Archive | มกราคม, 2017

เทคนิควิธีป้องกันรักษาโรคตายพลายของกล้วย

31 ม.ค.

การปลูกกล้วยเป็นอาชีพนั้นเกษตรกรรายใหม่ๆที่มีความคิดที่อยากจะปลูกเพราะราคาดี ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวนเหมือนพืชชนิดอื่นๆ นั่นนับว่าเป็นความผิดที่ผิดเพราะกล้วยก็มีโรคและแมลงศัตรูพืชที่น่ากลัวไม่แพ้พืชชนิดอื่นๆ โรคที่ชาวสวนกล้วยกลัวกันมากที่สุดน่าจะเป็น “โรคตายพลาย” ซึ่งเป็นโรคที่ระบาดรุกรามสร้างความเสียหายได้ทั้งสวน ถ้าโรคตายพรายระบาดแล้วก็ยากที่จะป้องกันรักษา ถ้าเอาไม่อยู่กล้วยทั้งสวนก็อาจตายหมดสวนเลยก็ว่าได้ วันนี้ทางผู้เขียนจะมาแนะนำวิธีการรักษาโรคตายพรายในการปลูกกล้วยมาให้ได้รับทราบกันครับ โดยโรคตายพรายนั้นเกิดจาก เชื้อรา F. oxysporum schlect. f. sp. cubense (E. F. Smith) Snyder & Hansens เข้าสู่พืชทางรากและแพร่กระจายสูท่อลำเลียงน้ำทำให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตายเป็นสีน้ำตาลในท่อลำเลียงของลำต้นเทียมของกล้วย และลุกลามขึ้นสู่ก้านใบ โคนใบแก่ด้านนอกมีสีซีดเหลือง และผืนใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลโดยเริ่มจากขอบใบเข้าสู่กลางใบและใบหักพับภายใน 1-2 สัปดาห์ และในที่สุดลำต้นเทียมจะยืนต้นตายหรือล้มตายลงไป เมื่อผ่าลำต้นเทียมหรือกาบใบที่อยู่ใกล้ระดับผิวดินตามยาว จะพบกลุ่มท่อลำเลียงที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือแดง เมื่อผ่าเหง้า โคนต้น ลำต้นเทียม ก้านเครือ ก็จะพบอาการลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ซึ่งต่างจากต้นปกติที่เนื้อเยื่อเหล่านี้จะมีสีขาว ส่วนใหญ่พบเชื้อรานี้แพร่กระจายอยู่ในบริเวณเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน มักจะเป็นกับกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป โดยจะเห็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ก่อน ต่อมาปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มเหลือง และขยายออกไปอย่างรวดเร็วจนเหลืองทั่วใบ ใบอ่อนจะมีอาการเหลืองไหม้หรือตายนึ่งและบิดเป็นคลื่น ใบกล้วยจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ ใบยอดจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก ต่อมาก็ตายไปเช่นกัน กล้วยที่ตกเครือแล้วจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ หรือแก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามจืด บางครั้งพบใบกล้วยหักพับที่โคนใบโดยไม่แสดงอาการใบเหลือง หรือเหลืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าตัดลำต้นตามขวางจะพบว่าเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง และอาจมีเส้นใยของเชื้อราให้เห็นบ้าง วิธีการป้องกันรักษาโรคตายพรายในกล้วยแบบวิธีของชมรมเกษตรปลอดสารพิษก็คือ การนำฟังส์กัสเคลียร์ซึ่งเป็นผงจุลสีมาผสมน้ำฉีดพ่นเพื่อทำลายเชื้อราให้ฟ่อไม่ให้ลุกลามหรือแพร่ระบาดไปได้จากนั้นให้ใช้ ไบโอเซ็นเซอร์ ฉีดพ่นสลับกับ อินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า) เพื่อทำลายเชื้อราให้หมดอาจจะพ่น 3 วัน/ครั้งในกรณีระบาด(ถ้ากล้วยแสดงอาการระบาดหนักให้ฉีดทุกวัน) และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กล้วยด้วยหินแร่ภูเขาไฟ พูมิช-ซัลเฟอร์โรยรอบๆโคนต้นกล้วย เพื่อทำให้กล้วยนั้นฟื้นจากโรคตายพรายเร็วขึ้น และยังเสริมความแข็งแกร่งให้กับกล้วยด้วย เราสามารถใช้หินแร่ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์โรยรอบๆต้นกล้วยทุกๆ 30 วันเพื่อให้ต้นกล้วยมีภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆได้ดี………
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นายจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่ฝ่ายวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือทางระบบ LINE ID : tga003 และ tga004
เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
แนะนำติชม thaigreenagro@gmail.com

ป้องกันกำจัดปลวก ด้วยจุลินทรีย์ฟอร์แทรน ปลอดภัยไร้สารพิษ

30 ม.ค.

เรื่องราวที่ผู้เขียนจำนำเสนอในบทความตอนนี้ก็คือเรื่อง ปลวก ที่ชอบระบาดในบ้านและสวนพร้องทั้งวิธีป้องกันกำจัดด้วยวิธีปลอดสารพิษ สิ่งที่เราต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นคือการที่ ปลวกจะเข้ามาผสมพันธุ์และใช้พื้นที่ในบ้านของเราในการสร้างรังของมัน ปลวกเป็นแมลงสังคมเพราะภายในรังจะมีการแบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆ ซึ่งเราก็ได้รู้จักปลวกในแต่ละวรรณะกันแล้วในคราวก่อน ในครั้งนี้เรามารู้ถึงวงจรชีวิตของปลวกกันเพื่อเป็นการเพิ่มความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำรงชีพของปลวกและเพื่อเป็นการป้องกันกำจัดได้อย่างสมบูรณ์ยิ่ง ขึ้น เริ่มจากปลวกตัวเต็มวัยจะมีปีกหรือที่เรารู้จักกันว่า ”แมลงเม่า” เราจะพบแมลงเม่ามากในช่วงต้นฤดูฝน (พฤษภาคม-มิถุนายน) หรืออีกช่วงหนึ่งจะเป็นช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์ ถ้าในช่วงดังกล่าวมีฝนตกผิดฤดู ช่วงดังกล่าวจะมีปริมาณความชื้นสูง จึงเป็นระยะที่เหมาะกับการผสมพันธุ์เราจึงสามารถพบเห็นแมลงเม่าได้มากในระยะดังกล่าว แมลงเม่าเป็นปลวกทั้งเพศผู้และเพศเมียที่ไม่เป็นหมัน เมื่อบินออกจากรังจะจับคู่กันแล้วจะสลัดปีกทิ้ง จากนั้นจะพากันไปหาสถานที่ที่เหมาะสมในการที่จะเป็นรังใหม่ของมันต่อไปนั่นคือที่ที่มีความชื้นสูงและมีอาหารคือไม้อยู่อย่างพอเพียง ขั้นตอนการผสมพันธุ์เริ่มจากเพศเมีย ซึ่งเป็นราชินีปลวกจะชูส่วนท้องและปล่อยกลิ่นฟีโรโมนเพศ ทำให้ปลวกราชาเคลื่อนที่เข้าไปหาและเริ่มการผสมพันธุ์ เมื่อสร้างรังเสร็จตัวเมียจะเริ่มวางไข่ในระยะต่อมาภายในระยะเวลา 1 เดือน การวางไข่ครั้งแรกจะมีจำนวนน้อยประมาณ 10 ฟองหรือมากกว่า ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนออกมาภายในเวลาหลายสัปดาห์ โดยปลวกรุ่นแรกจะเป็นปลวกงานและปลวกทหาร ในระยะแรกตัวอ่อนจะได้รับอาหารจากปลวกราชินีโดยการกินมูลและอาหาร ซึ่งทำให้ปลวกได้รับโปรโตซัวและแบคทีเรีย ต่อมาส่วนท้องของปลวกราชินีจะขยายใหญ่ขึ้นจะเริ่มวางไข่อีกและจะเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนไม่ได้ ในครั้งนี้จะเป็นการผลิตปลวกงานและปลวกทหารให้เพิ่มขึ้น ในระยะ 3-4 ปีต่อมาราชินีจึงวางไข่เพื่อผลิตวรรณะสืบพันธุ์ชุดแรก (primary reproductive) สำหรับตัวราชาปลวกจะมีรูปร่างขยายขึ้นกว่าเดิมไม่มากนัก จะคอยอยู่ใกล้ๆ กับตัวนางพญาปลวกเพื่อทำการผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียว ปัญหาเรื่อง “ปลวก” ที่มักก่อกวนและสร้างความรำคาญใจให้กับมนุษย์เราในทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่อยู่อาศัย ไร่นา สวนป่า สวนยาง ฯลฯ ปัจจุบันได้มีหลายหน่วยงานทั้งรัฐบาลและเอกชนได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือแก้ไขบรรเทาแก่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเหล่านั้นอยู่บ้าง แต่วิธีการรักษาและป้องกันกำจัดส่วนมากจะยังคงใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงเสียป็นส่วนใหญ่ทำให้ไม่ได้รับความปลอดภัยทั้งคน สัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อม เพราะอาจจะมีสารพิษตกค้างก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย เชื้อจุลินทรีย์เมธาไรเซียม หรือชื่อการค้าที่ชมรมฯจำหน่ายคือ ฟอร์แทรน นั้นเกิดจากการค้นพบโดยบังเอิญของผู้ที่ศึกษาวิจัยและเพาะเห็ดยุคบุกเบิกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ที่ได้ทำการทดลองและศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเห็ดโคนว่าทำไมถึงได้เจริญเติบโตและขึ้นได้เฉพาะที่จอมปลวกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หลังจากที่ได้ขุดจอมปลวกเพื่อศึกษาโครงสร้างและระบบนิเวศน์ของรังปลวก ได้สังเกตเห็นว่าทุก ๆ จอมปลวกที่ร้างไปนั้น จะมีเชื้อราเขียวที่ชื่อว่า เมธาไรเซียม อยู่ที่รักเก่าร้างนั้นทุกครั้งไป ทำให้เกิดการศึกษาค้นคว้าวิจัยพัฒนาตามมาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการกำจัดปลวกอยู่ในปัจจุบัน คุณวัฒนา คนไว อยู่บ้านเลขที่85 หมู่ 9 ต.บ้านเอื้อง อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งก็มีปัญหาเรื่องปลวกในสวนและบริเวณรอบ ๆ บ้านอยู่ด้วยเหมือนกัน แต่จะใช้วิธีการป้องกันรักษาแบบปลอดสารพิษโดยการนำ เชื้อจุลินทรีย์ เมธาไรเซียม ไปใช้ทดแทนการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เพราะเกรงว่าจะได้ผลกระทบจากสารพิษที่ตกค้างจนอาจจะทำให้เกิดพิษภัยและโรคต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมาในภายหน้า วิธีการใช้โดยนำเชื้อจุลินทรีย์ฟอร์แทรน ผสมน้ำราดเทลงไปในรังปลวก โดยก่อนที่จะทำการราดรดจุลินทรีย์กำจัดปลวก ฟอร์แทรน ลงไปนั้น ได้นำเหล็กแหลมทิ่มตำลงไปในรังปลวกหลาย ๆ ครั้งเสียก่อน เพื่อจะได้ทำให้เชื้อฟอร์แทรน สามารถซึมซาบ ผ่านเข้าไปจนทั่วรังปลวกอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาการใช้ คุณวัฒนา จะใช้เชื้อจุลินทรีย์ฟอร์แทรน เพียงเดือนละครั้ง อัตราการใช้ไม่แน่นอนแล้วแต่ขนาดรังหรือตามความพอใจเสียเป็นส่วนใหญ่ หลังจากที่ได้ใช้ไปผลปรากฏว่าปลวกตายยกรัง และก็จะกลับมาสร้างรังใหม่ภายใน 1 เดือน โดยวัตถุประสงค์ของคุณวัฒนา บอกว่าจะไม่ฆ่าปลวกให้ตายทีเดียวทั้งหมด แต่จะใช้วิธีการควบคุมประชากรปลวกแทนโดยควบคุมไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะว่าต้องการที่จะเลี้ยงปลวกไว้ให้กินพวกเศษไม้เศษต่าง ๆ ในสวนของตนเอง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846 (ผู้เขียน)หรือสอบถามไปที่ ฝ่ายวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือสอบถามทางระบบ LINE ID : tga003 และ tga004 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี (นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
แนะนำติชม : thaigreenagro@gmail.com

น้ำท่วมภาคใต้ใส่ใจแก้ไขปัญหาพืชเศรษฐกิจหลังน้ำท่วม

27 ม.ค.

ปีนี้พี่น้องชาวใต้ถือว่าเจอศึกหนักตั้งแต่ต้นปีทีเดียวเชียวนะครับ เพราะประสบกับอุทกภัยภายใต้ปีไก่ทองหลายระรอก ภัยน้ำท่วมครั้งนี้จึงสร้างความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้ากับพี่น้องชาวใต้ ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ (ภาคกลางตอนล่าง) ชุมพร สุราษฎร์ธานีเรื่อยลงไปจนถึงพัทลุง ยะลาโน่นทีเดียวเชียวล่ะครับ เรียกว่าแทบจะทั่วทั้งด้ามขวานของไทยก็ว่าได้…จากการติดตามข่าวสารจากช่องทางอื่นๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์และสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ แล้วก็น่าเห็นใจ เพราะเกือบทุกพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยได้รับความเดือนร้อนอย่างหนักหนาสาหัส ขาดแคลนสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน รวมทั้งอาหารการกินและทรัพย์สินมีค่าต่างๆ บางส่วนอันตรธานสูญหายไปกับสายน้ำอย่างยากจะที่ทำใจ…ใครที่พอมีแรงกำลังจะส่งสิ่งของเครื่องใช้ไปช่วยเหลือผ่านตามช่องทางต่างๆ ก็น่าจะดีไม่น้อยนะครับเพราะว่า…เท่าที่ทราบ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่าง หมู หมา กา ไก่ ก็ไม่วายเว้นที่จะถูกผลกระทบจากน้ำท่วม กระแสน้ำได้พัดพาสัตว์ต่างๆเหล่านั้นให้จมน้ำ ล้มหายตายจากลงไปเป็นจำนวนมาก…..นับว่าน้ำท่วมครั้งนี้สร้างความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของภาคใต้และประเทศไทยของเราไม่น้อยทีเดียวจะอย่างไรก็ตามเหตุการณ์น้ำท่วมในภาคใต้นี้ก็กินระยะเวลามาพอสมควร และบางพื้นที่ก็ค่อยๆ คลี่คลายลงไปบ้างแล้ว การดูแลแก้ปัญหาหลังน้ำท่วมก็จัดว่าเป็นเรื่องสำคัญด้วยเหมือนกันนะครับ อย่างเช่นพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ไม้ผลภาคการเกษตร ในกรณีที่ยังไม่หนักหนาจนเหลือบ่ากว่าแรงที่จะแก้ไขก็ควรที่จะต้องรีบดำเนินการ….พื้นที่สวนยาง สวนปาล์ม ไม้ผลไม้ยืนต้นต่างๆ ที่มีน้ำท่วมขังควรจะหาจุดที่ต่ำที่สุดในพื้นที่แล้วทำการขุดเป็นสระเพื่อให้น้ำไหลไปรวมอยู่ในจุดเดียว หรือทำคันล้อมแล้ววิดระบายน้ำออกให้ได้โดยเร็ว ในกรณีที่ระดับน้ำเริ่มเบาบางแล้วนะครับ แต่ถ้าน้ำยังเยอะอยู่วิธีการนี้ก็จะใช้ไม่ได้ผล…ในส่วนของพื้นที่ที่เริ่มคลี่คลายแล้ว ต้องระมัดระวังอย่ารีบร้อนเข้าไปเหยียบย่ำซ้ำเติมพื้นที่รอบโคนต้นเพราะสาเหตุจากที่รากขาดอากาศหายใจมาเป็นระยะเวลานาน ย่อมอ่อนแอบอบช้ำ ถ้าเรารีบเข้าไปบริหารจัดการ นำคนและเครื่องจักรเข้าไปดูแลแก้ปัญหาในทันที อาจจะทำให้พืชยิ่งได้รับความบอบช้ำมากยิ่งขึ้น จากดินที่ยังเหลวเละ อาจจะส่งผลทำให้รากฉีดขาดแตกหักจนทำให้ต้นพืชล้มตายเสียหายอย่างไม่ควรจะเป็นเมื่อดินเริ่มแห้งเริ่มหมาดก็อาจจะโรยด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกบางๆใต้ทรงพุ่ม เพื่อรากพืชเริ่มฟื้นตัวเขาจะได้ใช้สารอาหารจากปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกไปทีละน้อย ถ้าใส่ปุ๋ยเคมีทันทีอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองกับระบบราก ซึ่งเรื่องนี้ควรค่อยๆทำในภายหลังจะดีกว่า ส่วนพืชที่ต้นไม่สูงมากนัก การฉีดพ่นให้ปุ๋ยหรืออาหารเสริมทางใบก็จะช่วยทำให้พืชฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเช่นเดียวกันก็ฝากพี่น้องเกษตรกรนำไปปรับใช้กันดูนะครับ โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรที่ปลูกยางพาราที่ตอนนี้ราคาก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ ถึงกิโลกรัมละ 70 บาทแล้ว เผื่อว่าจะได้ใช้ประโยชน์จากส่วนนี้นำไปดูแลไขปัญหาในสวนยางให้กลับมามีผลผลิตออกขายได้เงินมาใช้พอค่าหยูกค่ายาและเลี้ยงครอบครัวได้โดยเร็วครับ
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

พูมิชซัลเฟอร์ (หินภูเขาไฟ) ช่วยเพิ่มประสิทธิการดูดซึมปุ๋ย

26 ม.ค.

พืชผัก-ไม้ผลราคาขึ้นลงเป็นไปตามระบบกลไกของตลาด เกษตรกรธรรมดาอย่างเราๆไม่สามารถปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงใดๆได้ หากแต่ต้องยอมปล่อยให้มันเป็นไปตามระบบเช่นที่ผ่านมา ทำนาจำนำข้าวยังต้องรอ 2-3เดือนถึงจะได้รับเงินเลย ถ้านำรายรับรายจ่ายมาเปรียบเทียบเล่นๆแล้ว คงเหลือเก็บนิดๆหน่อยๆ แค่พอดำรงชีพไปวันๆ สิ่งที่ควรพิจารณาให้มากก็คือทุกวันนี้เราปลูกพืชแต่ละชนิด ได้ผลผลิตเต็มที่ตามที่ควรจะได้หรือยัง? กรด-ด่างของดินก็ส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการดูดซับปุ๋ย(กินปุ๋ย)หรือธาตุอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการละลายหมดทันทีของปุ๋ย ทำให้พืชเฝือใบ(บ้าใบ) ต้นอ่อนแอเป็นโรคง่าย ธาตุอาหารจะละลายปลดปล่อยให้ประโยชน์แก่พืชได้ดีที่สุดที่ช่วง pH 5.8-6.3 การตรวจวัด pH ของดินจึงควรกระทำทุกๆ 3เดือน หรืออย่างน้อยปีละ 2ครั้งก็ยังดี เพราะ pH ของดินมีผลกระทบมาจากการใส่ปุ๋ยเคมีต่อเนื่องอย่างยาวนาน ซึ่งส่วนใหญ่ทำให้ดินเป็นกรดแร่ธาตุละลายน้อยลง ยิ่งเป็นพืชที่ปลูกบนที่ดอนแล้วยิ่งส่งผลกระทบโดยตรงจากการชะล้างกำมะถัน(ซัลเฟอร์)ออกไป หากพืชขาดกำมะถันส่งผลให้กระบวนการสร้างโปรตีนไม่สมบูรณ์ ปกติปุ๋ยที่มีการเขียนสัญลักษณ์ (s)ท้ายสูตรเพื่อแสดงว่ามีกำมะถันผสมอยู่ มักจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยสูตรอื่นทั่วไป จึงไม่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเท่าไรนัก การผสมปุ๋ยใช้เองจะทำให้ประหยัดปุ๋ย สามารถชี้วัดอัตราผลผลิตที่ควรจะเป็นได้ ยิ่งเป็นปุ๋ยละลายช้าด้วยยิ่งทำให้ต้นทุนลดลงอีกเท่าตัว เพียงแค่เกษตรกรนำปุ๋ยเคมี 50กิโลกรัม เทกองพรมน้ำพอชื้น เติมซิลิโคเทรซ 500กรัม โพแทสเซียมฮิวเมท 500กรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนเติมพูมิชซัลเฟอร์ลงผสม 20กิโลกรัม คลุกเคล้าอีกครั้งก่อนนำไปหว่าน ส่วนการตรวจวัด pH ดิน ทำให้เรารู้ทิศทาง ว่าจะเดินไปทางไหน เลือกวิธีใดปรับปรุงบำรุงดินจึงจะเหมาะสม หาก pH ของดินต่ำกว่า 5.8 ก็ให้ใช้พูมิชซัลเฟอร์ แต่ถ้า pH ของดินสูงกว่า 6.3 ให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟตถุงแดงแทน นอกจากนี้พูมิชซัลเฟอร์ยังช่วยสลายสารพิษในดินไล่เกลือขึ้นสู่ผิวดินลดความเค็ม(ด่าง)ในดิน ช่วยจับตรึงปุ๋ยให้ละลายช้าลง และเมื่อใช้ปุ๋ยน้อย ต้นทุนการผลิตลดลง ต่อไปก็ไม่ต้องแคร์ว่าสินค้าราคาจะสูงหรือต่ำ แค่สินค้านั้นๆไม่ต่ำจนเป็นศูนย์ก็เพียงพอ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน 081-3983128 สำหรับท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ชมรมฯสอบถามได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ Line Center : tga001, tga002, tga003, tga004 *** สินค้าคุณภาพ…ต้องตราใบไม้ลายธงชาติ เท่านั้น ***
เขียนและรายงานโดย : นายเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com

เพาะเห็ดทานเอง ประหยัด ปลอดภัยต่อสุขภาพ

25 ม.ค.

พูดถึงเพาะเห็ดคนส่วนใหญ่จะนึกถึง การใช้พื้นที่เยอะๆและมีโรงเรือนขนาดใหญ่ มีคนคอยดูแลเป็นประจำ ซึ่งที่จริงแล้วถ้าเราต้องการจะเพาะเห็ดกินเอง ก็ทำได้ไม่ยากมีพื้นที่ 1 ตารางเมตร ก็สามารถเพาะเห็ดไว้ทานได้ทุกวัน และซึ่งเราสามารถเลือกเพาะเห็ดได้หลากหลายชนิดตามใจต้องการ ขึ้นอยู่ที่ว่าชอบทานเห็ดอะไร แต่จะให้ดีควรเลือกเห็ดที่เพาะง่ายก่อนเช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดภูฐาน เห็ดขอนขาว เห็ดฟาง เพราะเห็ดเหล่านี้จะออกดอกง่าย เจริญเติบโตได้ดีกับอุณหภูมิบ้านเรา เมื่อเกิดความชำนาญดีแล้วจึงค่อยๆขยายไปเพาะเห็ดที่ยากอย่างเช่นเห็ดหอม เห็ดโคนญี่ปุ่น ซึ่งจะออกดอกและเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิที่เย็น 20-30องศาเซลเซียส ส่วนวิธีเพาะก็จะเหมือนๆกับเห็ดอื่นๆโดยทั่วไป เพียงแค่เราย่อขนาดให้เล็กลง เห็ดทั่วๆไปก็สามารถเพาะในก้อนถุงพลาสติกหรือบนขอนไม้ได้ตามปกติ ยกเว้นเสียแต่เห็ดฟางที่ต้องเพาะในตะกร้าหรือกระสอบเพียงอย่างเดียว เนื่องจากการเพาะเห็ดกินเองจำต้องใช้พื้นที่น้อย ขั้นแรกเราต้องเลือกเห็ดที่จะนำมาเพาะตามที่เราชอบ โดยซื้อก้อนเห็ดที่เชื้อเดินเต็มแล้วราคาก้อนละ 7-15 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด จากนั้นก็นำมาเปิดดอกง่ายที่สุดก็เปิดดอกในห้องน้ำ ที่มีความชื้น มีการระบายอากาศที่ดี ไม่อับ หลังจากเปิดปากถุงประมาณ 7-10 วัน จะเกิดตุ่มดอก อีก 5-7 วันก็เริ่มเก็บดอกไปทานได้ จากนั้นเห็ดก็จะหยุดพักตัว รออีก 15-20 วัน เห็ดถึงจะให้ผลผลิตอีกรุ่นออกมา การให้น้ำก็ง่ายๆ เวลาที่เราอาบน้ำนั้นแหละ เพียงแต่คอยระวังอย่าให้น้ำเข้าในถุง รดเฉพาะบริเวณหลังก้อนหรือนอกถุงก็พอ หรือทำโรงเรือนเล็กๆ ใช้พื้นที่น้อยๆประมาณ 1 ตารางเมตร พอที่จะสามารถเพาะเห็ดได้ประมาณ 100 ก้อน เพียงแค่เรานี้ก็มีดอกเห็ดให้เก็บกินวันละ 2-3 ขีด สบายๆ เทคนิคง่ายๆ…ค่อยๆทะยอยนำก้อนเห็ดเข้าไปเปิดดอกทีละ 20ก้อนๆ ทุก 3-5 วัน จนครบ 100 ก้อน จากนั้นก็คอยดูแลรดน้ำ ควบคุมความชื้น อุณหภูมิให้เหมาะสมกับเห็ดแต่ละชนิดที่นำมาเพาะ จะทำให้เราสามารถเก็บดอกเห็ดไว้ทานได้ทุกวัน ซึ่งเห็ดจะออกดอกเช่นนี้ไปเรื่อยๆประมาณ 4-6 เดือน หรือจนกว่าก้อนเชื้อจะหมดสภาพ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับอาหารในก้อนด้วยครับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน 081-3983128 สำหรับท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ชมรมฯสอบถามได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ Line Center : tga001, tga002, tga003, tga004 *** สินค้าคุณภาพ…ต้องตราใบไม้ลายธงชาติ เท่านั้น ***
เขียนและรายงานโดย : นายเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com

ทำนาฤดูหนาวโดยไม่ต้องกลัวเรื่องข้าวกระทบหนาว

24 ม.ค.

สวัสดีครับพี่ๆน้องๆที่มีใจรักในการทำเกษตรปลอดสารพิษทุกๆท่านครับ วันนี้ทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะมาบอกเล่าความสำเร็จในการปลูกข้าวในช่วงที่สภาวะอากาศหนาวโดยยังได้ผลผลิตที่ดีเหมือนเดิม ความหนาวหรืออากาศหนาวไม่สามารถทำอะไรต่อข้าวที่ปลูกได้เลยในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคมนับมาจนถึงปัจจุบัน ทางผู้เขียนได้มีโอกาสโทรไปสอบถามความคืบหน้าในแปลงนาของคุณ ละออง ขอดทอง ซึ่งอยู่ที่บ้านเลขที่ 19 หมู่ 7 ต.ไก่เส่า อ.หนองแซง จ.สระบุรี ได้ทำการปลูกข้าวอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ และได้ปลูกข้าวในช่วงที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น โดยเมื่อก่อนการทำนาของพี่ ละออง จะได้ผลผลิตประมาณ 110 ถัง/ไร่ อยู่ประจำทุกๆครั้งที่ปลูกแต่ในครั้งนี้ก็ยังได้เหมือนเดิมแม้จะปลูกในช่วงหน้าหนาวก็ตาม โดยเคล็ดลับพี่ละอองได้บอกว่าต้องหมั่นปรับปรุงบำรุงดินให้ดีให้มีธาตุอาหารให้เพียงพอ โดยพี่ละอองจะใช้พูมิช-ซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัมผสมกับโพแทสเซียมฮิวเมท 1 กิโลกรัมและปุ๋ย 50 กิโลกรัม หว่านตามปรกติ แต่จะเพิ่มตัวฮอร์โมนชื่อ ซิลิโคเทรซและซิงคีเลท75% ฉีดพ่นทางใบตอนที่ข้าวจะใกล้เข้าสู่ช่วงรับท้อง และจะฉีดพ่นบำรุงไปตามระยะของข้าวตลอดไม่ให้ขาด ผลที่ได้ก็คือดินยังร่วนซุยอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม ผลผลิตก็ได้เหมือนเดิม จนรถเกี่ยวตกใจว่าทำไมข้าวได้เยอะเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงของคนอื่นที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่ได้แต่แกลบไม่ได้ข้าวกัน ซึ่งข้อมูลนี้ทางพี่ละอองได้ยืนยันว่าได้ผลจริงและชื่นชอบมากจึงขอบอกต่อให้เกษตรกรได้ทราบกันหรือเกษตรกรท่านไหนอยากจะเข้าไปสอบถามการปลูกข้าวกับพี่ละอองก็สามารถเชิญเข้าไปพูดคุยสอบถามกันได้เลยโดยพี่ละอองจะบอกเคล็ดลับต่างๆอย่างเต็มใจไม่ปิดบังอะไรเลย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นายจตุโชค จันทรภูมี(ผู้เขียน) โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่ฝ่ายวิชาการของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือทางระบบ LINE ID : tga003 และ tga004 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง…..
เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชต จันทรภูมี(นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

ดินเค็ม”ดินเกลือ”อย่าปล่อยไว้นานจนสายเกินแก้

23 ม.ค.

ดินเค็มหรือดินด่างหมายถึงดินที่มีปริมาณของเกลือละลายอยู่ในดินมากเกินค่ากำหนด จนกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือผลผลิตผลทางการเกษตร ทำให้ต้นพืชขาดน้ำ ขาดธาตุอาหารได้ง่าย เนื่องจากไม่สามารถละลายให้ประโยชน์ได้ ปัญหาดินเค็มหรือดินด่างเกิดขึ้นทั่วโลกไม่ว่าที่ตรงนั้นจะแห้งหรือชุ่มชื้น จะเป็นเขตชลประทานหรืออาศัยน้ำฝน ในประเทศไทยพบในภาคอีสาน ภาคกลางและชายทะเล ถือได้ว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่กระทบโดยตรงต่อภาคเกษตร ทำผลผลิตลดลง รายได้ขาดหายไป เกษตรกรส่วนหนึ่งต้องอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาเมืองหางานทำ ดินเค็มหรือดินที่มีส่วนผสมของเกลืออยู่นั้นถ้าลองสังเกตช่วงที่แดดร้อนจัดๆ และพื้นดินแห้งมากๆ จะพบว่ามีคราบสีขาวๆตกอยู่บนผิวดิน เมื่อลองชิมดูก็จะรู้สึกว่าเค็มปลายลิ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากเคมีที่ใช้ในภาคเกษตรมาอย่างยาวนาน บวกกับแหล่งน้ำจืดในธรรมชาติลดน้อยลง ไม่เพียงพอที่จะชะล้างเกลือในดินให้จืดลงได้ การชะล้างเกลือออกจากดินโดยใช้น้ำจึงเป็นแค่โจทย์ที่ไม่มีผลลัพธ์ ยังไม่เข้าตาจนถึงขนาดนั้นหรอกครับ มีอีกหลายวิธีที่สามารถช่วยลดความเค็มของดินลงได้ การปลูกโสนคางคก โสนอินเดียเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน อาจทำให้ดินร่วนซุย ถ่ายเทอากาศก็จริงอยู่ แต่หากใช้ร่วมกับหินภูเขาไฟอย่างภูไมท์ซัลเฟต(สีแดง)ที่ผลิตมาเพื่อปรับสภาพดินเค็มก็ยิ่งดีเป็นทวีคูณ และยังมี”ซิลิก้า”สารเพิ่มความแข็ง ทำให้เซลล์ลำต้นใบมีภูมิต้านทานต่อโรคแมลงมากขึ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน 081-3983128 สำหรับท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ชมรมฯสอบถามได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ Line Center : tga001, tga002, tga003, tga004 *** สินค้าคุณภาพ…ต้องตราใบไม้ลายธงชาติ เท่านั้น ***
เขียนและรายงานโดย : นายเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com

“ดิน” มีความสำคัญกับการปลูกพืชอย่างไร

20 ม.ค.

สวัสดีครับพี่ๆน้องๆที่มีใจรักเกษตรปลอดสารพิษทุกๆท่าน โดยในวันนี้เกษตรกรหลายๆท่านคงประสบปัญหาของธรรมชาติทำให้ต้องหยุดการทำการเกษตรกัน อย่างเช่น นาข้าว เกษตรกรนั้นต้องประสบปัญหาของราคาข้าวที่ลดน้อยต่ำลงอย่างมากแต่ต้นทุนนั้นยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาเรื่องน้ำ โดยภายในปีนี้เกษตรกรจะประสบปัญหาเรื่องของความแห้งแล้งทำให้ต้องหยุดการทำการเกษตร แต่ถึงท่านเกษตรกรจะหยุดการทำการเกษตรในตอนนี้แต่เกษตรกรทุกท่านก็จะต้องไม่หยุดการแสวงหาความรู้เพื่อนำมาพัฒนาอาชีพของตัวเองเพื่อที่จะลดต้นทุนและได้ผลผลิตแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย เรื่องของดินนั้นเกษตรกรหลายต่อหลายท่านนั้นยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลายๆอย่าง อาทิเช่น ค่า PH ของดิน ความร่วนซุยของดิน ธาตุอาหารภายในดิน ทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษจึงจะมาอธิบายเรื่องของดินให้เกษตรกรพ่อ แม่ พี่น้องได้ทราบกันครับ ประโยชน์ของดิน แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ 1.ประโยชน์ของดินต่อมนุษย์ เช่น เพื่อการยึดเกาะบ้านเรือนหรือที่พักอาศัย เป็นต้น และ 2.ประโยชน์ของดินต่อพืช คือ เป็นที่ยึดเกาะของพืช เป็นที่เก็บน้ำและธาตุอาหารของพืชเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชเพื่อให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดีนั้นจะต้องมีอินทรีย์วัตถุเยอะและมีค่า PH ของดินอยู่ที่ 5.8-6.3 เท่านั้น พืชจะเจริญเติบโตได้อย่างดี แต่ปัจจุบันเกษตรกรตักตวงผลผลิตออกไปไม่รู้กี่เท่าต่อกี่เท่าแต่เติมอินทรีย์วัตถุลงไปไม่กี่กิโลกรัม ดินจึงมีสภาพที่แน่นแข็ง ความร่วนซุยที่จะทำให้รากพืชนั้นหาอาหารเก่งและยาวนั้นก็ลดน้อยลง ยกตัวอย่างเช่น การปลูกข้าวเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วส่วนใหญ่มักจะเผาต่อซังฟางข้าวกัน โดยที่ต่อซังฟางข้าวนั้นก็เป็นอินทรีย์วัตถุอย่างดีให้เกษตรกรพ่อแม่พี่น้องแบบไม่ต้องไปหาซื้ออย่างอื่นมาเพิ่มและยังได้ปุ๋ยจากตอซังฟางข้าวอีก วิธีสังเกตุง่ายๆคือทางภาคกลาง เช่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น เมื่อถึงฤดูที่น้ำท่วมทุ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะปล่อยให้ตอซังฟางข้าวนั้นย่อยสลายอยู่ในแปลงนาของตัวเอง พอน้ำลดก็จะเริ่มทำการเกษตรกันต่อ ผลผลิตของเกษตรกรที่น้ำท่วมแปลงนานั้นจะได้กันไม่ต่ำกว่าเกวียนต่อไร่และผลผลิตจะค่อยๆลดลงเรื่อยๆในครั้งต่อไป และนี่เองก็เป็นอีกวิธีที่เกษตรกรต้องหมั่นสังเกตุว่าผลผลิตนั้นได้ดีเพราะอะไร นั่นก็เพราะได้อินทรีย์วัตถุเข้ามานั่นเองครับ ดินจึงร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี ธาตุอาหารภายในดินก็จะมีเยอะขึ้นค่า PH ของดินก็จะดีขึ้น ทำให้ผลผลิตดีขึ้นมา แต่ถ้าเกษตรกรไม่ให้ความสำคัญต่อดินเลยเกษตรกรนั่นแหละจะต้องลงทุนซื้อปุ๋ยและยามาบำรุงพืชให้เจริญเติบโตเยอะ และอีกวิธีหนึ่งในการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินก็คือการใช้กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟพูมิช-ซัลเฟอร์ มาปรับปรุงบำรุงดินของเกษตรกรเพียง 1-2 กระสอบ/ไร่(ต่อการเก็บเกี่ยว 1 ครั้งเท่านั้น) โดยพูมิช-ซัลเฟอร์จะมาเติมเต็มอินทรีย์วัตถุและปรับค่า PH ในแปลงของเกษตรกรได้อย่างดีและจะทำให้ผลผลิตของทุกๆท่านได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างแน่นอน
เขียนและรายงานโดย : จตุโชค จันทรภูมี (นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
แนะนำติชม : thaigreenagro@gmailmail.com

ปัญหามะนาวนอกฤดู(ทวาย) หน้าฝนคาบเกี่ยวหน้าหนาว

19 ม.ค.

เป็นที่ทราบกันดีว่ามะนาวชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ เนื่องจากดินแฉะทำให้มีรากเน่าได้ง่าย รากมะนาวดูดซับธาตุอาหารได้ไม่เต็มที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ ยิ่งปีไหนฝนตกชุกตลอดทั้งปีด้วยแล้วยิ่งทำให้มะนาวใบเหลือง รากเน่าได้ง่าย พอย่างเข้าหน้าหนาวก็ปล่อยทำทวายทำมะนาวนอกฤดูกัน ไม่มีโอกาสบำรุงรักษาต้นให้ฟื้นสภาพคืน ยิ่งปล่อยให้มะนาวออกดอกยิ่งทำให้ต้นทรุดโทรมเป็นโรคได้ง่าย ลองสังเกต…พอช่วงหน้าฝนคาบเกี่ยวหน้าหนาวปุ๊บ ปัญหานี้จะเกิดขึ้นปั๊บ และเกิดทุกพื้นที่ ไม่เลือกว่าเป็นภาคไหน ทางที่ดีควรป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ โดยใช้อินดิวเซอร์ 1กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยคอก(ขี้วัว,ขี้ไก่ฯลฯ)หรือปุ๋ยหมัก 100กิโลกรัม และพูมิชซัลเฟอร์ 40กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนนำไปหว่านกระจายให้รอบๆทรงพุ่ม ต้นละ 1-2 กิโลกรัม(แล้วแต่ขนาดของต้นของทรงพุ่ม) จะสามารถลดปัญหามะนาวใบเหลือง รากเน่าและใบร่วงได้
ยิ่งพื้นที่ใดภาคใดฝนตกชุกน้ำท่วมขังบ่อย ยิ่งต้องศึกษาภูมิประเทศควบคู่ไปด้วย ว่าพื้นที่ตรงนี้น้ำท่วมบ่อยมั้ย ถ้าบ่อยแล้วนานกี่วัน ท่วมสูงมั้ยกี่เซ็นกี่เมตร ได้หาวิธียกร่องป้องกันน้ำเข้าโคนต้น ส่วนโรคทางใบที่มักเกิดช่วงนี้ก็จะเป็นแคงเกอร์ ราเขียว ราดำ ราสีชมพู บางครั้งก็มีเพลี้ยไฟเข้าแจมบ้างบางพื้นที่ จึงต้องหมั่นตรวจสอบดูแลหาวิธีป้องกัน ถ้าเป็นราเป็นแคงเกอร์ก็ใช้ไบโอเซ็นเซอร์ 500กรัม ผสมสารสกัดเปลือกมังคุด(แซนโธไนท์) 20ซีซี.(2ช้อนโต๊ะ) ต่อน้ำ 200ลิตร แต่ถ้าเพลี้ยไฟก็ให้ใช้กากกาแฟสด 2กิโลกรัม แช่น้ำเปล่า 2ลิตร นาน 3 ชั่วโมง กรองเอากากออกก่อนนำไปผสม กับคัทอ๊อฟ 250กรัม +ฟอร์แทรน 250กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทุก 3วัน, 5วัน/ครั้ง ให้ชุ่มโชกทั่วทั้งต้นเหมือนอาบน้ำ ส่วนกากกาแฟสดที่เหลือให้นำไปหว่านบางๆรอบทรงพุ่ม ร่วมกับฟอร์แทรนสามารถป้องกันแมลงด้วง หนอนทราย มดคันไฟที่อยู่บริเวณโคนต้นมะนาวได้พอหลุดฝนเริ่มเข้าหนาว(เหนือ,อีสาน,ตะวันตก,กลาง)หรือร้อน(ใต้,ตะวันออก)อากาศจะเริ่มเปลี่ยนมีความชื้นสูง ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่มะนาวนอกฤดูกำลังออกดอกหรือเริ่มติดผลอ่อนๆ และที่สำคัญ…มันหมายถึงจำนวนผลผลิตที่จะตามมา การบำรุงต้นให้สมบูรณ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่เช่นนั้นมะนาวจะสลัดผลอ่อนที่เพิ่งติดออกเนื่องจากสภาพต้นไม่สมบูรณ์นั่นเอง ปัญหาต่อมาที่พบเจอคือ…เชื้อราลงขั้ว ซึ่งเกิดจากกลีบดอกที่ร่วงแล้วมาอัดรวมกันบริเวณขั้วของผลมะนาวที่เพิ่งติด เมื่อเกิดเชื้อราก็ทำให้ผลอ่อนหลุดร่วงได้ง่าย หรือที่ชาวสวนเรียกว่า”หักคอม้า”นั่นเอง บางครั้งอาจต้องเขย่ากิ่งเบาๆบ้างเพื่อให้กลีบดอกที่ติดอยู่บนฐานดอกหรือขั้วร่วงหล่น สลับกับฉีดพ่นไบโอเซ็นเซอร์และแซนโธไนท์เพื่อป้องกันเชื้อราแนวทางต่างๆที่ผู้เขียนได้นำเสนอไปข้างต้นแล้วนั้น ท่านสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ในสวนมะนาวของท่าน จงจำไว้อย่างหนึ่งว่า…ถ้าท่านยังต้องการประสบความสำเร็จในการทำมะนาวนอกฤดู ท่านต้องบำรุงต้นให้พร้อมสมบูรณ์มากที่สุดก่อนจะทำทวาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน (081-3983128) สำหรับท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ชมรมฯสอบถามได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ Line Center : tga001, tga002, tga003, tga004 *** สินค้าคุณภาพ…ต้องตราใบไม้ลายธงชาติ เท่านั้น ***
เขียนและรายงานโดย : นายเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com

กำจัดโรคในสวนยางพาราแบบปลอดสารพิษ

18 ม.ค.

วันนี้เรื่องที่จะนำเสนอก็เกี่ยวกับเรื่องยางพารานั้นล่ะครับ พอราคาดีชาวสวนยางก็มีกะจิตกะใจที่จะดูแลสวนยางพาราให้ได้ผลผลิตน้ำยางที่ดี หลังจากปล่อยทิ้งปล่อยขว้างทิ้งไว้นาน หลังจากเริ่มมีข่าวดีเรื่องราคายางราคาแว่วมาว่าอาจปับขึ้นถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ถ้ายังไงแล้วก็เอาใจช่วยชาวสวนยางพารากันทุกคนทุกท่านเลยนะครับปัญหาที่จะนำเสนอในตอนนี้จะเป็นเรื่องของการป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อราในสวนยางพารา เช่นโรคเส้นดำ โรคหน้ายางตาย เป็นต้นปัญหาของเกษตรกรที่ทำอาชีพปลูกยางพาราต้องประสบพบเจอมีอยู่มากมายหลายหลาก ทั้งปัญหาทางที่ควบคุมไม่ได้เช่นภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น พายุลมกรรโชกแรงทำให้ต้นยางที่ใช้ระยะเวลาปลูกนับ 7 ปี โค่นล้มสร้างความเสียหาย หรือจะเป็นปัญหาเรื่องภัยแล้งฝนทิ้งช่วงนานหลายเดือนในฤดูแล้ง ซึ่งปัญหานี้เกษตรกรชาวสวนยางในภาคเหนือและอีสานจะต้องเผชิญทุกปี ทำให้ต้นยางพาราที่ปลูกไว้ตายเพราะขาดน้ำเป็นจำนวนมาก และยังมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงที่คอยสร้างเรื่องปวดหัวให้กับชาวสวน หนึ่งในปัญหาเรื่องโรคยางพาราที่สร้างปัญหาให้กับชาวสวนยางก็คือ โรคเส้นดำ ในยางพารา ในบทความตอนนี้จะขอนำเสนอวิธีแก้ปัญหาเรื่องโรคเส้นดำ ซึ่งได้ข้อมูลจากสหกรณ์กองทุนสวนยางวังสามหมอ อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี ที่เป็นสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ไตรโคเดอร์จุลินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคเชื้อราในการรักษาโรคเส้นดำในยางพารา โดยผู้ให้ข้อมูลคือคุณเจริญ ภูขาว สมาชิกในกองทุนสวนยางวังสามหมอ คุณเจริญเล่าว่าโรคเส้นดำในยางพาราจะเป็นโรคที่ชาวสวนยางที่เปิดกรีดยางได้แล้วจะต้องเจอในช่วงฤดูฝน ที่มีความชื้นสูงจุลินทรีย์ต่างๆเจริญเติบโตได้ดี อาการของโรคเส้นดำในยางพาราจะเริ่มจาก บริเวณหน้ายางที่ผ่านการกรีดมาแล้ว จะมีลักษณะเป็นรอยช้ำ ต่อมาจะกลายเป็นรอยบุ๋มสีดำหรือสีน้ำตาลดำตามแนวยาวของลำต้น เมื่อเฉือนเปลือกบริเวณรอยบุ๋มสีดำจะเห็นลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้ยางพารา และอาจลุกลามลงใต้รอยกรีด ถ้าอาการรุนแรง เปลือกยางพาราบริเวณที่เป็นโรคจะปริเน่า มีน้ำยางไหล เปลือกเน่าหลุดออกมา ถ้าการเข้าทำลายของเชื้อไม่รุนแรง เปลือกยางที่งอกใหม่จะเป็นปุ่มปม ซึ่งโรคเส้นดำนี้มีผลทำให้น้ำยางไหลลดลง ผลผลิตน้ำยางต่อวันลดลงอย่างเห็นได้ชัดวิธีแก้ปัญหาโรคเส้นดำของทางคุณเจริญ ภูขาว และกลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางวังสามหมอ จะใช้จุลินทรีย์กำจัดโรคเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษผสมน้ำ ในอัตราส่วน ไตรโคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร คนให้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าแตกตัวออกมาในน้ำแล้วนำไปทาที่หน้ายางทุกต้น โดยจะทาทุกๆ 3 วันจนกว่าเส้นดำที่หน้ายางจะหายไป จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ครั้งก็จะสั่งเกตุเห็นเส้นดำที่หน้ายางค่อยๆหายใจ หลังจากที่เส้นดำที่หน้ายางหายไปแล้ว ก็จะหยุดทาไตรโคเดอร์ม่า จนกว่าหน้ายางพารากลับมาดำอีกครั้งถึงจะนำไตรโคเดอร์ม่ามาทาอีกครั้งถึง 2 ครั้งอาการของโรคก็จะเบาลงตลอด น้ำยางพาราก็กลับมาไหลตามปกติ ตอนนี้เรียกได้ว่ากลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางวังสามหมอ อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี ไม่กลัวปัญหาเรื่องโรคเส้นดำในยางพาราที่ชาวสวนยางในโซนภาคอีสานกลัวกันอีกต่อไปแล้ว สำหรับชาวสวนทางท่านอื่นๆหรือสหกรณ์สวนยางกลุ่มอื่นๆที่ประสบปัญหาโรคเส้นดำในสวนยางพาราจะนำวิธีแก้ปัญหาแบบสหกรณ์กองทุนสวนยางวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ไปปรับใช้ในสวนยางพาราของตัวท่านเองก็ได้นะครับ หรือถ้าสนใจอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการแก้โรคเส้นดำในยางพาราของกองทุนสวนยางวังสามหมอก็ โทรมาขอข้อมูลหรือเบอร์ติดต่อกองทุนสวนยางวังสามหมอได้ที่ผู้เขียนนะครับ(เบอร์ผู้เขียน 085-9205846) หรือจะโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือสอบถามทางระบบ LINE ID : tga003 และ tga004 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
แนะนำติชม : thaigreenagro@gmail.com