี่ยน รูป รส กลิ่น ของข้าว ทำให้หนอนกินไม่อร่อย กินและมีรสขม

ช่วยลดการเข้าทำลายต้นข้าวของหนอนได้ ส่วนจุลินทรีย์ทริปโตฝาจกับบีที จะทำให้หนอนที่อยู่ในแปลงนาค่อยๆป่วยและค่อยๆตายหมดไปในที่สุด หรือถ้าเกษตรกรท่านใดมีสมุนไพรในพื้นที่บริเวณบ้านเช่นฝักคูน บอระเพ็ด เมล็ดสะเดาเป็นต้น ก็สามารถนำมาหมักแล้วก็ใช้ร่วมได้ วิธีนี้เป็นวิธีป้องกันและกำจัดหนอนใบขาวที่ได้ผลค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ ที่เห็นได้ชัดคือตัวหนอน ไม่ดื่อยาเหมือนการใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียว ท่านสมาชิกทั้งหลายที่กำลังประสบปัญหาเรื่องหนอนใบขาวอยู่ในเวลานี้ก็ลองนำเทคนิควิธีนี้ไปใช้ดูนะครับสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.085-9205846 (ผู้เขียน) หรือสอบถามไปที่เจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2

คุณจตุโชค จันทรภูมี