Archive | พฤศจิกายน, 2013

บทความเกษตร”ดินแน่นแข็งเป็นดาน หมั่นเติมอินทรียวัตถุและหินแร่ภูเขาไฟ”

29 พ.ย.

บทความเกษตร”ดินแน่นแข็งเป็นดาน หมั่นเติมอินทรียวัตถุและหินแร่ภูเขาไฟ”

สภาพของพื้นที่ที่ผ่านการเพาะปลูกมาเป็นระยะเวลายาวนาน ส่วนใหญ่ก็จะมีการใช้เครื่องยนต์กลไกเพื่อเป็นเครื่องทุ่นแรง โดยเฉพาะรถไถที่มีน้ำหนักมาก เมื่อเหยียบย่ำลงไปบนพื้นที่ไถพรวนส่วนหนึ่งก็จะไปกดทับพื้นที่ด้านล่างให้มับแน่นลงไป ทำแบบนี้บ่อยเข้าๆทุกปีก็สามารถที่จะประสบพบเจอกับปัญหาดินแน่นแข็งเป็นดานอยู่ด้านใต้ น้ำฝนจะถูกพัดพาชะล้างไปกับหน้าดินอย่างรวดเร็ว แตกต่างจากดินที่มีโครงสร้างดินที่โปร่ง ฟู ร่วนซุย ที่กระแสน้ำที่ผิวดินจะไหลพัดผ่านไปอย่างช้าๆ แร่ธาตุและสารอาหารที่มากับน้ำก็จะถูกซึมซับซาบผ่านลงไปด้านล่าง เนื่องจากเนื้อดินมีสภาพที่คลายตัวเกาะกันอย่างหลวมๆ ไม่แน่นแข็งเป็นดานเปียกอยู่แต่ด้านบน แต่เนื้อดินด้านล่างกลับแห้งแข็ง รากพืชไม่สามารถจะทิ่มแทงทะลุผ่านลงมาได้

สภาพของดินที่เป็นดินดาน มักจะเป็นดินที่ขาดแคลนการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง เป็นดินที่ขาดการเติมอินทรีย์วัตถุ เป็นดินที่ผ่านการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานาน และเป็นดินที่ถูกเผาตอซังฟางข้าว หรือเผาอินทรียวัตถุบนผิวหน้าอยู่บ่อยๆทุกฤดูกาล จึงทำให้วงจรของอินทรีย์วัตถุที่จะลงไปแทนที่มีไม่เพียงพอ และวงจรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในดินถูกตัดตอนล้มตาย ถูกทำลายด้วยการถูกเผาจากเชื้อเพลิงที่โหมกระหน่ำอยู่ที่ผิวดิน

การแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้าจะต้องใช้สารละลายดินดาน ALS29 ในอัตรา 50 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรดหรือฉีดพ่นลงไปบนหน้าดิน โดยก่อนที่จะราดหรือฉีดพ่นควรจะต้องทำให้ดินเปียก ชื้นแฉะเหมือนบรรยากาศหลังฝนตกใหม่ๆ ถ้าเป็นไปได้นำมาราดรดหรือฉีดพ่นหลังฝนตกจะดีที่สุด แต่ถ้าไม่สะดวกก็ควรจะใช้เรือรดน้ำจากท้องร่องขึ้นมา หรือใช้น้ำจากสปริงเกอร์ หรือจากแหล่งที่หาได้ง่ายที่สุดนำมาราดรดให้เปียกชุ่มโชกเสียก่อน จึงค่อยใช้สารละลายดินดาน ALS 29 ลงไป เพื่อให้น้ำในดินที่อิ่มตัวอยู่นั้นเป็นตัวนำพาสสารของ ALS 29 ลงไปด้านล่างให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำอย่างนี้อาทิตย์ละครั้ง สักสามสี่ครั้ง สภาพดินที่แน่นแข็งจะค่อยๆ คลายตัวลงทีละน้อย ทำให้รากที่ขัดสมาธิ ต้นเจริญเติบโตไม่ดี เตี้ย แคระแกร็น ก็จะเริ่มแผ่กิ่งก้านขยายสาขาได้ดีขึ้นเป็นลำดับ และถ้าต้องการให้ดินโปร่ง ร่วน ซุย อย่างนี้ต่อไป ก็ควรจะเติมหินแร่ภูเขาไฟ พูมิชซัลเฟอร์ ในอัตรา 20 -40 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก เพื่อให้โครงสร้างดินมีอินทรียวัตถุและฮิวมัสเป็นองค์ประกอบอยู่ในดิน จะช่วยทำให้ดินไม่กลับมาแน่นแข็งอีก

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

พูมิชซัลเฟอร์ปรับปรุงดิน ช่วยกระตุ้นน้ำยางให้ไหลเยอะ (ตอนที่ 2)

27 พ.ย.

25 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำโดยนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการ แจงถึงความคืบหน้าในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราตามโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ปี 2557 จากข้อมูลที่ขึ้นทะเบียนไว้ 69 จังหวัด 1,193,332 ครัวเรือน ล่าสุดได้บันทึกลงระบบสารสนเทศไปแล้ว 1,116,587 ครัวเรือน ซึ่งทั้งนี้ได้ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบถูกต้องเรื่องเอกสารสิทธิที่ดินตามกฎหมาย หรือเอกสารสิทธิ ภปท.5 หรือพื้นที่การเปิดกรีดหรือพื้นที่ที่อายุยางเกิน 25 ปี ไปแล้ว 779,010 ครัวเรือน ส่งต่อข้อมูลให้คณะกรรมการเปิดกรีดยางระดับตำบลตรวจสอบจำนวน 704,259 ครัวเรือน ออกใบรับรองแล้ว 341,942 ครัวเรือน ซึ่งได้โอนจ่ายเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าบัญชีเกษตรกรไปแล้วจำนวน 226,653 ครัวเรือน คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 6,300 ล้านบาท ที่มา http://www.naewna.com/local/78893

ตอนที่แล้วได้เกริ่นกันถึงการเพิ่มผลผลิตหรือน้ำยาง โดยใช้พูมิชซัลเฟอร์ผสมร่วมกับปุ๋ยหว่านปรับปรุงดิน เพิ่มธาตุหลัก รอง เสริม ให้ต้นยางพาราได้รับธาตุอาหารครบทุกหมู่แบบไม่ขาด พูมิชซัลเฟอร์เป็นชื่อทางการค้าของสารปรับปรุงดินอีกแบรนด์หนึ่งของชมรมฯที่ผลิตจากหินภูเขาไฟ ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารพืชอย่าง ซิลิก้าหรือซิลิซิค,แคลเซียม,แมกนีเซียม,ฟอสฟอรัส,กำมะถัน,เหล็ก,สังกะสี ฯลฯ ในปริมาณที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่มากเว้อหรือน้อยเกินไปจนทำให้พืชขาดธาตุอาหาร ส่วนที่ว่าธาตุตัวไหนชนิดใดทำหน้าที่อะไร วันนี้จะมาอธิบายให้ทราบตามที่ได้สัญญาไว้ครับ

ธาตุตัวที่ (1) ซิลิก้าหรือซิลิซิค แอซิค ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่เซลล์พืช ลดการทำลายของโรคแมลง (2) แคลเซียม ช่วยกระตุ้นรากกระตุ้นยอด แบ่งโครโมโซม ส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์และธาตุอาหาร (3) แมกนีเซียม สร้างคลอโรฟิลล์ เอนไซม์ เพิ่มเม็ดสีเขียว กระตุ้นการสร้างแป้งสร้างน้ำตาล สังเคราะห์น้ำมันร่วมกับกำมะถัน ช่วยดูดซับฟอสฟอรัสและควบคุมปริมาณแคลเซียมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต (4) ฟอสฟอริก ช่วยสังเคราะห์แสง สร้างแป้งสร้างน้ำตาล สร้างรากทำให้ลำต้นแข็งแรง รากเยอะไม่ล้มง่าย ช่วยให้ผลเมล็ดสุกแก่เร็ว สร้างดอกสร้างเมล็ด ส่งเสริมการดูดซึมไนโตรเจน โพแทสเซียมและโมลิบดินัม

ตัวที่ (5) ซัลเฟอร์ หรือที่เรียกกันว่า กำมะถัน ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ช่วยสร้างคลอโรฟีลล์ สังเคราะห์แสงสร้างไขมันและควบคุมการทำงานของแคลเซียม (6) เหล็ก ช่วยสร้างคลอโรฟีลล์และไซโตโครมที่เกี่ยวกับการหายใจ-คายน้ำ ส่งเสริมการดูดซึมธาตุอาหารชนิดอื่น และท้ายสุดตัวที่ (7) สังกะสี ช่วยสังเคราะห์โปรตีน สังเคราะห์คลอโรฟีลล์ สร้างฮอร์โมนไอเอเอที่เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์และเอนไซม์ต่างๆ ช่วยส่งเสริมให้พืชดูดซับฟอสฟอรัส และไนโตรเจนได้ดี โดยเฉพาะช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เมื่อพืชไม่เครียดก็สามารถเจริญเติบโตได้เป็นปกติ เป็นไงละครับ พูมิชซัลเฟอร์ 1กระสอบ 20 กิโลกรัม แต่อัดแน่นไปด้วยคุณภาพ ตอนหน้ามาคุยกันต่อว่าพูมิชซัลเฟอร์มาจากที่ไหน? แล้วไปช่วยเพิ่มน้ำยางให้เยอะได้อย่างไร? เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือหาซื้อมาทดลองได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

ความสำคัญของธาตุอาหารที่ปัจจุบันในดินไม่มี

27 พ.ย.

สวัสดีครับสมาชิกชาวชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกๆท่าน วันนี้ทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะมาอธิบายความสำคัญของธาตุอาหารให้เกษตรทุกๆท่านได้ทราบกันครับ ปัจจุบันพี่ๆน้องๆทุกๆท่านที่ทำการเกษตรอยู่ไม่ว่าจะเป็นพืชสวน พืชไร่ ไร่นา ต่างๆยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปุ๋ยต่างๆที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันซึ่งก็มีเกษตรกรหลายๆท่านที่ทราบดีว่าปุ๋ยหรือธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริมนั้นมีประโยชน์อย่างไรต่อพืช แต่ในปัจจุบันนั้นยังมีเกสรกรอีกหลายต่อหลายท่านที่ไม่ทราบว่าปุ๋ยที่ใช้หรือฮอร์โมนที่ใช้นั้นมีประโยชน์อย่างไรประกอบไปด้วยธาตุอะไรบ้าง บางท่านเห็นคนอื่นบอกว่าปุ๋ยยี่ห้อนั้นดี ฮอร์โมนยี่ห้อนั้นดีก็ไปหาซื้อมาใช้บ้างไม่ทราบถึงองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์หรือปุ๋ยนั้นๆว่าประกอบไปด้วยอะไร ได้แต่ถึงเวลาใส่ก็ใส่ๆไป พืชนั้นจะต้องการธาตุอาหารทั้งหมด 16 ธาตุด้วยกัน 3 ธาตุที่ได้มาฟรีๆที่อยู่ในดิน อากาศและน้ำนั้นก็คือ คาร์บอน,ไฮโดรเจนและออกซิเจน ส่วนอีก 13 ธาตุนั้นต้องจำเป็นที่จะต้องหามาใส่ให้กับพืช ซึ่งเมื่อก่อนนั้นดินอุดมสมบูรณ์มีธาตุอาหารพอเพียงกับพืชทุกๆชนิดจึงไม่ต้องไปหาซื้อมาใส่ให้เปลืองต้นทุน แต่ปัจจุบันนั้นดินเซื่อมโทรมดินแน่นดินแข็ง ธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชแล้วท่านเกษตรกรจะเอาผลผลิตสักเท่าไหร่ในเมื่อท่านไม่เคยเติมสิ่งที่พืชต้องการเลย

ธาตุอาหารอีก 13ธาตุนั้นแบ่งได้คือ 1.ธาตุหลัก n,p,k ธาตุรอง Ca,Mg,s ธาตุเสริม Fe,Mn,B,Mo,Cu,Zn,Cl ซึ่งธาตุที่จำเป็นต่อพืชมากที่สุดคือธาตุหลัก รองลงมาคือธาตุรองและธาตุเสริม ซึ่งจัดเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชทุกๆชนิด การทำการเกษตรนั้นถ้าหมั่นปรับปรุงบำรุงดินให้มีธาตุอาหารพอเพียงต่อพืชนั้นๆแล้วการใช้ปุ๋ยใช้ยาต่างๆก็จะช่วยทำให้เกษตรกรนั้นลดต้นทุนในการผลิตได้อย่างมาก เช่นข้าวช่วงแรกเกษตรกรควรรู้ว่าข้าวนั้นต้องการปุ๋ยธาตุไหนมากที่สุดจึงจะเหมาะกับการเจริญเติบโตของข้าว ข้าวตั้งท้องก็ต้องรู้ว่าธาตุอาหารไหนเหมาะกับข้าวช่วงนี้มากที่สุด ธาตุไหนช่วยทำให้ข้าวสร้างแป้งสร้างน้ำหนัก ก็จะทำให้ผลผลิตของเกษตรกรรายนั้นๆประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนครับ การปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์นั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆคือการใช้พูมิช-ซัลเฟอร์ ที่มีส่วนประกอบคือซิลิก้าและธาตุรองธาตุเสริมเพื่อฟื้นฟูบำรุงดินให้ร่วนซุย ปรับค่าpH ของดินให้มาอยู่ที่ 5.8-6.3 ซึ่งซิลิก้านั้นก็จัดอยู่ในธาตุพิเศษที่มีคุณสมบัติสร้างความแข็งแกร่งให้กับต้นพืชช่วยลดการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชได้อย่างดี เพียงเท่านี้ปัญหาดินของเกษตรกรก็จะหมดไปการใช้ฮอร์โมนต่างๆหรือยากำจัดโรคและแมลงต่างๆก็จะลดน้อยลง ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ต้นทุนลดน้อยลงได้ครับ

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

ปลูกมะนาวกับหินแร่ภูเขาไฟ แต่ทำไมหนอนชอนใบยังทำลายได้อยู่

26 พ.ย.

ผู้เขียนได้ทำการปลูกมะนาวไว้ประมาณ 200 ต้นที่จังหวัดอ่างทอง โดยพยายามที่จะให้มีสายพันธุ์ที่หลากหลายทั้งที่ต้านทานโรคอย่างพิจิตร 1 และพันธุ์ที่อ่อนแอแต่ลูกดกอย่างเช่นแป้นรำไพ ซึ่งปัจจุบันมะนาวแป้นนั้นก็มีแตกกอต่อยอดแบ่งสายพันธุ์ไปอีกหลากหลาย วัตถุประสงค์ที่คละเคล้าสายพันธุ์กันไปก็เพื่อทดสอบ ทดลอง เป็นหลัก และการให้น้ำได้ใช้ระบบเป็นแบบมินิสปริงเกอร์โดยให้มีสวิทซ์ปิดเปิดจากตัวควบคุม จนทำให้เกิดปัญหาที่จะนำมาเล่าสู่พี่น้องเกษตรกรได้ฟังกัน

โดยปกติแล้วพืชที่สมบูรณ์แข็งแรงโดยธรรมชาติการระบาด การทำลายหรือการรบกวนจากโรคแมลงศัตรูพืชจะมีอยู่น้อย เนื่องด้วยกลไกลการป้องกันตัวแบบธรรมชาติของพืช จะทำงานปกป้องอย่างสมบูรณ์ ยิ่งมีการปรับปรุงค่าความเป็นกรดและด่างของดินให้เหมาะสม และมีการเติมหินแร่ภูเขาไฟ (ชื่อการค้า พูมิช (Zeo Pumish), พูมิชซัลเฟอร์ (zeo Pumish Sulpher) ก็จะยิ่งเสริมการทำงานให้เซลล์พืชมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยประสิทธิภาพการทำงานของหินแร่ภูเขาไฟนั้น มีการวิจัยผลการทดลองที่เป็นวิทยาศาสตร์มากมายจากดอกเตอร์ทั่วโลก ท่านผู้อ่านสามารถค้นคว้าหาอ่านได้จากหนังสือที่ชื่อ ซิลิคอน อิน เอกริคัลเจอร์ (Silicon In Agriculture) ซึ่งจะมีทั้งฉบับเต็มและฉบับที่เป็นบทคัดย่อ (Abstract) ให้ผู้ที่ชื่นชอบการทำให้พืชแข็งแกร่งแบบธรรมชาติได้อ่านกันอย่างจุใจ

แต่เนื่องด้วยที่สวนมะนาวของผู้เขียนนั้น ได้มีการเตรียมดิน เตรียมวัสดุในการปลูก ก็ทำเป็นอย่างดี อีกทั้งการนำ พูมิช มาใช้รองพื้นก่อนปลูกนั้นก็ใส่ลงไปมากพอสมควร ในระยะแรกก็ไม่มีปัญหาอะไรให้กังวลใจมากนัก แต่หลังจากปลูกไปได้ระยะหนึ่งเริ่มมีปัญหา คือเริ่มมีอาการใบเหลือง, แคงเกอร์ และปัญหาเรื่องหนอนชอนใบ ที่เข้ามาทำลายระบาดในแปลงค่อนข้างมาก จนต้องใช้ทั้ง บีทีชีวภาพ, บีเอสพลายแก้วน้ำ,ทริปโตฝาจ, ไทเกอร์เฮิร์บ, ซิลิโคเทรซ, ไคโตซาน MT นำมาแก้ไข ใช้แก้ปัญหากันอยู่มากพอสมควร แต่ในเบื้องต้นอากัปอาการก็ไม่ค่อยจะดีขึ้นสักเท่าไร จนต้องเพิ่มความถี่ในการฉีดพ่นรักษาให้มากขึ้น จนถึงทุเลาเบาบางลงไปได้ แต่สภาพต้นโดยรวมก็ยังไม่ดีขึ้น

จนผู้เขียนต้องขึ้นไปดูและสำรวจตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้พบปัญหาและสาเหตุที่แท้จริงโดยบังเอิญ นั่นก็คือสาเหตุจากการที่ทำให้ต้นมะนาวอ่อนแอ และการดูแลแก้ไขที่ปลายเหตุ (การรักษาที่ปลายเหตุ คือการนำผลิตภัณฑ์มาปราบ มารักษา ดูแลป้องกัน บำรุง แต่ถ้าทำให้พื้นฐานให้ดี การดูแลแก้ไขที่ปลายเหตุก็ไม่ต้องเหนื่อย) ทำได้ยากเย็นแสนเข็นขึ้นนั้นเนื่องมาจากดินที่ชื้นแฉะมากเกินไป และระบบรากมีปัญหาขาดอากาศอ่อนแอ จากการที่เปิดปิดระบบน้ำเช้าเย็นทุกวันโดยไม่ลงไปสำรวจตรวจสอบต้นมะนาวอย่างละเอียด อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในภาวะหน้าฝนและมีพายุหลายลูกกระหน่ำซ้ำซัดเข้ามา ทำให้สภาพต้นโดยรวมอ่อนแอ เมื่ออ่อนแอความแข็งแกร่งที่จะหวังพึ่งพิงอิงแร่ธาตุซิลิก้าและสารอาหารจากหินแร่ภูเขาไฟ จึงตอบสนองไม่เต็มที่ เนื่องด้วยสภาพต้นอ่อนแออย่างมาก แต่หลังจากให้ปรับเปลี่ยนและแก้ไขด้วยการงดการให้น้ำเป็น 3 วันครั้ง หรือดูตามความเหมาะสมอย่าให้ดินแฉะหรือมีน้ำท่วมขังในทุกๆ กรณี สภาพต้นก็ฟื้นคืนได้อย่างรวดเร็ว การใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพต่างๆ ก็ตอบสนองได้ทันทีและรวดเร็วเป็นลำดับ เพราะฉะนั้นก็ฝากพี่น้องเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัยไร้สารพิษต้องตระหนักกันให้ดีนะครับ คือจะต้องดูแลรักษาปัจจัยพื้นฐานให้ดี ทั้งน้ำ ทั้งดิน และอาหารจะต้องเหมาะสมจริงๆ จึงจะปลูกพืชไร่ ไม้ผลได้อย่างปลอดภัยไร้สารพิษได้จริง ๆ

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

พูมิชซัลเฟอร์ปรับปรุงดิน ช่วยกระตุ้นน้ำยางให้ไหลเยอะ (ตอนที่ 1)

25 พ.ย.

ยางพาราพืชเศรษฐกิจ 1ใน 5 ที่สร้างรายได้ให้ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันราคายางอาจผันผวนลดลงไปบ้าง จากปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซาหรืออะไรก็แล้วแต่ ก่อให้เกิดวิกฤตการเมือง บ้างก็รวมกลุ่มม็อบประท้วงขอปรับราคาขึ้น เรียกร้องโน้นเรียกร้องนี้เพื่อความอยู่รอดของกลุ่ม พอวันเวลาผ่านไปนานเข้าๆ  จากที่เคยเรียกร้องเพื่อกลุ่มก็หันมาเรียกร้องเพื่อตนเอง วิเคราะห์กันจริงๆแล้ว ราคายางในปัจจุบันก็พออยู่ได้ ถ้าทุกคนปลูกเองกรีดเองไม่ฮ้อแรงงานมากนัก ค่าใช้จ่ายก็ลดลง พอเพียง พออยู่ พอกิน ปุ๋ยราคาแพงก็ใช้ลดลงตามความเหมาะสม ตามความต้องการของพืช ไม่ใช่ว่า มีเยอะใส่เยอะมีน้อยไม่ใส่เลย อย่างนี้ไม่ดีไม่สมควรทำ พืชก็เหมือนคนจะเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ก็ย่อมต้องอาศัยอาหารหรือปุ๋ย

ลดต้นทุนการโดยใช้พูมิชซัลเฟอร์ผสมร่วมกับปุ๋ยให้ละลายช้าลงก็อีกทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากพูมิชซัลเฟอร์ผลิตจากหินภูเขาไฟที่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าเป็นลบ สามารถจับตรึงปุ๋ยที่มีค่าประจุเป็นบวก (1) ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินที่ไม่มีในปุ๋ยเคมี (2) ช่วยลดต้นทุนการผลิต คือไม่ต้องซื้อปุ๋ยสูตรที่มีราคาแพง (3) สร้างจุลินทรีย์ในดินไปพร้อมกับการใส่ปุ๋ยหลักโดยไม่ทำให้ดินเสียหรือดินตาย (4) ลดการสูญเสียปุ๋ยเคมีจำพวกแอมโมเนีย (ไนโตรเจน)ไปโดยเปล่าประโยชน์ ใช้ก็ง่ายเพียงแค่นำพูมิชซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัม มาผสมร่วมกับแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยสูตร 50 กิโลกรัม (2 : 5) แต่หากเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ให้ใช้พูมิซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัม ต่อปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัม (1 : 5) หว่านรอบทรงพุ่มหรือร่องอกตามปริมาณที่เคยใส่ คือเคยใส่อยู่ 1 กิโลกรัมต่อต้นก็คงใส่ 1 กิโลกรัมต่อต้นเหมือนเดิม และนอกจากนี้พูมิชซัลเฟอร์ยังช่วยปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ปรับpH ของดินปลดปล่อยธาตุอาหารได้ดี  เพิ่มธาตุรองธาตุเสริมไม่ต้องหาซื้อมาเติมภายหลัง มีซิลิก้า ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งลดการทำลายของโรคแมลงศัตรูพืช

เมื่อเอ่ยถึงลดต้นทุนการผลิตแล้วถ้าไม่เกริ่นถึงการเพิ่มผลผลิตสักนิดก็กะไรอยู่ ปัจจัย 2 อย่างนี้ต้องมาคู่กัน เนื่องจากเกษตรกรชอบตั้งคำถามให้กับตัวเองเสมอๆว่า เมื่อลดปริมาณปุ๋ยลงโดยใช้สารปรับปรุงดินเข้าไปแทนที่ แล้วน้ำยางที่ได้จะยังคงเท่าเดิมหรือ? ขอยืนยันว่าเท่าเดิมหรือมากกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่าพูมิชซัลเฟอร์เป็นสารปรับปรุงดินที่ผลิตจากหินภูเขาไฟ ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุอย่างซิลิก้าหรือซิลิซิค,แคลเซียม,แมกนีเซียม,ฟอสฟอรัส,กำมะถัน,เหล็ก,สังกะสี ฯลฯ ในปริมาณที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่มากเว้อหรือน้อยเกินไปจนทำให้พืชขาดธาตุอาหาร เรื่องที่ว่าธาตุตัวไหนทำหน้าที่อะไรจะมาอธิบายให้ทราบในตอนที่ 2 นะครับ เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือหาซื้อมาทดลองได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ WWW.Thaigreenagro.com

บทความเกษตร”เกษตรกรรมธรรมชาติ พอเพียง เพียงพอ ทำง่ายไม่ต้องใช้ตังค์ (3)”

21 พ.ย.

บทความเกษตร”เกษตรกรรมธรรมชาติ พอเพียง เพียงพอ ทำง่ายไม่ต้องใช้ตังค์ (3)”

ก่อนอื่นต้องของแสดงความเสียใจต่อพี่น้องประชาชนคนฟิลิปปินส์ซึ่งถือว่าเป็นชาวอาเซียนด้วยกันกับเรา จากที่ได้รับผลกระทบจากพายุร้าย ไต้ฝุ่น “ไห่เยี่ยน” ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นซุปเปอร์ใต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายและทำให้มีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคนในรอบหลายทศวรรษจนถึงขนาดที่รัฐบาลไทยต้องส่งความช่วยเหลือไปตามความเหมาะสมในฐานะมิตรประเทศเพื่อนบ้านและมิตรอาเซียน นับว่าเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่มนุษย์ตาดำๆ อย่างเราจะต้องตระหนักให้ดีถึงความร้ายแรงและโหดร้ายของธรรมชาติ ต้องไม่สร้างความต่าง สร้างการเสียสมดุลให้มากไปกว่าเดิม ต้องทำมาหากินโดยเอียงอิงพิงธรรมชาติให้กลมกลืนมิฉะนั้นก็จะทำให้สภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวนมากยิ่งขึ้น อาจจะมากกว่าที่เราได้ประสบพบเจออยู่ในขณะนี้ก็ได้

หลังจากนั้นเมื่อเตรียมดินได้ตามที่ต้องการหรือเหมาะสมต่อการปลูกพืชแล้ว ก็ให้นำพืชไร่ไม้ผลที่ต้องการมาปลูกลงแปลง สิ่งที่จะช่วยทำให้การแก้ปัญหาเรื่องโรคและแมลงลดน้อยมากที่สุดคือการคัด เลือกสายพันธุ์ที่ต้านทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงซึ่งปัจจุบันก็มีหลาย หน่วยงานที่มีการปรับปรุงพัฒนาพันธุ์โดยเฉพาะข้าวนั้น กรมการข้าวก็มีการทดลอง วิจัยได้พันธุ์ข้าวดีๆ เยอะแยะมากมายอยู่พอสมควร เมื่อพืชเจริญเติบโตอาจจะมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวน ช่วงนี้อาจจะต้องใช้สรรพคุณจากสมุนไพรอย่าง ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน เมล็ดสะเดา ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม ไพล กานพลู ให้พยายามเลือกหาหรือปลูกไว้ในแปลงเกษตรของเราให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำ ได้ หลังจากนั้นก็ขุดหัวเก็บเมล็ด หรือตัดชิ้นส่วนที่สำคัญนำมาบดให้เป็นผงละเอียด หรือหมักเอาแต่สารละลายที่จำเป็นออกมา นำไปฉีดพ่นในช่วงที่มีฝนตกชุก ดินแฉะ หรือระยะที่พืชมีการเจริญเติบโตทางตายอด

คราวที่แล้วได้พูดถึงเรื่องการทำเกษตรกรรมธรรมชาติ แบบพอเพียง เพียงพอ ไม่ต้องใช้ตังค์มาพอสมควร และในครั้งนี้ก็จะพูดต่อถึงเรื่องการที่จะลดต้นทุนให้ลดน้อยถอยลงโดยการการนำอินทรียวัตถุมาเติมลงในดิน พี่น้องเกษตรกรควรที่จะต้องเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ใช้สุกร หรือโคกระบือให้เป็นประโยชน์ คือเป็นโรงงานผลิตปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก เก็บเกี่ยวเศษไม้ใบหญ้า หรือเมื่อปลูกข้าวแล้วควรที่จะกักเก็บตอซังฟางข้าวไว้ใช้ในการเกษตรให้มากที่สุด ไม่เผาทำลาย นี่คือยุทธวิธีหนึ่งแล้วนะครับ ที่จะไม่ต้องเสียตังค์ในการซื้ออินทรียวัตถุในการปรับปรุงบำรุงดิน เพราะซากพืชซากสัตว์ที่หาได้ในธรรมชาติหรือจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวนั้น คิดว่าน่าจะมีอย่างมากมายเพียงพอ ถ้าเรารู้จักเก็บออมไปทีละเล็กละน้อย

ส่วนในเรื่องปัญหาทางดินนั้น ที่เกษตรกรมักจะมีปัญหาในเรื่องของการแก้ปัญหาโรครากเน่าโคนเน่า ถ้าเรานำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกมาเติมเพิ่มใส่ให้ความสมดุล .จุลินทรีย์ตัวร้ายก็อาจจะมีโอกาสเจริญเติบโตรุกล้ำกล้ำกลายเข้าใกล้ได้น้อย และเพื่อให้เกิดความมั่นอกมั่นใจ เราก็สามารถที่จะใช้ ”จุลินทรียหน่อกล้วย” ซึ่งได้จากการคัดเลือกหน่อกล้วยที่อวบอ้วนสมบูรณ์ ต้นไม่ผอม ไม่เน่า ระบบรากสด ขาว แข็งแรง บ่งบอกถึงการมีระบบประชากรของจุลินทรีย์ชนิดดีดำรงคงอาศัยอยู่ ณ บริเวณนั้น จนจุลินทรีย์ตัวร้ายหรือเชื้อโรคไม่กล้าเข้ามากล้ำกราย นอกจากจุลินทรีย์หน่อกล้วยจะช่วยปกป้องพื้นที่มิให้จุลินทรีย์ตัวร้ายเข้าทำลายพืชหลักที่เราปลูกแล้ว ยังช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆ ให้กลับกลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหมาะสมต่อการนำไปใช้งานของพืชได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

หลักการในการนำกองทัพจุลินทรีย์ชนิดดีคอยดูแลรักษาป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคทางดินก็จะช่วยแบ่งเบาภาระโรคและศัตรูพืชที่จะมาจากภาคพื้นดิน ส่วนการใช้สมุนไพรไล่แมลงฉีดพ่นทางใบเพื่อเปลี่ยนแปลงรูป รส กลิ่น ของพืชเพื่อลวง ล่อ ให้แมลง หรือแม่ผีเสื้อกลางคืนลดการเข้าวางไข่ก็จะทำให้แมลงศัตรูพืชที่จะเข้ามาในสวนลดน้อยลง ส่วนที่เล็ดรอดก็เป็นไข่ที่กำลังจะฟักเป็นหนอนซึ่งก็จะมีจำนวนไม่มากนักจากการที่เราได้หลอกล่อไปแล้วส่วนหนึ่ง เราสามารถที่จะใช้เชื้อบิวเวอร์เรีย หรือเมธาไรเซียม สลับกับ สารสกัดจากเมล็ดสะเดา ช่วยทำให้ไข่ฝ่อและตัวอ่อนลอกคราบไม่ออก ก็จะช่วยลดขั้นตอนจากไข่กลายเป็นหนอนไปอีกขั้นตอนหนึ่ง หลังจากนั้นก็อาจจะมีหนอนที่หลุดรอดต่อเนื่องมาได้ แต่ไม่มากเนื่องด้วยการทำเกษตรนั้นเป็นเรื่องยากใช่ว่าจะบริหารจัดการให้หมดจนไปในคราวเดียวนั้นคงจะไม่ใช่ หรือแม้แต่ทำเป็นกระบวนการหรือเป็นระบบอย่างนี้ก็ไช่ว่าจะสำเร็จเสร็จสมอารมณ์หมายเสมอไป แต่อย่างน้อยก็สามารถช่วยทำให้การดูแลป้องกันแบบพึ่งพิงอิงอาศัยธรรมชาติ หรือการทำเกษตรแบบสมดุลทำได้ง่ายขึ้น หรือเป็นพื้นฐานให้พี่น้องเกษตรกรค่่อยลด ดัดแปลง ประยุกต์ได้ในโอกาสถัดไป

ในส่วนของหนอนที่เล็ดรอดหลงเหลืออยู่นั้นพี่น้องเกษตรกรควรใช้เชื้อบีทีชีวภาพหมักขยายกับน้ำมะพร้าวอ่อน, นมยูเฮชที, นมผง หรือน้ำเต้าหู้ก็ได้ หมักให้ได้ 24 – 48 ชั่วโมง นำมาฉีดพ่นในช่วงเย็นแดดอ่อน ทุกๆ 7 วัน เมื่อหนอนเข้ามาสัมผัสดูด เลียกินก็จะได้รับเชื้อบีทีชีวภาพเข้าไปในร่างกาย ซึ่งถือว่าเป็นเชื้อโรคของหนอน เชื้อบีทีก็จะสร้างกรดที่เป็นพิษต่อกระเพาะและลำไส้ของหนอน กรดโปรตีนนี้จะทิ่มแทงทำลายอวัยวะภายในทำให้หนอนป่วย ไม่สบาย หยุดนิ่งไม่ทำลายพืชตั้งแต่วันแรก พอวันที่สองท้องจะเริ่มดำ วันที่สามก็ตาย เทคนิควิธีการนี้สามารถทำให้หนอนที่ตัวใหญ่ๆ ล้มตายได้อย่างสบาย ซึ่งก็ถือว่ากว่าจะถึงวัยนี้ก็ได้ถูกตัดตอนจากกระบวนการเบื้องต้นไปมากพอสมควร….
ตอนแรกกะว่าจะให้จบในตอนนี้ แต่ว่าเอาเข้าจริง..ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเกษตรแบบปลอดสารพิษ เกษตรกรรมแบบธรรมชาติยังมีอีกพอสมควรจึงไม่อยากตัดตอนที่สำคัญๆออกไป คราวหน้ามาฟังกันต่อนะครับท่านผู้อ่าน อย่าพึ่งเบื่อนะครับ

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

บทความเกษตร”เกษตรกรรมธรรมชาติ พอเพียง เพียงพอ ทำง่ายไม่ต้องใช้ตังค์ (2)”

19 พ.ย.

บทความเกษตร”เกษตรกรรมธรรมชาติ พอเพียง เพียงพอ ทำง่ายไม่ต้องใช้ตังค์ (2)”
ก็สำเร็จเสร็จสมเรียบร้อยโรงเรียนเฮกไปแล้วนะครับในเรื่องการตัดสินเรื่องเขาพระวิหารของศาลโลกที่กรุงเฮก ประเทศ เนเธอร์แลนด์ พอจะสรุปได้คร่าวๆว่าให้รัฐบาลทั้งไทยและกัมพูชาหันหน้าเข้าหากันและแบ่งสรรปันส่วนร่วมกันบริหารมรดกโลกให้ลงตัว ส่วนพื้นที่ที่ทับซ้อนเพียงเล็กน้อยซึ่งไม่เกี่ยวกับภูมะเขือที่เราห่วงนักห่วงหนาว่าจะเสีย ไม่เกี่ยวกับแผนที่หรือเขตแดนที่จะล่วงล้ำเข้ามายังฝั่งอ่าวไทยนั้นศาลท่านมิได้เข้ามาแตะหรือยุ่งเกี่ยวเอาแต่เพียงเฉพาะที่มีการพิพาทกันเท่านั้น คือบริเวณชะง่อนผาที่รัฐบาลไทยและกัมพูชาจะต้องหันหน้ามาตกลงเจรจากันอย่างสันติโดยอาศัยความสัมพันธุ์อันดีซึ่งทั้งสองรัฐบาลมีให้แก่กันซึ่งก็เป็นไปตามที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายคาดการณ์ไว้ล่วงหกน้าแล้วว่าเราอาจจะได้แค่เจ๊า กับเจ๊ง การตัดสินครั้งนี้ก็ยังถือว่าใกล้เคียงกับเจ๊าไม่ถึงกับเจ๊งนะครับ หรือถ้ามองบวกก็อาจจะเรียกว่าเราไม่ต้องสูงเสียภูมะเขือและพื้นที่รอบๆ บริเวณเขาพระวิหารเพิ่มตามที่รัฐบาลกัมพูชาเรียกร้องซึ่งถือว่าโชคดี ต่อไปจะได้ร่วมแรงร่วมใจกันบริหารพื้นทีในนามเพื่อนบ้านและชาวอาเซียนต่อไป

กลับมาที่เรื่องของเรากันต่อครับ หลังจากที่เมื่อวานนี้ได้พูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการเกษตรกรรมธรรมชาติ ทำง่าย ไม่ต้องใช้ตังค์ เขียนอย่างนี้ท่านผู้อ่านอาจจะนึกตำหนิในใจว่ามันจะเป็นไปได้หรือที่จะคิดหรือจะทำอะไรในยุคสมัยนี้โดยที่มีเรื่องเงินเรื่องทองเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ขอออกตัวไว้เสียก่อนเลยนะครับ ว่าคงจะไม่ถึงขนาดนั้น เพราะเป้าหมายหรือจุดหมายของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน แต่ถ้าทำในรูปแบบพออยู่พอกินกันเองในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายประหยัดเงินมิต้องซื้อมิต้องหาจากข้างนอกก็ถือว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะไม่ต้องใช้ตังค์ได้อย่างแน่นอนครับ เพราะการทำเกษตรกรรมแบบธรรมชาตินั้น เน้นการทำดินให้ดีด้วยการเติมอินทรียวัตถุลงไปในผืนดินให้ได้มากที่สุด เหมือนกับใบไม้ที่สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันร่วงหล่นลงไปบนดิน ทั้งต้นสูง ต้นกลาง ต้นเตี้ย และที่ต้นหรือหัวอยู่ในดิน ซึ่งล้วนแต่ต้องพึ่งพิงอิงอาศัยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนคืนร่างกาย อวัยวะบางส่วนกลับไปสู่ผืน จึงทำให้ผืนดินในป่ามิเคยเหือดแห้ง ต้นไม้สูงใหญ่ได้โดยมิต้องมีคนรดน้ำ ใส่ปุ๋ย หรือฉีดพ่นปุ๋ยยาฮอร์โมนลงไปแม้แต่หยดเดียว

หลังจากที่หมั่นเติมอินทรียวัตถุจนดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมือนป่าเปิดใหม่แล้ว ก็ให้หมั่นตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่างของดินอย่างน้อยปีละครั้งหรือสองครั้ง เพื่อคอยควบคุมมิให้ค่าความเป็นกรดและด่างของดินเลยจุดความเหมาะสมที่พืชต้องการ ค่าความเป็นกรดและด่างที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชคือจะต้องเป็นกรดอ่อนๆ คือมีค่าพีเอชอยู่ที่ 5.8-6.3 ดังนั้นการที่จะควบคุมค่าพีเอชของดินให้นิ่งก่อนจะใส่จะเติมวัสดุที่เป็นกลุ่มปูนซึ่งมีความเป็นด่างอยู่ในตัวอย่าง ปูนมาร์ล, ปูนขาว, โดโลไมท์ และฟอสฟอส จะต้องตรวจวัดค่าความเป็นกรดและด่างของดินให้ดีเสียก่อน มิฉะนั้นจะกลายเป็นการกระหน่ำซ้ำเติมผืนดินให้ยิ่งแย่ลงไปจากเดิม คือกลายสภาพจากกรดกลายเป็นด่าง ซึ่งแก้ไขปัญหาให้มีค่าลงมาอยู่ในจุดที่เหมาะสมนั้นยากกว่าดินที่เป็นกรดและอาจจะต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ….
สำหรับวันนี้ต้องขออนุญาตท่านผู้อ่านเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ รายละเอียดต่างๆจะนำมาเรียงรายขยายความเพิ่มเติมให้ในโอกาสถัดไป

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

แมลงหวี่ แมลงวันในโรงเห็ด ป้องกันกำจัดอย่างไร

18 พ.ย.

เห็ดคือแหล่งโปรตีนที่สำคัญในอนาคตท่ามกลางสภาวะอากาศโลกที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงเพิ่มความรุนแรง บวกกับประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่พืชผลทางการเกษตรผลิตได้น้อยลงหรือเท่าเดิมไม่เพียงพอต่อต้องการของประชากรโลก กว่าพันล้านคนต้องขาดสารอาหาร เห็ดเป็นอาหารที่สามารถทดแทนพืชโปรตีน เนื้อสัตว์ได้อย่างดี ง่ายในการผลิตภายใต้ภาวะอากาศที่ควบคุมดูแลได้ ไม่ต้องใช้สารเคมี ใช้พื้นที่น้อย ต้นทุนไม่สูง ไม่ต้องใช้ฮอร์โมนหรือปุ๋ย เร่งการเจริญเติบโตมาก นอกจากเป็นอาหารแล้วยังเป็นยารักษาโรคได้ด้วย ที่สำคัญรสชาติดีอย่าบอกใครเชียว แล้ววันนี้คุณรับประทานเห็ดหรือยัง ?

เกษตรกรที่เพาะเห็ดส่วนใหญ่มักประสบปัญหาการเข้าทำลายของหนอนแมลงหวี่ แมลงวัน มักเกิดขึ้นหลังเปิดดอกเห็ดแล้ว ซึ่งมีทั้งหนอนขนาดเล็กสีน้ำตาล จนถึงขนาดใหญ่เท่าหัวไม้ขีด กัดกินทำลายเส้นใยทำให้ก้อนเห็ดเน่า เสีย อายุเก็บเกี่ยวสั้นลง นอกจากนั้นตัวเต็มที่พัฒนาเป็นแมลงหวี่ ยังสร้างความรำคาญให้ผู้ปฏิบัติงานในโรงเรือนเห็ด และปัญหาที่ว่านี้ไม่ควรแก้ปัญหาโดยการฉีดพ่นสารเคมี เพราะเห็ดเจริญเติบโตไว ต้องเก็บทุกวัน หากฉีดพ่นเคมีเข้าไปจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตราย ผู้ผลิตที่มีคุณธรรมจะไม่ใช้สารเคมีในการแก้ปัญหา แต่จะใช้วิธีจัดการฟาร์มให้สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก กำจัดก้อนเชื้อที่มีหนอนทำลายไม่ให้ระบาดต่อ หมั่นดูความผิดปกติของเห็ดที่เพาะอย่างสม่ำเสมอ เน้นป้องกันมากกว่าการกำจัด มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.ทำความสะอาดโรงเรือนเพาะหรือหากเป็นโรงเรือนเก่าที่เคยเพาะเห็ดมาแล้วควรว่างเว้นพักทำความสะอาดกำจัดแมลงไรและเชื้อรา
2.คัดเลือกเชื้อพันธุ์เห็ดหรือก้อนเชื้อเห็ดจากแหล่งผลิตที่ไม่มีประวัติการระบาดทำลายของแมลงวันศัตรูเห็ดมาก่อน หากไม่ทราบแหล่งที่มาของถุงก้อนเชื้อเห็ด ในขณะที่เส้นใยเห็ดเดินมากกว่า 25 % หรือก่อนเปิดดอกควรฉีดพ่น ด้วยสมุนไพรรวมไทเกอร์เฮิร์บ ซึ่งมีขมิ้นชัน,ฟ้าทะลายโจร,ตะไคร้หอมเป็นส่วนผสม ในอัตรา 5-10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ตรงก้อนและบริเวณรอบๆ ที่บ่มก้อนเชื้อ
3.ก่อนนำเข้าเปิดดอกในโรงเรือนควรคัดทิ้งถุงก้อนเชื้อเห็ดที่แสดงอาการเข้าทำลายของแมลง โรค เชื้อราและไร หรือหากไม่แน่ใจควรแยกกองไว้ต่างหาก
4.ติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลืองจำนวน 8-10 จุดต่อโรงเรือน แขวนสูงจากพื้นโรงเรือน 1.50 -1.80 เมตร ซึ่งไม่ขวางหรือเกะกะการเข้าปฏิบัติงานและควรเปลี่ยนกับดักกาวเหนียว เมื่อพบว่ามีตัวแมลงมาติดจนเต็มหรือประมาณ 45-60 วันครั้ง
5.ช่วงเปิดดอกหากพบมีการระบาดของหนอนรุนแรงให้ใช้เชื้อบาซิลลัส ธูริงเจนซิส หมักขยายเชื้อด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน (วิธีตามฉลากข้างกระป๋อง) นาน 24 -48ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นทั่วทั้งก้อนแต่ไม่แฉะเกินไป 1-2 วันครั้ง ติดต่อกัน 3ครั้ง จะช่วยลดปัญหาได้ถึง 80 -90 % ลดความเสียหายของผลผลิตได้เป็นอย่างดี
6.ช่วงเก็บดอกหากพบแมลงวันบินไป-มามากผิดปกติ ให้ฉีดพ่นด้วยสมุนไพรรวมไทเกอร์เฮิร์บรอบๆ โรงเรือนเว้นระยะประมาณ 4-5 วันครั้ง และเพิ่มจำนวนกับดักกาวเหนียวเหลืองเป็น 16 -20 จุดต่อโรงเรือน และควรแขวนไว้ใกล้ๆ มุมอับ เนื่องจากตัวเต็มวัยของแมลงวันชอบเกาะอยู่ที่มุมอับของโรงเรือน
7.เมื่อสิ้นสุดการเก็บดอกเห็ดแล้ว ถุงก้อนเชื้อเห็ดที่พบการทำลายของหนอนแมลงวันควรทำการฝังหรือเผาทิ้ง เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง เชื้อโรคและไรศัตรูเห็ด ไมให้แพร่กระจายเข้าสู่โรงเรือนเพาะเห็ดข้างเคียงต่อไป
8.การพักโรงเรือนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นในระหว่างพักโรงเรือน เปิดโรงเรือนทิ้งไว้ 5-7 วัน จากนั้นทำความสะอาดด้วยน้ำยาคลอร็อกซ์ อัตรา 2-3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร หรือผงซักฟอก เมื่อแห้งแล้วจึงปิดโรงเรือน 7-10 วัน แล้วฉีดพ่นด้วยสมุนไพรรวมไทเกอร์เฮิร์ปร่วมกับบาซิลลัส –พลายแก้ว (กำจัดรา)และบาซิลลัส-ไมโตฟากัส (กำจัดไรเห็ด) ให้ทั่วทั้งโรงเรือน 3-5 วันครั้ง ติดต่อกัน 2 ครั้ง ก่อนจะนำก้อนเชื้อเห็ดรุ่นใหม่เข้าเปิดดอกต่อไป
มิตรเกษตรกรท่านใดที่กำลังเพาะเห็ดอยู่ แล้วมีปัญหาแมลงวันหรือแมลงหวี่รบกวน แก้ปัญหาไม่ตก สามารถโทรศัพท์ปรึกษาได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (02-9861680 -2) หรือคุณเอกรินทร์ ช่วยชู (081-3983128)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email:thaigreenagro@gmail.com

บทความเกษตร”เกษตรกรรมธรรมชาติ พอเพียง เพียงพอ ทำง่ายไม่ต้องใช้ตังค์ (1)”

15 พ.ย.

บทความเกษตร”เกษตรกรรมธรรมชาติ พอเพียง เพียงพอ ทำง่ายไม่ต้องใช้ตังค์ (1)”
การทำการเกษตรในปัจจุบัน ผู้คนค้นหาให้ความสนใจและไฝ่ฝันเลือกวิธีที่จะลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ปลอดภัย ไร้สารพิษ ซึ่งนั่นก็ช่วยทำให้ตัวของพี่น้องเกษตรกรมีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญที่เพิ่มขึ้นจากการขวนขวาย ซึ่งในภาพรวมก็จะช่วยทำให้ประเทศชาติของเรามีบุคลลากรและผลิตผลจากการเกษตรที่มีคุณภาพ ยิ่งมีจำนวนเกษตรกรที่เป็นประเภทหัวก้าวหน้ามากเท่าใดยิ่งเป็นผลดีต่อประเทศไทยเรามากขึ้นเท่านั้น

ประเทศเวียดนามนั้น หลังจากที่ประชาชนคนของเขารบชนะทั้งอเมริกา ฝรั่งเศสแล้ว ประเทศเวียดนามยังมีความสามารถสร้างศักยภาพในการผลิตข้าวส่งออกให้ได้มากกว่าไทย และชนะไทยทั้งปริมาณและคุณภาพในระยะเวลาอันใกล้นี้ โดยมีนโยบาย 3 ลด 3 เพิ่ม คือ ลดต้นทุน ลดการใช้สารเคมียาปราบศัตรูพืช และลดเมล็ดพันธุ์ เพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพและเพิ่มกำไร ให้แก่พี่น้องเกษตรกร จนเกิดกำลังกาย กำลังใจแก่พี่น้องชาวไร่ชาวนาของเวียดนาม ในการมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอาชีพกสิกรรมตามที่รัฐบาลส่งเสริม จนสามารถที่จะส่งออกข้าวได้มากกว่าไทยไปแล้ว แถมยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ผลผลิตก็มากกว่า

ภาพ : ชาวนาในประเทศเวียดนาม

การทำเกษตรกรรมแบบธรรมชาตินั้นก็คือการที่ต้องหมั่นสร้างประสบการณ์ สังเกต เลียนแบบจดจำธรรมชาติอย่างในป่าเขาลำเนาไพร ที่ไม่ต้องมีใครเดินเข้าไปใส่ปุ๋ย ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงแม้แต่หยดเดียว แต่ต้นไม้ต่างๆ เหล่านั้นก็สามารถที่จะมีชีวิตที่ยืนยาวเจริญเติบโตให้ร่มเงาเป็นที่อยู่อาศัยแก่สรรพสิ่งทั้งหลายที่อาศัยในป่าเขาลำเนาไพรนั้น ๆ เฉกเช่นเดียวกันครับ ถ้าเราเพียงต้องการทำการเกษตรแบบเพื่อพึ่งพิงอิงอาศัยกันเองในครอบครัว โดยที่ไม่ต้องซื้อหาต้องหา สร้างภาระค่าใช้จ่ายจากนอกบ้าน ก็น้อมนำพระราชดำรัสของในหลวงที่ให้แบ่งพื้นที่ 30 : 30 : 30 : 10 ไว้สำหรับการปลูกที่อยู่อาศัย สระน้ำประจำไร่นา ปลูกข้าว ปลูกพืชไร่ไม้ผล ปลูกในสิ่งที่กิน กินในสิ่งที่ปลูก ก็สามารถที่จะทำการเกษตรแบบต้นทุนต่ำได้จริงอย่างแน่นอน

SoilPH2012.gif Pumice_Sulpher02.jpg

ตรวจวัดดินก่อนปรับปรุงบำรุงดิน ด้วยหินภุเขาไฟ ช่วยลดการใช้ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง

สำหรับวิธีการทำเกษตรกรรมทำแบบพออยู่พอกินนั้น….แรกเริ่มเลยต้องหมั่นสำรวจตรวจวัดกรดด่างของดิน เพื่อป้องกันการจับยึด การบล็อกของดินจากสภาวะความเป็นกรด หรือด่างจัด ลำดับที่สอง หมั่นเติมอินทรียวัตถุลงไปในดินอย่างสม่ำเสมอเหมือนใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมลงไปบนผืนป่าทุกวัน เศษไม้ใบหญ้าที่ทับถมสะสมอยู่ในป่าเป็นหลายหลายสิบหลายร้อยปีนั้นก็จะผุพังย่อยสลายกลายเป็นฮิวมัส สร้างความชุ่มชื้น รักษาโครงสร้างดินให้แข็งแรง ไม่ร่วนป่นจนเกินไป ไม่เหนียวแน่นจนระบายถ่ายเทน้ำไม่ได้ เพราะฉะนั้นดินที่หมั่นเติมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกดินก็จะไม่เสื่อมไม่เสีย แถมในระยะยาวจะช่วยทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีอาหารมากเพียงพอต่อการปลูกหรือผลิตพืชไร่ไม้ผลไว้ทานกันเองในครัวเรือนโดยที่ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเข้ามาแต่งเติม หรือจะเป็นการปลูกพืชผักสวนครัวก็สามารถที่จะกระทำได้เช่นกัน เพราะพืชผักสวนครัวรั้วกินได้นั้นก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์มากเกินไป สามารถที่จะปรับเปลี่ยนในเรื่องของดินโดยการเติมอินทรีย์วัตถุให้มีความอุดมสมบูรณ์ก็สามารถที่ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ได้อย่างสบายไม่ต้องใช้ตังค์เยอะ ยิ่งเพาะปลูกกันเพียงเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนด้วยแล้ว ไม่จำเป็นต้องซื้อปุ๋ยยาฮอร์โมนอย่างอื่นให้สิ้นเปลืองเลยนะครับ เพราะสามารถตอบสนองต่อการบริโภคหรือมีเหลือไว้เผื่อขายเล็กๆ น้อยๆ ได้อย่างแน่นอน สำหรับวันนี้อาจจะใช้พื้นที่การเขียนไปพอสมควร ไว้ในโอกาสต่อไปจะนำเทคนิควิธีการทำเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพ แบบพอเพียงไม่ต้องใช้สตุ้งสตังค์ให้สิ้นเปลืองจนมากมายเกินไปนัก

คุณมนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

บทความเกษตร”หินแร่ภูเขาไฟ ใช้จับตรึงสารพิษและแก้ปัญหาดินเสื่อมจากแร่ธาตุฟอสฟอรัส”

14 พ.ย.

บทความเกษตร”หินแร่ภูเขาไฟ ใช้จับตรึงสารพิษและแก้ปัญหาดินเสื่อมจากแร่ธาตุฟอสฟอรัส”
ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นและมีความสำคัญค่อนข้างมากก็คือ ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่กล่าวมาอย่างนี้ใช่ว่าธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม และธาตุพิเศษ จะไม่จำเป็นนะครับ เพียงแต่จะพูดในเรื่องของความสำคัญหรือปริมาณที่พืชต้องการนำแร่ธาตุสารอาหารต่างๆเหล่านี้ไปใช้เป็นส่วนประกอบให้แก่เซลล์ เพื่อช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างสมดุลเป็นไปตามการปรุงแต่งของธรรมชาติที่คำจุนเกื้อหนุนได้อย่างเหมาะสม เพราะถ้าขาดธาตุอาหารหลัก (N P K ) เหล่านี้ พืชจะแคระ แกร็น ชะงักงัน ชะลอการเจริญเติบโต สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน เมื่อเห็นพืชที่ขึ้นในพื้นที่ดินแน่น ดินแข็ง หรือดินทรายจัด กับพืชที่อยู่ในแหล่งของน้ำไหลทรายมูล ดินดำน้ำชุ่ม การเจริญเติบโตก็จะแตกต่างกันอย่างแน่นอน

รอยตะเข็บเปลือกโลกหรือแนวภูเขาไฟเก่า (ดับแล้ว) ในประเทศไทย “http://pizzii-eve.exteen.com/page-3”

เมื่อเป็นธาตุอาหารหลัก ช่วยสร้างการเจริญเติบโตให้แก่พืชเป็นหลัก และต้องมีสะสมอยู่ในดินมากกว่าแร่ธาตุสารอาหารตัวอื่น ๆ เป็นหลัก อีกทั้งพืชก็จะดูดกิแร่ธาตุสารอหารเหล่านี้เป็นอาหารหลัก จึงทำให้ดินสูญเสียหดหายไปอย่างรวดเร็ว เราจึงเห็นแต่พี่น้องเกษตรกรมักจะซื้อปุ๋ยเคมีที่มีแร่ธาตุอาหารเพียงหนึ่ง สอง หรือสามตัวอย่างเช่น 15-15-15, 16-20-0, 46-0-0 เป็นหลักเท่านั้นในการเพิ่มเติมเสริมลงไปในดิน ก็เนื่องด้วยเหตุเหล่านี้นี่เอง ต่อมามีการพัฒนาองค์ความรู้จนมีขีดความสามารถมากขึ้น มีการใช้กลุ่มของหินปูนที่มีองค์ประกอบของ ธาตุหลัก ธาตุรอง มาใช้แทนปุ๋ยเคมีอยู่บ้าง ซึ่งนั่นก็คือ ปูนมาร์ล, ปูนเปลือกหอย, ปูนบด (แคลเซียมคาร์บอเนต [ca (co3) 2], โดโลไมท์ (แคลเซียม แมกนีเซียม คาร์บอเนต [Ca mg (co3)2] ) หรือ ฟอสเฟต [Ca3 (Po4)] ซึ่งแร่ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม และแมกนีเซียมเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แร่ธาตุฟอสฟอรัส เมื่อสะสมอยู่ในดินนานเข้าก็ทำให้ดินเสื่อม ดินเสีย เนื่องจากฟอสฟอรัสเมื่อสะสมอยู่ในดินมากเข้า ก็จะทำให้ดินเสื่อมคุณภาพเนื่องจากการทำปฏิกริยากับแคลเซียมแร่ธาตุต่างๆ จากดิน ทำให้เกิดการแยกย้ายสลายตัวของฟอสฟอรัสหรือแร่ธาตุสารอาหารต่างในดินออกไปเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ยากขึ้น ละลายยาก ไม่ละลาย บางครั้งกรดฟอสฟอรัสก็ทำปฏิกิริยาให้ดินเหนียวปล่อยประจุพวกเหล็ก ทองแดง แมงกานีส ออกมาจนเป็นพิษต่อพืช

จากหินภูเขาไฟลงกระสอบ เพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดิน ในแบรด์นใบไม้ลายธงชาติ

อย่างไรก็ตาม มีรายงานเกี่ยวกับเรื่องอิทธิพลของซิลิกอนและฟอสฟอรัสต่อการดูดใช้ธาตุอาหารของข้าว ข้าวโพดในชุดดินเปรี้ยวจัด ชุดรังสิตกรดจัด โดย. รัตนชาติ ช่วยบุดดา, จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข,พจนีย์ มอญเจริญ, เอ็จ สโรบล ว่าเมื่อมีการใช้กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ ซีโอไลท์ (Zeolite) ลงไปในดิน สามารถที่จะช่วยทำให้ดิน มีคุณภาพที่ดีขึ้นจากเดิม โดยทำให้ฟอสฟอรัสปรับสภาพตัวเองและแร่ธาตุสารอาหารอื่นๆ ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดกินขึ้นไปใช้ได้มากขึ้น จึงช่วยเพิ่มผลผลิต เร่งการเจริญเติบโต โดยเฉพาะกับพืชที่ใช้ทดสอบในงานวิจัยครั้งนี้นั่นก็คือ ข้าวและข้าวโพด ถือว่ามีการเจริญเติบโตได้อย่างมีนัยสำคัญอีกทั้งช่วยลดปริมาณเมล็ดข้าวผอมข้าวลีบลงไป โดยมีความแตกต่างจากดินที่ไม่มีการใช้หินแร่ภูเขาไฟร่วมด้วยอย่างชัดเจน นอกจากหินแร่ภูเขาไฟจะช่วยปรับปรุงบำรุงดินได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมีรายงานที่เกี่ยวกับเรื่องการจับตรึงสารพิษในดิน (toxin binder) ได้ดีอีกด้วย โดยเฉพาะพื้นดินที่มีการฉีดพ่นยาคุมฆ่าหญ้าหรือ ยาฆ่าแมลงสารเคมีกำจัดศัตรูที่ร่วงหล่นตกลงไปสะสมในดินมายาวนาน หินแร่ภูเขาไฟก็จะช่วยให้ดินสะอาดขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชมากขึ้น

คุณมนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com