Archive | มีนาคม, 2015

แมลงหวี่ในโรงเห็ดป้องกันได้…ไม่ยากอย่างที่คิด

27 มี.ค.

เป็นที่ทราบกันดีในวงการเพาะเห็ด ไม่ว่าจะเป็นเห็ดฟาง เห็ดนางรม-นางฟ้า เห็ดขอนฯลฯ เรื่องของโรคแมลงศัตรูเห็ดที่ระบาดมีอยู่ให้เห็นอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นไรศัตรูเห็ด แมลงหวี่ หนอนแมลงหวี่ เชื้อราหรือแม้แต่ราเห็ด(เห็ดที่ไม่พึงประสงค์) ล้วนแต่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตเห็ดลดลง หรือหากระบาดหนักก็ไม่ได้ผลผลิตเลยก็มี ส่งผลให้ต้องขาดทุน บางท่านถึงกับเข็ดขยาดกับการเพาะเห็ดไปเลยก็มี “แมลงหวี่”ก็เป็นศัตรูตัวสำคัญอีกตัวหนึ่งสำหรับการเพาะเห็ด ซึ่งจะเกิดจากกลิ่นอับภายในโรงเรือน ของก้อนเชื้อเห็ด รวมถึงกลิ่นหมักหมมของเศษวัสดุต่างๆ ทั้งเนื้อเยื่อเห็ดหลังจากใช้ช้อนเขี่ยทำความสะอาดหน้าก้อน ซึ่งบางท่านก็ทิ้งไว้บนพื้นโรงเรือน ทำให้เน่าบูด ล้วนส่งกลิ่นทำให้ดึงดูดแมลงหวี่จากภายนอกเข้ามาภายในโรงเรือนทั้งสิ้น
การระบาดของแมลงหวี่เป็นต้นเหตุสำคัญของหนอนที่ชอนไชอยู่ในก้อน เนื่องจากหนอนดังกล่าวเกิดจากแมลงหวี่ที่วางไข่ไว้หน้าก้อนแล้วกลายเป็นหนอน ชอนไช กินเส้นใยเห็ดทำให้เสียหาย อีกทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หน้าก้อนเห็ดติดเชื้อราได้ง่าย ส่งผลทำให้ก้อนเชื้อเห็ดชะงักการเจริญเติบโต ไม่ออกดอก มือใหม่ป้ายแดงไม่รู้วิธีแก้ทิ้งก้อนหมดก็มี วันนี้ชมรมฯมีทางออกให้ท่านครับ…. ไม่ต้องทิ้งก้อนให้เสียสตางค์ฟรีๆ ผู้เพาะเห็ดทุกท่านสามารถทำได้ด้วยตัวท่านเอง…เพราะว่าไม่ยาก….. 1) รักษาความสะอาดภายในโรงเรือน ไม่ทิ้งดอกเห็ด หรือเนื้อเยื่อหลังจากแคะทำความสะอาดหน้าก้อนไว้ที่พื้นโรงเรือน ควรเก็บให้แล้วนำไปทิ้งให้ห่างจากโรงเรือน 2) ใช้ภาชนะพลาสติกสีเหลือง ทากาวเหนียวดักแมลง แขวนทั้งภายในและภายนอกโรงเรือนให้ทั่ว ควรติดให้แขวนให้สูงเพื่อไม่ให้เกะกะในการทำงาน แขวนยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดี วิธีการนี้จะทำให้แมลงหวี่ที่บินเข้าภายทั้งภายในและภายนอกเข้าไปติดกับดักที่เราทำไว้ ก็เป็นการลดประชากรของแมลงหวี่ลงไปได้ระดับหนึ่ง 3) ผนังโรงเรือนทั้งภายในและภายนอกควรฉีดพ่นด้วยไทเกอร์เฮิร์บ อัตรา 20-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน กลิ่นฉุนของไทเกอร์เฮิร์บจะทำให้แมลงหวี่ไม่กล้าเข้าไปวางไข่ภายในโรงเรือน และไม่กล้าเข้าใกล้โรงเรือน ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยลดการระบาดของไรศัตรูเห็ดได้ด้วย 4) หว่านซีโอฟาร์มผงลงบนพื้นโรงเรือนที่ชื้นแฉะ เพื่อดูดกลิ่นอับที่เกิดจากการบูดเน่าเศษดอกเห็ดที่ร่วงหล่น หรือกลิ่นอับดอกเห็ด ก้อนเห็ด หรือกลิ่นเน่าเหม็นที่ไม่พึงประสงค์อีกสาเหตุหนึ่งของการระบาดของแมลงหวี่สำหรับผู้ที่พบแมลงหวี่อยู่ในโรงเรือนเพาะเห็ดแล้วก็ให้นำวิธีตั้งแต่ข้อที่ 1 จนถึงข้อสุดท้ายไปฏิบัติกันได้เลยครับ แต่หากพบว่ามีหนอนแมลงหวี่เข้าไปชอนไชอยู่ในก้อนเชื้อเห็ดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการหมักเชื้อบีทีชีวภาพด้วยสูตรต่างๆที่ชมรมฯแนะนำ (แล้วแต่สะดวก) เมื่อหมักครบ 24 ชั่วโมงผสมน้ำ 20 ลิตร แล้วใช้สลิ้งดึงน้ำหมักบีทีชีวภาพฉีดอัดเข้าไปในก้อนที่หนอนแมลงหวี่ระบาด เท่านี้ก็กำจัดหนอนแมลงหวี่ก่อนที่จะโตเต็มวัยกลายไปเป็นแมลงหวี่เข้ามาวางไข่ในก้อนเชื้อเห็ดได้อยู่หมัด
ในทางกลับกันก้อนที่ไข่ของแมลงหวี่จะกลายเป็นหนอน บางก้อนอาจจะมีปัญหาเรื่องเชื้อราซึ่งตัวพาหะก็คือแมลงหวี่ สปอร์ของเชื้อราอาจจะติดขาติดตัวแมลงหวี่มา แล้วมาเกิดที่หน้าก้อนเชื้อเห็ดของเรา ก็ให้หมักบาซิลลัส-พลายแก้ว หมักให้ครบ 24 ชั่วโมง ผสมน้ำสเปรย์บางๆ ผ่านหน้าก้อน แต่หากเป็นในก้อนก็ให้ใช้สลิงฉีดอัดเข้าไปบริเวณที่เกิดเชื้อรานั้นๆ หากจะถามผู้เพาะเห็ดรายเก่าหรือผู้ที่มีความชำนาญแล้ว“ปรมาจารย์เห็ด” ก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “หากจะทำฟาร์มเพาะเห็ดให้ประสบความสำเร็จนั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงก็คือความสะอาดทั้งภายในและภายนอกโรงเรือน ฟาร์มนั้นๆ จะต้องมีการจัดการฟาร์มเห็ดที่ดี” ซึ่งหากผู้เพาะเห็ดทำได้ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จในการทำฟาร์มเพาะเห็ด

เขียนโดย: ทีมงานนักวิชาการชมรมฯ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com

รับมือ…อากาศร้อนช่วงเดือนเมษา กับอาการเห็ดไม่ออกดอก

26 มี.ค.

ย่างเข้าเดือนเมษาทีไรผู้เพาะเห็ดมีต้องบ่นทุกรายว่า…เห็ดไม่ออก ออกดอกน้อย ผลผลิตลด ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นๆจนทำให้เส้นใยเห็ดน็อกไม่ยอมออกดอก หรือออกก็จะหงิก บิดๆเบี้ยวๆดูไม่สวย ยิ่งเป็นนางฟ้า ภูฐาน ฮังการี ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะเห็ดตระกูลนี้ไม่ชอบอุณหภูมิสูง ยิ่งร้อนยิ่งไม่ออกดอก ไม่เจริญเติบโต เส้นใยจะหยุดนิ่งไม่ยอมเดิน อากาศที่ร้อนเพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้ความชื้นในโรงเรือนหายไปได้เช่นกัน เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฐานเป็นเห็ดที่นิยมที่เพาะกันทุกภาค ไม่ว่าเหนือ กลาง ตก ออก อีสาน ใต้ แล้วก็เจอปัญหาเรื่องอุณหภูมิในโรงเรือนมากที่สุด เพราะว่าเห็ดชนิดนี้ชอบอากาศเย็นสบาย ชิวๆประมาณ 26-30 องศาเซลเซียส แต่หน้าร้อนเมืองไทยทุกวันนี้เล่นเอาเสียจนตับแลบ ปาเข้าไปเกือบๆ 40 องศาเซลเซียสหรือบางวันก็มากกว่า ซึ่งส่วนหนึ่งส่งผลให้เห็ดไม่ออกดอกหรือออกก็ออกน้อย ผลผลิตตกฮวบเมื่อเทียบกับช่วงหน้าฝนหรือหน้าหนาว หายไปชนิดที่ว่าครึ่งต่อครึ่ง สูญเสียรายได้อย่างเห็นได้ชัด ยิ่งรายใดซื้อก้อนมาเปิดดอกก็ยิ่งขาดทุนซ้ำเข้าไปอีก
ผู้ที่เพาะเห็ดเป็นอาชีพจะทราบดีว่าช่วงหน้าร้อนเห็ดจำพวกนางฟ้า ภูฐาน ฮังการีจะให้ผลผลิตน้อย ซึ่งจะไม่ค่อยทำกัน และจะเว้นช่วงเว้นวรรคถือโอกาสพักโรงเรือน แล้วไปเริ่มกันอีกทีช่วงต้นฝนที่อากาศเริ่มเย็นลง หรือถ้าทำก็ทำน้อยลง เนื่องจากง่ายต่อการดูแลควบคุมอุณหภูมิ สำหรับผู้เพาะเห็ดรายใหม่ก่อนจะลงมือเพาะควรศึกษาข้อมูลเสียก่อนว่าควรหรือไม่ควรเพาะช่วงไหน…เพาะแล้วดีมั้ย…เหมาะสมมั้ย หน้าร้อนอากาศอบอ้าวเห็ดขอนชอบ…เราควรเพาะเห็ดขอนดีกว่ามั้ย เมื่อหนาวมา…ฝนมา…อากาศชื้นเย็นสบายแล้วเราจึงค่อยมาเพาะเห็ดนางฟ้า ภูฐานหรือฮังการีต่อ ส่วนเรื่องผลผลิต…ยิ่งน้อยยิ่งมีราคา..ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา กิโลละร้อยบาทก็เคยมี ยิ่งราคาสูงยิ่งทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสทำกำไรมากขึ้น
แต่ถ้าจะให้เห็ดออกดอกได้ดีช่วงหน้าร้อนผู้เพาะก็ต้องควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนให้ได้ ให้อยู่ที่ 26–30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจต้องให้น้ำถี่กว่าปกติจากวันละ 2ครั้ง(เช้า-เย็น) เป็นวันละ4-5 ครั้งหรือทุกๆ 4ชั่วโมง แต่ละครั้งไม่ต้องให้เยอะ แค่ฉีดพ่นสเปรย์ผ่านหน้าก้อนก็พอ กลางคืนควรฉีดพ่นสเปรย์น้ำอีกซักรอบ หน้าร้อนกลางคืนอากาศจะร้อนกว่าปกติ บวกกับดึงผ้าใบหรือชายสาแลนขึ้นเล็กน้อยเพื่อระบายอากาศภายในไม่ให้ร้อนเกินไป ระหว่างนี้ก็ให้ฉีดพ่นแร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ดร่วมกับอาหารเสริมเห็ดดีพร้อม ทุกๆ 4 วัน/ครั้ง ช่วยกระตุ้นออกดอกอีทางหนึ่ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2
เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
วันที่ 26 มีนาคม 2558 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

สูตรการทำก้อนเห็ดก้อนเห็ดนางรม-ฮังการี โดยการใช้หินแร่ภูเขาไฟ

25 มี.ค.

ช่วงนี้ได้รับโทรศัพท์จากเกษตรกรผู้เพาะเห็ดถี่มากเกี่ยวกับปัญหาเรื่องเห็ดไม่ค่อยออกดอกโดยเฉพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน ซึ่งเป็นเห็ดที่ชอบอุณหภูมิ 25-30 องศา แต่ในช่วงนี้อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยเรากลางวันอุณหภูมิเกือบ 40 องศา กลางคืน 30 องศา ทำให้เห็ดไม่ค่อยออกดอก วิธีการแก้ปัญหาก็ให้รดน้ำบ่อยๆ รดน้ำให้ถี่ขึ้น จากวันละ 3 ครั้ง เป็นวันละ 5-6 ครั้ง เพิ่มเวลากลางคืนด้วยอีกซักรอบก็ดี แต่ทางที่ดีในช่วงฤดูร้อนเราควรจะเว้นการทำเห็ดนางฟ้าภูฐานไปบ้าง หันมาทำเห็ดที่ให้ผลผลิตดี เช่นเห็ดนางรม-ฮังการี ซึ่งเป็นเห็ดที่ชอบอุณหภูมิที่สูงกว่าเห็ดนางฟ้าภูฐาน แต่ราคาขายไม่ได้ต่างกันเลย ราคาขายส่งตลาด ณ ตอนนี้อยู่ที่กิโลกรัมละ 70 (ราคาพอๆกับเห็ดนางฟ้าภูฐาน)
วันนี้ทางผู้เขียนขอนำเสนอสูตรและวิธีการทำก้อนเห็ดนางรม-ฮังการี ของเกษตรกรตัวอย่างที่จังหวัดน่าน ที่ช่วงนี้สวนกระแสกับผู้เพาะเห็ดหลายๆท่านที่เห็ดไม่ออกดอก แต่ของเกษตรกรตัวอย่างเราท่านนี้มีดอกเห็ดเก็บมาให้เก็บทุกวันๆละ 80 กิโลกรัมเลยทีเดียว เห็ดที่เปิดดอกอยู่ในขณะนี้เป็นเห็ดนางรม-ฮังการี เปิดดอกอยู่ 4,000 ก้อน เก็บดอกเห็ดได้วันละ 80 กิโลกรัมทุกวันติดต่อกันมา 2 เดือนแล้ว เรามารู้จักเกษตรกรตัวอย่างของเรากันดีกว่า และมาเรียนรู้วิธีการและสูตรการทำก้อนของเกษตรผู้เพาะเห็ดท่านนี้กัน
คุณมาโนท แก้วหนู เจ้าของชนิกานต์ฟาร์มเห็ด อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ทำฟาร์มเห็ดมาแล้ว 4 ปี ส่วนใหญ่จะเน้นทำก้อนเปิดดอกขายส่งตลาดเป็นหลักและก็ทำก้อนเห็ดขายด้วยตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง เห็ดที่เปิดดอกอยู่ก็มีหลายชนิดแต่ที่เน้นมากจะเป็นเห็ดนางฟ้าภูฐานกับเห็ดนางรม-ฮังการี แรกเริ่มเดิมที่เห็ดที่ฟาร์มของคุณมาโนท ก็ให้ผลผลิตไม่ค่อยดีแถมยังเจอปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวน คุณมาโนทเลยหาข้อมูลเกี่ยวกับสูตรการทำก้อนเห็ดและวิธีดูแลรักษาเห็ดในอินเตอร์เน็ต จนมาเจอกับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ทางเจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลเห็ดและสูตรการทำก้อนเห็ดโดยการใช้หินแร่ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์เข้าไปในสูตรอาหารเห็ด คุณมาโนทเลยนำสูตรการทำก้อนเห็ดของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษไปปรับใช้กับสูตรที่ตัวเองทำอยู่ ลองมาจนปัจจุบันได้สูตรที่ให้ผลผลิตดอกเห็ดนางรมฮังการีก้อนละ 2 ขีดหรือวันละ 80 กิโลกรัม(ทุกวัน) คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะอยากรู้สูตรการทำก้อนเห็ดของฟาร์มคุณมาโนท แก้วหนู กันแล้วใช่มั้ยครับ งั้นมาดูสูตรสูตรการทำก้อนก้อนเห็ดของฟาร์มเห็ดชนิกานณ์กันเลยครับ
สูตรการทำก้อนเห็ดภูฐาน นางรมฮังการี
1. ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม
2. พูมิชซัลเฟอร์ 3 กิโลกรัม
3. แร่ม้อนท์ 3 กิโลกรัม
4. รำละเอียด 6 กิโลกรัม
5. น้ำตาลทราย 1/2 กิโลกรัม
สาเหตุที่ไม่ใช้ตากน้ำตาลแต่กลับใช้น้ำตาลทรายแทนเพราะกากน้ำตาลจะนำเชื้อราดำทำให้ก้อนเห็ดเสียเยอะมาก
สูตรนี้ทางฟาร์มเห็ดคุณมาโนทบอกว่าให้ผลผลิตเห็ดดีมากๆ สามารถเก็บดอกเห็ดได้นานถึง 6 เดือน แค่เก็บสัปดาห์แรกก็ได้ทุนค่อก้อนเห็ดแล้วที่หลือคือก็กำไล(ล้วนๆ) ทางคุณมาโนท แก้วหนู ฝากบอกกับทางผู้เขียนว่า ยินดีที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสูตรการทำก้อนเห็ดและก็เทคนิควิธีดูแลให้เห็ดได้ผลผลิตดีๆ แก่ผู้เพาะเห็ดรายใหม่ๆที่สนใจ
หากผู้เพาะเห็ดรายใหม่ๆท่านใดสนใจอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมก็โทรไปสอบถามกับทางคุณมาโนท แก้วหนู เจ้าของฟาร์มเห็ดชนิกานณ์ ที่เบอร์ 081-3450014 หรือสอบถามมาที่ผู้เขียน นายจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846

เขียนและรายงานโดย
นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)

บทความเกษตร”ไตรโคเดอร์ม่า”จุลินทรีย์ยับยั้งโรครากเน่าโคนเน่ามะนาว

24 มี.ค.

ถ้าพูดถึงโรคของมะนาวแล้วอันดับหนึ่งน่าจะเป็นโรคแคงเกอร์ รองลงมาก็น่าจะเป็นโรครากเน่าโคนเน่า ที่ทำให้มะนาวของท่านแห้งตายได้ บทความตอนนี้ผู้เขียนขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโรครากเน่าโคนเน่าในมะนาว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักพบโรครากเน่าโคนเน่านี้ในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว เพราะฤดูฝนถึงช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง ทำให้ดินมีความชื้นสูงตามไปด้วย แต่ก็ใช่ว่าในฤดูแล้งจะไม่มีโอกาสเป็น ฤดูแล้งก็สามารถเกิดโรครากเน่าโคนเน่าในมะนาวได้เหมือนกัน สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าเกิดจากเชื้อราไฟท้อฟโธร่า (Phytophthora parasitica Dastur ) เชื้อราโรคพืชกลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ในดินปรกติอยู่แล้ว มันรอเวลาที่ต้นพืชหรือต้นมะนาวที่ปลูกอ่อนแอหรือไม่มีภูมิคุ้มกันโรค เชื้อราไฟท้อปโธร่าก็จะเข้าเข้าลาย สังเกตได้จากเวลาพบว่ามะนาวเป็นโรครากเน่าโคนเน่า จะไม่พบการระบาดทั่วทั้งแปลงแต่จะพบเป็นบางต้นและค่อยๆลุกลามไปยังต้นข้างเคียงนั้นแสดงให้เห็นว่า เชื้อราไฟท้อฟโธร่า จะเข้าทำลายต้นที่อ่อนแอมีภูมิคุ้นกันต่อโรคต่ำที่สุด แต่ถ้าดูแลให้ต้นมะนาวแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันที่ดีอยู่ตลอดเวลาแล้ว อัตราการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าก็จะลดลงตามไปด้วย

ลักษณะอาการของเชื้อราไฟท้อฟโธร่า (Phytophthora parasitica Dastur ) จะเข้าทำลายรากฝอย รากแขนง และตามโคนต้นของมะนาว ส่วนใหญ่เกษตรกรที่ปลูกมะนาวจะไม่ทราบเลยว่าต้นมะนาวที่ปลูกเป็นโรครากเน่าโคนเน่าจนกว่าต้นมะนาวจะเริ่มแสดงอาการออกมาให้เห็นทางใบคือ ใบของมะนาวเริ่มมีอาการเหลืองซีดโดยเริ่มที่เส้นกลางใบก่อนแล้วค่อยๆลุกลามไปเรื่อยๆ และใบก็จะเริ่มร่วงไปเรื่อยๆจนหมดต้นในที่สุด จากนั้นกิ่งของมะนาวเริ่มแห้ง และต้นมะนาวก็จะยืนต้นตายในที่สุด โรครากเน่าโคนเน่านี้จะไม่น่ากลัวเลยถ้าเกษตรกรที่ปลูกมะนาวรู้จักป้องกันตั้งแต่มะนาวยังไม่เป็นโรคไม่ใช่ว่าปลอดให้มะนาวแสดงอาการก่อนค่อยรีบมารักษาทีหลังเพราะกว่าที่เราจะรู้ตัวว่ามะนาวเป็นโรครากเน่าโคนเน่าก็อาจรักษาไม่ทันแล้ว

วิธีป้องกันหรือรักษาตามแนวทางของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ จะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าในการป้องกันกำจัด ให้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเป็นเสมือน ร.ป.ภ. หรือ ยามคอยเฝ้ารากของต้นมะนาวไว้ไม่ให้มีเชื้อรา ไฟท้อฟโธร่า (Phytophthora parasitica Dastur ) เข้ามาทำลายต้นมะนาวของเราได้ ส่วนวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า นั้นสามารถใช้คลุกผสมกับปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักในอัตราส่วนเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัม ต่อ ปุ๋ยคอก 50 กิโลกรัม คลุกผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปโรยรอยๆโคนต้นของมะนาว ต้นละ ครึ่งกิโลกรัม ทุกๆ 2 สัปดาห์ หรือ เดือนละ 1 ครั้ง หรือจะใช้วิธีผสมน้ำฉีดพ่นก็ได้โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตรแล้วนำไปฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณต้นมะนาวก็ได้ครับ ทำอย่างนี้ เดือนละ 2 ครั้งเพื่อให้มีเชื้อไตรโคเดอร์ม่าอยู่เป็นยามเฝ้ารากมะนาวไว้แล้วใช้หินแร่ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์โรยรอบๆทรงพุ่มของต้นมะนาวเพื่อให้พูมิชซัลเฟอร์ช่วยสร้างภูมิคุ้นกันโรคพืชของมะนาวกลับมาอีกครั้ง เพียงเท่านี้แล้วรับรองมะนาวที่ท่านปลูกไว้จะปลอดภัยต่อโรครากเน่าโคนเน่าครับ

สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ คุณจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่เบอร์ Call center ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.084-5554205-9

บทความเกษตร”วิธีป้องกันกำจัด เพลี้ยไฟไรแดงในพืชตระกูลพริก แบบปลอดสารพิษ

23 มี.ค.

สวัสดีครับพี่ๆน้องๆชาวเกษตรปลอดสารพิษทุกๆท่านครับ ก็ใกล้เข้าสู่เทศกาลสงกรานต์เต็มทีแล้วเหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือน เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่อากาศร้อนที่สุดของปี ชาวเกษตรหรือเกษตรกรที่มีอาชีพเพาะปลูกพืชจะทราบดีว่า ช่วงฤดูร้อนที่อากาศแห้งแล้ง จะเป็นฤดูที่มีแมลงศัตรูพืชชนิดหนึ่งระบาด นั่นก็คือเพลี้ยไฟ และพืชที่พบการระบาดของเพลี้ยไฟมากที่สุดก็คือพริก วันนี้ผู้เขียนจะนำคำถามที่พบบ่อยมากทีเดียวในช่วงนี้ นั่นก็คือเรื่องเพลี้ยไฟไรแดงที่ทำการระบาดในแปลงปลูกพริกของเกษตรกรหลายๆท่าน ซึ่งการทำลายของเพลี้ยไฟไรแดงนั่นผู้เพาะปลูกพริกก็คงจะทราบกันพอสมควรทีเดียว วันนี้ทางด้านผู้เขียนจะมาเขียนถึงการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟไรแดงและไรขาวให้ทราบกันอีกครั้งเพื่อเป็นความรู้ให้เกษตรกรรายใหม่หรือมือใหม่ที่จะปลูกพริกได้ทราบ คือเพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบพริก โดยเฉพาะส่วนใบอ่อนและตาดอก ทำให้ใบพริกหงิกงอ ย่น ขอบใบห่อขึ้นใบเล็กลง ผิวใบมีจุดสีน้ำตาล ใบเหลืองแข็ง กรอบ ใบอ่อนจะหลุดร่วงได้ง่ายและออกเป็นกระจุก ทำให้ยอดหงิกไม่ผลิดอกออกผล จะระบาดมากในสภาพแห้งแล้ง สาเหตุสำคัญที่ทำให้พริกใบหงิกได้แก่ แมลงศัตรูสองชนิดคือ เพลี้ยไฟและไรแดงและไรขาว ซึ่งอาจเข้าทำลายพร้อม ๆ กันก็ได้หรือสลับกันเข้าทำลาย โดยปกติจะพบว่า ถ้าเพลี้ยไฟระบาดมาก จะมีไรแดงและไรขาวน้อยและถ้าพบไรแดงและไรขาวมากเพลี้ยไฟจะระบาดน้อย

ส่วนแนวทางการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟไรแดงและไรขาวแบบฉบับชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะใช้จุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ทำลายเพลี้ยโดยตรง ร่วมกับ สารสกัดสมุนไพรแพล้นท์เซฟ ฉีดพ่นช่วงเย็นแดดอ่อน โดยถ้ามีการระบาดมากให้ฉีดทุกๆ3วันครั้ง ถ้าไม่ระบาดมากให้ฉีดทุกๆ7วัน จะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกพริกนั้นหมดปัญหาเกี่ยวกับโรคใบหงิกเนื่องจากเพลี้ยไฟไรแดงและไรขาวได้ แต่เนื่องด้วยสมัยนี้มีสารเคมีที่กำจัดเพลี้ยไฟไรแดงและไรขาวนั้นมากมายหลายยี่ห้อให้เกษตรกรผู้ปลูกพริกนั้นฉีดได้ตามสบายแต่เกษตรกรผู้ปลูกนั้นก็จะได้รับสารพิษติดตัวไปด้วยเท่านั้นเอง ส่วนชมรมเกษตรปลอดสารพิษนั้นมุ่งให้เกษตรกรปลอดภัยและได้ผลการใช้ที่ดีและได้ผลเพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกพริกนั้นได้ลดต้นทุนและสุขภาพดีเหมือนเดิม

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่ฝ่ายวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 ได้ทุกวัน

เขียนและรายงานโดย

นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)

ร้อนแรง(อากาศ)เปลี่ยนแปลงบ่อย หนู(เห็ด)ก็ไม่ชอบนะค๊ะ…เพ้

20 มี.ค.

ย่างเข้าเดือนมีนา เมษาของทุกปี เกษตรกรผู้ที่เพาะเห็ดมีต้องบ่น ว่า…เห็ดไม่ออกดอกบ้าง หรือออกก็ออกน้อยบ้าง ผลผลิตลดลงบ้าง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนร้อนขึ้น สูงขึ้น เพราะอุณหภูมิที่สูงเกินไปทำให้เส้นใยน็อค ไม่เดินต่อ แห้งตาย ส่งผลให้เห็ดไม่ออกดอกได้เช่นกัน ยิ่งเป็นเห็ดนางฟ้า,เห็ดภูฐาน,เห็ดนางรมฮังการี ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะเนื่องจากเห็ดดังกล่าวชอบอากาศเย็น ชื้น ไม่ร้อนมาก อุณหภูมิสบายๆ 26-30 องศาเซลเซียส ส่วนความชื้นก็ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ เป็นปกติครับเพราะช่วงเดือนนี้อากาศร้อนมากอาจส่งผลให้เห็ดไม่ออกดอก แต่ถ้ายังปล่อยให้ร้อนเพิ่มขึ้นไปอีก โดยไม่แก้ไขหรือป้องกันใดๆเลย ก็อาจทำให้เห็ดหยุดการเจริญเติบโต ไม่สร้างเส้นใยต่อ หน้าก้อนแห้งแข็งเส้นตายแบบถาวร
เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฐานเป็นเห็ดที่นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก เนื่องจากเลี้ยงง่าย ซื้อขายง่าย ราคาไม่แพงมาก แต่ก็เจอปัญหามากที่สุดเพราะเห็ดชนิดนี้ชอบอากาศเย็นชื้นประมาณ 26-30 องศาเซลเซียส แต่กลับกันหน้าร้อนเมืองไทยทุกวันนี้อุณหภูมิอยู่ประมาณ 36-40 องศาเซลเซียสหรือบางวันอาจสูงเกินจากนั้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้เห็ดไม่ออกดอก ออกดอกน้อย ทำให้ผลผลิตต่างจากหน้าฝนหรือหนาวโดยสิ้นเชิง เห็ดภูฐาน 3,000 ก้อน ช่วงหน้าฝนหรือหนาวจะให้ผลผลิตประมาณ 30-40 กิโลกรัมต่อวัน แต่ช่วงหน้าร้อนจะลดเหลือแค่วันละ10 กิโลกรัมหรือไม่ถึง ทำให้สูญเสียรายได้และยิ่งกว่านั้นบางรายต้องซื้อก้อนมาเปิดดอกก็ยิ่งทำให้ขาดทุนกันไปใหญ่
ผู้ที่เพาะเห็ดเป็นอาชีพมายาวนานจะทราบดีว่าหน้าร้อนเห็ดนางฟ้า เห็ดภูฐานจะให้ผลผลิตน้อย จึงไม่ค่อยทำกันแต่จะถือโอกาสเว้นระยะ พักโรงไว้ทำช่วงต้นฝนเนื่องจากอากาศจะเริ่มเย็นลง หรือถ้าทำก็ลดน้อยลงเพราะง่ายต่อการดูแล สำหรับเกษตรกรรายใหม่ๆก่อนเพาะเห็ดควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนว่า… เห็ดอะไรควรเพาะช่วงไหน? หรือเห็ดอะไรไม่ควรเพาะ อย่าง…หน้าร้อนควรเพาะเห็ดขอนเพราะเนื่องจากเป็นเห็ดที่ชอบอากาศร้อน ยิ่งร้อนยิ่งออกดี แต่ไม่ควรเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดภูฐาน ฯลฯ เพราะเป็นเห็ดที่ไม่ชอบอากาศร้อน เมื่อเราทราบว่าอากาศช่วงนี้เหมาะกับเห็ดแต่ละประเภทไหน แค่นี้ก็หมดปัญหาเรื่องเห็ดไม่ออกดอก เห็ดให้ผลผลิตน้อยไปได้ระดับหนึ่งครับ หรือจะสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2
เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
วันที่ 20 มีนาคม 2558 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ตัวอย่างเกษตรกรที่ทำนาปลอดสารพิษ ที่จังหวัดเชียงราย

19 มี.ค.

สวัสดีครับท่านสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษและท่านขาประจำบทความเกษตรเกษตรของชมรมเราทุกท่านครับ วันนี้ทางผู้เขียนจะนำเรื่องราวของเกษตรกรที่ลองปรับเปลี่ยนการทำนาหันมาทำนาแบบปลอดสารพิษเป็นครั้งแรกแล้วได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ เกษตรกรท่านนั้นคือ คุณธงชัย ปันตะราช สมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษอยู่ที่ อ.แม่สลวย จ.เชียงราย ทำนาอยู่ 15 ไร่ โดยคุณธงชัยสนใจหันมาทำนาปลอดสารพิษเลยโทรเข้ามาติดต่อสอบถามกับทางชมรมและได้ขอเอกสารการทำนาปลอดสารพิษลดต้นทุนของทางชมรมไปศึกษาและได้ทดลองทำตามเอกสารของชมรม ขั้นตอนการทำนาของคุณธงชัยโดยคราวๆ จะใช้หินแร่ภูเขาไฟ”พูมิชซัลเฟอร์” ว่านรองพื้นตอนทำเทือกไร่ละ 2 ลูก และว่านข้าวบางแค่ไร่ละ 2 ถัง (พันธุ์ข้าวที่ทำใช้พันธุ์ข้าว กข31)โรคและแมลงควบคุมโดยใช้สารสกัดจากสมุนไพรเช่น ไทเกอร์เฮิร์บ คามิน ไพเรี่ยม โทแบคโค มาร์โก้ซีด ใช้ซิลิโคเทรซ ไคโตซาน ไวตาไลเซอร์ ไรซ์กรีนพลัส ฮอร์โมนไข่ ปุ๋ยเกร็ดยูเรีย46-0-0 ฉีดเป็นอาหารเสริมให้ทางใบ โดยการฉีดอาหารเสริมทางใบจะฉีด 3 ช่วง
– คือช่วงข้าวอายุ 50 วัน จะฉีด
ปุ๋ยเกร็ด 46-0-0 50 กรัม
ไวตาไลเซอร์ 5 กรัม
ซิลิโคเทรซ 5 กรัม
ไคโตซาน 10 ซีซี
ฮอร์โมนไข่ 10 ซีซี
ไทเกอร์เฮิร์บ 10 กรัม
คามิน 10 ซีซี
มาร์โก้ซีด 10 ซีซี
ผสมน้ำ 20 ลิตร

– ช่วงข้าวอายุ 60 วัน ฉีด
ปุ๋ยเกร็ด 46-0-0 50 กรัม
ไวตาไลเซอร์ 5 กรัม
ซิลิโคเทรซ 5 กรัม
ไคโตซาน 10 ซีซี
ฮอร์โมนไข่ 10 ซีซี
ไทเกอร์เฮิร์บ 10 กรัม
คามิน 10 ซีซี
– มาร์โก้ซีด 10 ซีซี
– ผสมน้ำ 20 ลิตร
แล้วก็ฉีดครั้งสุดท้ายตอนรับท้องข้าวรวงแรกโผล่
ปุ๋ยเกร็ด 46-0-0 50 กรัม
ไวตาไลเซอร์ 5 กรัม
ซิลิโคเทรซ 5 กรัม
ไคโตซาน 10 ซีซี
ฮอร์โมนไข่ 10 ซีซี
ไทเกอร์เฮิร์บ 10 กรัม
ทริปโตฝาจ 50 กรัม
ไรซ์กรีนพลัส 50 กรัม

การใส่ปุ๋ยทางดินจะใส่ปุ๋ยละลายช้าทางดินอีก 2 ครั้งโดยครั้งแรกจะใส่ช่วงข้าว 30 วันโดยใส่ไร่ละ 15 กก.และใส่รอบ 2 จะใส่ช่วงข้าวรวงแรกโผล่โดยใส่ไร่ละ 5 กก. พร้อมกับฉีดอาหารเสริมทางใบด้วย
– สูตรการทำปุ๋ยละลายช้า
ปุ๋ยยูเรียทางดิน 46-0-0 50 กก.
ซิลิโคเทรซ ½ กก.
โพแทสเซียมฮิวเมท ½ กก.
พูมิชซัลเฟอร์ 20 กก.

ทางผู้เขียนได้มีโอกาสโทรไปพูดคุยกับทางคุณธงชัยมาเมื่อไม่กี่วันมานี้ คุณธงชัยแจ้งมาว่าข้าวได้เกี่ยวไปเป็นที่เรีบยร้อยแล้ว ได้ผลผลิตข้าวมา 95 ถังต่อไร่ เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่งกับผลลัพธ์ในแปลงนาของตัวเองเวลานี้ ไม่คิดว่าการที่ไม่ใช้สารเคมีจะได้ผลดีขนาดนี้ ท่านเกษตรกรท่านอื่นน่าจะหันมาทำนาแบบปลอดสารพิษลดต้นทุนได้แล้วนะครับ เพื่อรับมือกับราคาข้าวที่นับวันจะตกต่ำลงมาทุกที หากเกษตรท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณธงชัย ปันตะราช ได้ที่ คุณจตุโชค จันทรภูมี(โทร.085-9205846) หรือติดต่อไปที่ฝ่ายวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680 – 2

เขียนและรายงานโดย
คุณจตุโชค จันทรภูมี (นักวิชาการ)

ไทเกอร์เฮิร์บ สมุนไพรป้องกันแมลงศัตรูพืช

17 มี.ค.

ถ้าจะพูดถึงแนวทางการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษแล้ว สิ่งที่สำคัญก็คือทัศนคติของเกษตรกรที่ต้องเน้นการทำการเกษตรเชิงป้องกัน มากกว่าการรักษา ฟังดูแล้วผู้อ่านอาจจะยังงงๆ อธิบายขยายความก็คือ การทำการเกษตรเราไม่ต้องรอให้เกิดโรคแมลงระบาดค่อยหาวิธีกำจัดเหมือนดังเช่นเกษตรกรบ้านเราทำกันอยู่ในปัจจุบันนี้ แต่เราควรคิดวิธีป้องกันไว้ก่อนเสียเนิ่นๆตั้งแต่ยังไม่เกิดโรคหรือแมลงศัตรูพืชพืชระบาด จะดีกว่าเพราะไหนๆเราก็รู้อยู่แล้วว่า ยังไงซะพืชที่เราปลูกต้องเจอแมลงศัตรูพืชอยู่แล้ว
ถ้าพูดถึงแนวทางการป้องกันแมลงศัตรูพืชแบบปลอดสารพิษหรือว่าแบบชมรมเกษตรปลอดสารพิษแล้ว เราจะใช้สมุนไพรที่หาได้ตามพื้นที่นั้นๆ มาใช้ประโยชน์ เช่น สะเดา ฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน ตระไคร้หอม บอระเพ็ด ฯลฯ มาหมัก มาตาก มาบด นำมาฉีดป้องกันแมลงศัตรูพืชต่างๆ หลักการทำงานของสมุนไพรต่างๆในการป้องกันแมลงก็คือ การทำให้แมลงศัตรูพืชต่างๆ กินใบพืชไม่อร่อย แมลงกินแล้วขมกินแล้วเผ็ด ไม่อร่อยก็ช่วยลดกันเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชได้ แต่ในปัจจุบันสมุนไพรในบ้านเราหายากขึ้นทุกที ประกอบกับเกษตรกรไม่ค่อยมีเวลาทำ ทำให้การป้องกันแมลงโดยการใช้สมุนไพร ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าที่ควร หาซื้อก็ลำบาก เพราะร้านปุ๋ย-ยา ส่วนใหญ่ขายแต่ย่าฆ่าแมลงเป็นหลัก สำหรับวิธีการป้องกันแมลงศัตรูพืชต่างๆของชมรมเกษตรปลอดสารพิษเราจะแนะนำให้เกษตรกรใช้ ผงสมุนไพรผง”ไทยเกอเฮิร์บ” ซึ่งเป็นผงสมุนที่รวมสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการป้องกันขับไล่แมลงกว่า 10 สมุนไพรด้วยกัน เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม กานพลู ไพร ฯลฯ มีสรรพคุณในการป้องกันแมลงศัตรูพืชหลายด้าน เช่นมีกลิ่นของตะไคร้หอม ช่วยป้องกันไม่ให้แมลงเข้ามาในแปลงในสวนได้ กลิ่นที่เหม็นยังช่วยป้องกันไม่ให้ผีเสื้อกลางคืนที่เป็นสาเหตุของหนอนต่างๆเข้ามาวางไข่ มีรสขมของฟ้าทะลายโจรช่วยให้แมลงกินใบหรือดูดกินน้ำเลี้ยงให้กินไม่อร่อยกินแล้วขมก็ไม่อยากกิน ทำให้ช่วยลดการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชได้ แนวทางการป้องกันแมลงศัตรูพืชด้วยการใช้สมุนไพร ไทเกอร์เฮิร์บ ฉีดพ่นนี้ ถ้าเราทำเป็นประจำทุกๆสัปดาห์ การระบาดของแมลงก็แทบไม่มี และแทบไม่ต้องใช้ยาฆ่าเลยก็เป็นได้…..
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่ฝ่ายวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2
เขียนและรายงานโดย
นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)

บทความเกษตร”มาตรฐานสินค้าเกษตร อยู่ที่ใคร…?

16 มี.ค.

สินค้าเกษตร หมายถึง ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อันเกิดจากกสิกรรม ประมง ปศุสัตว์ ป่าไม้ หรือแม้แต่ผลพลอยได้ของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มาตรฐานสินค้าเกษตรไทยถูกกำหนดขึ้นภายใต้ พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตรปี พ.ศ.2551 ซึ่งออกแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ มาตรฐานบังคับ และมาตรฐานทั่วไป 1)มาตรฐานบังคับ คือ มาตรฐานที่มีกฎกระทรวงกำหนดให้สินค้าเกษตรต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงวางไว้ 2)มาตรฐานทั่วไป คือ มาตรฐานที่มีประกาศกำหนดโดยกระทรวงเพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน วัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุม และส่งเสริมสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภค ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดแก่เกษตรกรหรือกิจการการค้าสินค้าเกษตร หรือเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ

นิยามของเกษตรอินทรีย์จะแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศ ซึ่งมีความหมายแตกต่างไปจากผักไร้สารพิษ ผักปลอดภัยจากสารพิษ และผักอนามัย ดังนี้เกษตรอินทรีย์ คือ ระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม เพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนต่างๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรม หรือยีนที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม ซึ่งจะเน้นการใช้อินทรีย์วัตถุอย่างปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงดินให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคแมลงได้ด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาเทคนิคหรือภูมิปัญญาชาวบ้านมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผลผลิตที่ได้นอกจากจะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างแล้ว ยังส่งผลให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคก็พลอยปลอดภัยไปด้วย อีกทั้งช่วยยับยั้งการทำลายสภาพแวดล้อม ไม่ให้เสื่อมโทรมได้อีกทางหนึ่ง ผักไร้สารพิษ คือ ผักที่มีระบบการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือแม้แต่ปุ๋ยเคมี ตลอดขบวนการผลิตจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด และผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีสารพิษใดๆทั้งสิ้น ซึ่งจะแตกต่างกับผักปลอดภัยจากสารพิษและผักอนามัยที่สามารถใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช รวมถึงปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมีเคมีตกค้างได้แต่ไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538 ซึ่งดูๆแล้วสินค้าเกษตรจะปลอดภัย หรือไม่ปลอดภัย จะผ่านหรือไม่ผ่านมาตรฐาน ไม่ได้อยู่ที่ใครหรอกครับ แต่อยู่ที่คุณ …”ผู้ผลิต”… นั้นแหละครับ

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
วันที่ 16 มีนาคม 2558 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

บทความเกษตร”รักษาโรคตายพลายของกล้วยแบบปลอดสารพิษ

13 มี.ค.

การปลูกกล้วยเป็นอาชีพนั้นเกษตรกรรายใหม่ๆที่มีความคิดที่อยากจะปลูกเพราะราคาดี ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวนเหมือนพืชชนิดอื่นๆ นั่นนับว่าเป็นความคิดที่ผิดเพราะกล้วยก็มีโรคและแมลงศัตรูพืชที่น่ากลัวไม่แพ้พืชชนิดอื่นๆ โรคที่ชาวสวนกล้วยกลัวกันมากที่สุดน่าจะเป็น “โรคตายพลาย” ซึ่งเป็นโรคที่ระบาดรุกรามสร้างความเสียหายได้ทั้งสวน ถ้าโรคตายพรายระบาดแล้วก็ยากที่จะป้องกันรักษา ถ้าเอาไม่อยู่กล้วยทั้งสวนก็อาจตายหมดสวนเลยก็ว่าได้

 วันนี้ทางผู้เขียนจะมาแนะนำวิธีการรักษาโรคตายพรายในการปลูกกล้วยมาให้ได้รับทราบกันครับ โดยโรคตายพรายนั้นเกิดจาก เชื้อรา F. oxysporum schlect. f. sp. cubense (E. F. Smith) Snyder & Hansens เข้าสู่พืชทางรากและแพร่กระจายสูท่อลำเลียงน้ำทำให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตายเป็นสีน้ำตาลในท่อลำเลียงของลำต้นเทียมของกล้วย และลุกลามขึ้นสู่ก้านใบ โคนใบแก่ด้านนอกมีสีซีดเหลือง และผืนใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลโดยเริ่มจากขอบใบเข้าสู่กลางใบและใบหักพับภายใน 1-2 สัปดาห์ และในที่สุดลำต้นเทียมจะยืนต้นตายหรือล้มตายลงไป เมื่อผ่าลำต้นเทียมหรือกาบใบที่อยู่ใกล้ระดับผิวดินตามยาว จะพบกลุ่มท่อลำเลียงที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือแดง เมื่อผ่าเหง้า โคนต้น ลำต้นเทียม ก้านเครือ ก็จะพบอาการลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ซึ่งต่างจากต้นปกติที่เนื้อเยื่อเหล่านี้จะมีสีขาว ส่วนใหญ่พบเชื้อรานี้แพร่กระจายอยู่ในบริเวณเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน  มักจะเป็นกับกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป โดยจะเห็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ก่อน ต่อมาปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มเหลือง และขยายออกไปอย่างรวดเร็วจนเหลืองทั่วใบ ใบอ่อนจะมีอาการเหลืองไหม้หรือตายนึ่งและบิดเป็นคลื่น ใบกล้วยจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ ใบยอดจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก ต่อมาก็ตายไปเช่นกัน กล้วยที่ตกเครือแล้วจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ หรือแก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามจืด บางครั้งพบใบกล้วยหักพับที่โคนใบโดยไม่แสดงอาการใบเหลือง หรือเหลืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าตัดลำต้นตามขวางจะพบว่าเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง และอาจมีเส้นใยของเชื้อราให้เห็นบ้าง

วิธีการป้องกันรักษาโรคตายพรายในกล้วยแบบวิธีของชมรมเกษตรปลอดสารพิษก็คือ การนำฟังส์กัสเคลียร์ซึ่งเป็นผงจุลสีมาผสมน้ำฉีดพ่นเพื่อทำลายเชื้อราให้ฟ่อไม่ให้ลุกลามหรือแพร่ระบาดไปได้จากนั้นให้ใช้บีเอสพลายแก้วฉีดพ่นสลับกับจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่าเพื่อทำลายเชื้อราให้หมดอาจจะพ่น 3 วัน/ครั้งในกรณีระบาด(ถ้ากล้วยแสดงอาการระบาดหนักให้ฉีดทุกวัน) และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กล้วยด้วยหินแร่ภูเขาไฟ พูมิช-ซัลเฟอร์โรยรอบๆโคนต้นกล้วย เพื่อทำให้กล้วยนั้นฟื้นจากโรคตายพรายเร็วขึ้นและยังเสริมความแข็งแกร่งให้กับกล้วยด้วย เราสามารถใช้หินแร่ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์โรยรอบๆต้นกล้วยทุกๆ 30 วันเพื่อให้ต้นกล้วยมีภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆได้ดี………

                สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นายจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่ฝ่ายวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2

       เขียนและรายงานโดย

นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)