Archive | ธันวาคม, 2013

อาหารปลอดภัยไร้สารพิษ ช่วยกันคิด ช่วยกันรณรงค์ส่งเสริมเกษตรกรผู้ผลิต

31 ธ.ค.

โรคภัยไข้เจ็บที่ทำให้มนุษย์บนโลกนี้เสียชีวิตมากที่สุด น่าจะเป็นมะเร็ง โรคหัวใจ เบาหวาน เอดส์ อัมพฤต อัมพาต ฯลฯ ส่วนหนึ่งของโรคก็อาจจะมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งไม่จากรุ่นพ่อแม่ หรือมาจากปู่ย่าตายาย และอีกสาเหตุหนึ่งก็น่าจะมาจากพฤติกรรมการกิน การอยู่ในชีวิตประจำวัน เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมและสังคมยุคนี้เน้นความรวดเร็ว ฉับไว เนื่องด้วยต้องบริหารเวลาให้คุ้มค่า มิฉะนั้นก็จะทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อชีวิตความเป็นอยู่หน้าที่การงาน ซึ่งหมายถึงรายได้ที่จะนำมาหาเลี้ยงชีวิต จึงทำให้การดำเนินชีวิตจะต้องเรียบง่ายสบายๆ นั่นหมายถึงอาการดำเนินชีวิตจะต้องเรียบง่ายสบายๆ นั่นหมายถึงอาหารที่จะบริโภคก็ต้องง่ายด้วย อาหารสำเร็จรูป อาหารฟาสท์ฟู๊ดต่างๆ จึงถูกผลิต ถูกออกแบบมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างดาษดื่น

หมูปิ้ง ปาท่องโก๋ ผักผลไม้ดอง ผลไม้สด ลูกชิ้นทอด ลูกชิ้นปิ้ง หมูสะเต๊ะ ปลาดุก ย่าง ส้มตำ ฯลฯ นานาสารพัดอาหารที่ง่ายและสะดวกเหล่านี้ ส่วนใหญ่มักจะมีสารกันรา (ซาลิซิลิก, สารเพิ่มความสดกรอบ (น้ำประสานทอง, โซเดียมบอเรต, โซเดียมเมตาบอเรท, และฟอมาลีน น้ำยาฉีดศพ), สารฟอกขาว เพื่อให้อาหารดูสะอาดปลอดภัย, สีผสมอาหาร เพื่อให้ดูสวยสดงดงาม, สารเพิ่มเนื้อแดงในเนื้อหมูหรือลดไขมันในเนื้อ (สารเบต้าอะโกนิสต์) และยาฆ่าแมลงสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งส่วนใหญ่อาหารต่างๆ เหล่านี้จะมาจากภาคการเกษตรแทบทั้งสิ้น

ถ้าผู้บริโภคอย่างเราๆท่านๆ ทุกคน ช่วยกันรณรงค์ส่งเสริมอุดหนุนผลิตภัณฑ์จากภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นหมู เห็ด เป็ด ไก่ พืชผักผลไม้ต่างๆ ที่มีการผลิตจากความตั้งอกตั้งใจไม่ใช้สารเคมีที่เป็นพิษ หรือมีรูปแบบการผลิตในรูปแบบออร์แกนิค หรือเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ได้การรับรองเครื่องหมายจากภาครัฐอย่างเช่น GAP, สัญลักษณ์ ตัว Q ฯลฯ การสนับสนุนช่วยซื้อ ช่วยอธิบายให้คนใกล้ชิด เพื่อนร่วมงาน หรือคนที่เรารัก รู้จักคุณค่าของผลิตผลจากภาคการเกษตรที่ปลอดภัยไร้สารพิษนั้น ก็จะทำให้เกษตรกรที่อยู่ในกลุ่มที่มีหัวใจไร้สารพิษ ก็มีกำลังใจ แรงกายในการผลิต อาหารที่ปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้นครับ

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ใช่เจตจำนงของความเป็นเกษตรยั่งยืน

30 ธ.ค.

การทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่เตรียมแปลง เพาะเมล็ด ปลูกลงดิน รอวันเวลาโรคแมลงเข้ารบกวน ฉีดพ่นยาสารเคมีป้องกัน และเก็บเกี่ยวผลผลิต วงจรหรือ วัฎจักรแบบนี้จะดีในระยะแรกๆ สั้นๆ แต่นานๆไป อาหารในดินก็จะหมด พืชก็อ่อนแอ ไม่พ้นที่จะต้องพึ่งพาแต่ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วล้วนแต่มีสิ่งที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศน์ ผู้เพาะปลูก ผู้ฉีดพ่น และผู้บริโภค เพราะสารพิษในท้องตลาดส่วนใหญ่จะมีพิษฤทธิ์แรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆเป็นลำดับ เนื่องด้วยโรค แมลงศัตรูพืชก็จะมีพัฒนาการในการป้องกันตนองพัฒนาไปสู่การดื้อยา ยาชนิดเดิม ยี่ห้อเดิม ไม่สามารถใช้ได้ผลในแปลงพืชไร่ไม้ผลเดิมๆ

แต่การเพาะปลูกหรือการทำเกษตรกรรมด้วยการสังเกตจดจำจะช่วยในเรื่องของการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพราะจะมีการปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้สอดคล้องสมดุลกับการดูดกินแร่ธาตุสารอาหารของพืชอยู่ตลอดเวลา เรามีการนำผลผลิต ซึ่งหมายถึงแร่ธาตุสารอาหารที่พืชดูดจากดินออกไปจำนวนมากหรือมหาศาลเมื่อเทียบกับจำนวนปีหลายสิบปีที่ผ่านการเพาะปลูกกันมาบนพื้นดินนั้นๆ แต่เรากลับที่จะละเลย อินทรียวัตถุ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในดินหรือในระบบนิเวศน์ เช่น ไส้เดือน แมงมุม จุลินทรีย์ แอคติโนมัยสิต และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่คอยเกื้อหนุนจุนเจือให้พืชมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรง

ทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ดินยังคงความอุดมสมบูรณ์ทำให้การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุกระทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก นั่นก็คือการนำหินแร่ภูเขาไฟมาใส่มาเติมเสริมธาตุอาหารในราคาที่ไม่แพงมากนักลงไปในดิน ซึ่งหินแร่ภูเขาไฟ (พูมิชซัลเฟอร์ PumishSulpher) นั้นประกอบด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ มากมายทั้งฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม นิกเกิล ฯลฯ ที่จะค่อยทำให้ดินที่ผ่านการปลูกพืชอยู่ตลอดเวลา ไม่ขาดแคลนสารอาหารที่จำเป็นต่อพืชออกไปจนหมด อีกทั้งนอกเหนือจากแร่ธาตุสารอาหารที่จำเป็นแล้ว หินแร่ภูเขาไฟ โดยเฉพาะพูมิชซัลเฟอร์นี้จะมี แร่ธาตุซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ออกมาเป็นประโยชน์ให้พืช เพื่อช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแกร่ง ต้านทานต่อโรค แมลง เพลี้ย หนอน รา ไร ได้เป็นอย่างมาก เพราะหินแร่ภูเขาไฟนั้นผ่านความร้อนภายใต้ชั้นเปลือกโลกมากถึง 980-1,200 องศาเซลเซียส เมื่อเกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเทระเบิดออกมาสู่ชั้นบรรยากาศที่บางเบา เพียง1 ชั้นบรรยากาศโลก จึงเกิดการบวมพองเดือดพล่าน เป็นหินชั้น หินลาวา ก๊าซ และไอน้ำ จึงเป็นหินที่สุกแล้ว เดือดแล้ว พร้อมต่อการย่อยสลาย ปลดปล่อยแร่ธาตุต่างๆ ออกมาสู่พืช จึงสามารถที่จะช่วยให้พืชแข็งแกร่ง แข็งแรงตั้งแต่เริ่มต้นปลูก เมื่อมีการระบาดของโรคแมลงก็สามารถที่จะดูแลแก้ไขได้ง่ายกว่าต้นที่ไม่ได้รับซิลิก้าหรือแร่ธาตุสารอาหารจึงมีความอ่อนแอมากกว่า ดูแลรักษายากกว่า

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

อากาศหนาว ลมโชย ใบพืชสูญเสียน้ำ แห้งไหม้ใช้ ไบโอฟิล์ม

26 ธ.ค.

อากาศที่เริ่มหนาวเพิ่มขึ้นทีละน้อยๆ ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ตรงกับปลายปีพุทธศักราชสองพันห้าร้อยห้าสิบหกนี้ ช่วยทำให้บรรยากาศการเมืองที่กำลังร้อนแรงได้ผ่อนปรนแผ่วเบาลงมาบ้างสำหรับบางท่าน ถึงแม้ในภาคกลางจะยังไม่หนาวมาก แต่ทางเหนือของไทยทั้งเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน นั้นก็เริ่มมีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศไปเยี่ยมเยือนกันหนาตาพอควร ทั้งไร่ทานตะวันซึ่งในอดีตอาจจะจำกัดวงอยู่แต่ลพบุรี แต่ปัจจุบันนั้นก็สามารถไปดูได้เกือบทุกภูมิภาคแล้ว เพราะสามารถดึงนักท่องเที่ยวและสร้างสีสันให้ได้มีมุมถ่ายรูปกันอยู่มากพอสมควร

สายลมบางเบาที่พัดโชย อากาศที่หนาวเย็นซาบซ่าน ผ่านพื้นผิวระนาบใบไปทำให้ความชุ่มชื้นและไอน้ำของพืชถูกพัดพานำไปให้ระเหยไปได้ด้วยเช่นกัน ความชื้นสัมพัทธ์น้อย น้ำใต้ผิวดินแห้งเหือด ใบพืชจะปิดปากใบ แต่ถ้ายังขาดแคลนแหล่งน้ำมาค้ำจุนอยู่อีกก็จะทำให้พืชแห้งเหี่ยวหรือเฉาตายเอาได้ง่าย ลักษณะอากาศที่แห้งผาก บวกกับน้ำในดินหรือน้ำที่จะนำมาเติมมีน้อย จะต้องป้องกันมิให้พืชสูญเสียน้ำทางไปไปได้โดยง่าย เพื่อป้องกันอาการพืชเครียดจากการขาดแคลนน้ำ

การใช้ไบโอฟิล์ม ซึ่งสกัดมากจากสารธรรมชาติทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นเหมือนกับการทาม้อยเจอร์ไรเซอร์ที่ใช้ในผิวพรรณของคนไปชะโลมลูบไล้ให้กับพืช ทำให้ผิวใบพืชเงางามชุ่มชื้น ลดความเครียดจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งลงไปได้อยู่มากพอสมควร การใช้ไบโอฟิล์มในอัตรา 10 – 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นให้แก่พืชทุกๆ 7 วัน จะช่วยทำให้พืชลดการสูญเสียน้ำ ทำให้พืชมีผิวใบที่ใสเต่งตึงอยู่ตลอดเวลา เหมาะกับสภาพอากาศในช่วงนี้ดีนักครับท่านผู้อ่าน

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

อากาศหนาวจะส่งผลต่อข้าวอย่างไร

25 ธ.ค.

สวัสดีครับพี่ๆน้องๆชาวชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกๆท่าน โดยในวันนี้ทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ลงสำรวจพื้นที่ในแถบภาคกลางพบว่ามีสภาพอากาศที่หนาวเย็น โดยอุณหภูมิจะอยู่ในช่วง 16-20 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว นอกจากนี้ทางทีมงานเกษ๖รปลอดสารพิษได้พบกับปัญหาของเกษตรกรที่ปลูกข้าวอยู่ในระยะนี้ซึ่งปล่อยให้ข้าวของเกษตรกรนั้นกระทบกับอากาศที่หนาวเย็น โดยไม่ป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆบ้างก็เป็นเกษตรกรมือใหม่ บ้างก็ไม่อยากป้องกันเพราะกลัวจะเป็นการเพิ่มต้นทุน บ้างก็คิดว่าอากาศคงไม่หนาวมาก บ้างก็ปล่อยให้ข้าวแสดงอาการก่อนแล้วค่อยแก้ไขและอีกหลายๆอย่าง จนทำให้ข้าวของพ่อแม่พี่น้องหลายต่อหลายท่านประสบกับปัญหาของข้าวแคระแกรน หยุดการเจริญเติบโต ข้าวไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง เป็นต้น โดยอาการที่ว่ามานี้จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของข้าวอย่างมากทำให้ผลผลิตลดน้อยลงไป

ถ้าพูดถึงข้าวกับอากาศที่หนาวมากๆในช่วงตั้งท้องเมื่อข้าวกระทบกับอากาศหนาวในช่วงนี้ก็เปรียบเสมือนกับคนที่เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต โดยจะทำให้ข้าวพิการการผสมเกสรข้าวก็ไม่ดีหรือไม่ได้ทำให้ข้าวเมล็ดลีบหรือเมล็ดฝ่อผลผลิตของเกษตรกรก็จะลดน้อยลงอย่างมาก วิธีการแก้ไขก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไรมากนัก โดยการหาธาตุอาหารของข้าวที่เป็นธาตุสังกะสี มาฉีดพ่นข้าวในช่วงอากาศหนาวทุกๆ 7 วัน ธาตุสังกะสีนี้จะไปช่วยให้ข้าวนั้นทนต่อสภาพอากาศที่หนาวจัดและร้อนจัดทำให้ข้าวไม่แสดงอาการอย่างที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้ข้าวเจริญเติบโตได้ดีเป็นปรกติแต่ต้องฉีดพ่นจนกว่าสภาพอากาศที่หนาวเย็นกลับมาสู่สภาพปรกติไม่ใช่ว่าฉีดพ่นครั้งเดียวจะได้ผล ในช่วงที่อากาศหนาวเย็นนี้เองเชื้อราต่างๆเกษตรกรก็ไม่ควรประมาทเพราะอากาศแบบนี้เชื้อราจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีเกษตรกรก็ควรจะป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ ธาตุสังกะสีในฉบับของชมรมเกษตรปลอดสารพิษก็จะมีทั้ง ซิ้งคีเลท 75% ที่เป็นธาตุสังกะสีเดี่ยวๆเกษตรกรก็สามารถใช้ได้หรือจะเป็น ไรซ์กรีนพลัส ซึ่งจะมีธาตุสังกะสีเป็นองค์ประกอบหลักและยังมีธาตุอาหารที่เหมาะกับข้าวด้วย โดยทั้ง 2 ชนิดนี้เกษตรกรสามารถใช้ฉีดพ่นในนาข้าวในช่วงอากาศหนาวแล้วข้าวเจริญเติบโตเป็นอย่างดีเลยครับ

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
วันที่ 26 ธันวาคม 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ป้องกันกำจัดปลวกร้ายภายในบ้านเรือนด้วยวิธีแบบปลอดสารพิษ

24 ธ.ค.

ถ้าพูดถึงเรื่องปลวกแล้วน้อยคนนักที่ไม่รู้จัก เพราะเจ้าสัตย์ตัวเล็กพริกขี้หนูนี้สร้างปัญหาให้กับที่อยู่อาศัยหรือบ้านเรือนของคนเรา มันสามารถกินบ้านของคนเราได้ทั้งหลัง วิธีการกำจัดเจ้าปลวกร้ายโดยทั่วไปจะเป็นวิธีการใช้สารเคมีในการกำจัด ถ้าเป็นผู้คนที่อยู่ในเมืองอยู่บ้านตามหมู่บ้านจัดสรร หรือซื้อบ้านตามโครงการต่างๆก็จะใช้บริการบริษัทกำจัดปลวกต่างๆเข้ามาวางระบบวางท่อแล้วทำการพ่นสารเคมีเพื่อเป็นการกำจัดปลวก แต่การใช้วิธีนี้ก็ไม่ได้ทำให้ปลวกหมดไป ต้องทำเป็นประจำทุกๆ 2-3 เดือนต่อครั้ง และที่สำคัญการกำจัดปลวกด้วยวิธีนี้ยังมีสารเคมีหรือสารพิษตกค้างภายในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย อาจทำให้เป็นอันตรายกับผู้อาศัยในบ้านได้ ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้แนะนำวิธีจัดการกับปลวกในบ้านด้วยวิธีปลอดสารพิษโดยใช้จุลินทรีย์กำจัดปลวกที่ชื่อว่า เมธาไรเซียม วันนี้ทางผู้เขียนจะมาแนะนำเทคนิคการกำจัดปลวกในบ้านเรือนโดยใช้จุลินทรีย์เมธาไรเซียมนี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดครับ ก่อนอื่นก็ขออธิบายว่าจุลินทรีย์กำจัดปลวกเมธาไรเซียมนี้ให้กับท่านที่ยังไม่ทราบว่าเจ้าจุลินทรีย์ตัวนี้มันคืออะไร

เมธาไรเซียมเป็นเชื้อรา Metarrhizium-hpp เป็นจุลินทรีย์ธรรมชาติ มีความสามารถในการกำจัดปลวก หลักการทำงานก็คือเมื่อปลวกสัมผัสโดนเชื้อนี้แล้วเชื้อเมธาไรเซียมจะสร้างกลุ่มเส้นใยเข้าไปตามทางเดินอาหารของปลวกและขยายจำนวนมากขึ้นและจะเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆของปลวกทำให้ปลวกค่อยๆป่วยตายในที่สุด สำหรับเทคนิคการใช้จุลินทรีย์เมธาไรเซียมกำจัดปลวกในบ้านเรือนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนี้ก็คือ ถ้าเจอตัวปลวกใช้ผงเมธาไรเซียมโรยให้โดนตัวปลวกแล้วปล่อยให้ปลวกกลับเข้าไปในรัง พฤติกรรมของปลวกจะชอบเลียตัวกันเหมือนเป็นการทักทายกัน ทำให้เชื้อราเมธาไรเซียมจะขยายไปยังตัวอื่นๆอย่างรวดเร็วแล้วปลวกที่อยู่ในรังนั้นจะค่อยๆป่วยและตายยกรังในที่สุด กรณีไม่เจอตัวปลวกใช้ผงเมธาไรเซียมจะผสมน้ำฉีดหรือใช้โรยรอบๆบริเวณบ้าน ตามขื่อตามเสาบ้านบนฝ้าผนังเพดาน หรือบริเวณที่คิดว่าปลวกจะผ่าน หมั่นทำบ้านเรือนของเราให้มีเชื้อเมธาไรเซียมอยู่ ทางที่ดีเอาเชื้อเมธาไรเซียม 100 กรัมผสมน้ำ 1-2 ลิตรเก็บไว้ในกระบอกใส่น้ำรีดผ้า(ฟ๊อกกี้) เตรียมไว้เมื่อเจอตัวปลวกก็จะได้นำมาฉีดได้ทันที สมมุติว่าวันนี้เจอตัวปลวกก็ฉีดไป พรุ่งนี้เจอตัวปลวกอีกก็ฉีดอีก หมั่นทำแบบนี้เรื่อยๆทำบ้านเรือนของเราให้มีเชื้อเมธาไรเซียมนี้อยู่แล้วเจ้าปลวกร้ายในบ้านของท่านจะค่อยๆลดปริมาณลง แต่ก็คงไม่หมดไปเพราะปลวกนี้อยู่กับคนเรามาเป็นล้านๆปีแล้วสู้รบกับคนมานานแต่คนก็ยังไม่สามารถเอาชนะปลวกได้ซักทีสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุลินทรีย์กำจัดปลวกเมธาไรเซียมหรือวิธีการใช้ได้ที่เจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

หนาวแล้วไม่แคล้วต้องแก้ปัญหาเรื่องพืชใบเหลือง

23 ธ.ค.

ปีนี้ประชาชนคนไทยคงได้ชุ่มชื้นฉ่ำใจกับวันที่ 5 ธันวามหาราชไปแล้วเมื่อวานนี้ อีกทั้งได้มีโอกาสน้อมนำพระราชดำรัสพ่อหลวงของเราชาวไทยทุกถ้วนทั่วตัวตนเพื่อนำไปใส่เกล้าใส่กระหม่อมน้อมนำปฏิบัติในสิ่งที่พ่ออยากให้เป็น อยากให้ทำนั่นก็คือ เรื่องของความรู้รักสามัคคีของคนในชาติให้ถ้วนทั่วทุกตัวตนซึ่งจะทำให้เกิดความสงบสุขและเกิดความปีติยินดีมีความสุขกับพ่อหลวงของเราชาวไทยทั้งประเทศ ที่ไม่ต้องทนทุกข์ ทนเห็นลูกๆ มัวแต่ทะเลาะเบาะแว้งกัน

อากาศที่หนาวมาก หนาวนานกว่าปีก่อนๆในห้วงช่วงสองสามปีมานี้ก็ถือเป็นปัจจัยที่ตอกย้ำให้พวกเราชาวไทยได้มีความสุขกับบรรยากาศที่น่าพักผ่อนหย่อนใจ ตะลอนไปในที่ต่างๆเพื่อสร้างความสุขให้แก่ตนเองและครอบครัว เนื่องด้วยประเทศไทยเรานั้นมีสถานที่ให้ท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวความสุขมากมาย ทั้งดอยอ่างขาง, ดอยสุเทพ, ดอยอินทนนท์, ภูชี้ฟ้า, ภูกระดึง, ไร่ทานตะวัน, ปาย และอื่นๆอีกมากมาย ที่ผู้เขียนไม่สามารถนำมาบอกกล่าวได้หมด

แต่ที่สำคัญความหนาวนี้ย่อมมีผลและนัยยะต่อการทำเกษตรกรรมของพี่น้องเกษตรกรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะจะทำให้พืชหยุดหรือชะงักการเจริญเติบโต อีกทั้งในพื้นที่ที่หนาวจัดอาจจะทำให้เกิดแม่คะนิ้งหรือน้ำค้างแข็ง โมเลกุลของน้ำที่มี 3 สถานะนั้น คือเป็นของแข็ง, ของเหลว และก๊าซ เมื่อโดยปรกติน้ำที่เป็นของเหลวอยู่ในเซลล์ของพืชก็จะช่วยในเรื่องของการทำให้เซลล์เต่งตึง ขับเคลื่อนสารอาหาร แต่เมื่ออุณหภูมิต่ำลง น้ำจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นของแข็ง ซึ่งจะทำให้มวลขยายใหญ่ขึ้น เมื่อขยายใหญ่ขึ้นและเป็นของแข็งจึงทำให้เซลล์พืชแตกหักถูกทำลาย ถึงช่วงสายอุณหภูมิสูงขึ้นน้ำเปลี่ยนจากของแข็งเป็นของเหลวและก๊าซบางส่วน ทำให้เนื้อเยื่อเซลล์ที่ถูกทิ่มแทงกลายเป็นรอยบอบช้ำ ไหม้เกรียม วิธีผ่อนหนักเป็นเป็นเบาคือลดการเกาะติดของน้ำในช่วงกลางคืนด้วยการใช้ สารจับใบ ม้อยเจอร์แพล้นท์ นำมาฉีดพ่นในช่วงเย็น เพื่อให้เคลือบผิวใบไว้ ป้องกันหยดน้ำที่จะมาเกาะที่ใบในช่วงกลางคืนให้ไหลหลุดร่วงหล่นไปที่พื้นดิน หยดน้ำเกาะที่ใบน้อย น้ำที่จะแข็งเคลือบใบพืชก็น้อย เหลือแต่เพียงน้ำที่อยู่ภายในเซลล์ การทำลายของน้ำต่อเซลล์พืชก็จะน้อยลง

ปัญหาเรื่องความหนาวใช่ว่าจะหมดไปแค่นั้น ยังมีเรื่องของผลกระทบต่อการเผาผลาญอาหารของพืชด้วยเช่นกัน คือกระบวนการดูดกินสารอาหารในพืชก็จะเฉื่อยเอื่อยลงด้วยเช่นกัน เมื่อพืชไม่สามารถที่จะดูดกินอาหารได้ดั่งเดิม ก็ย่อมจะแสดงออกมาทางใบให้พี่น้องเกษตรกรได้เห็น เช่นใบจะเริ่มเหลือง ชะงัก หยุดการแตกกอต่อยอด เกษตรกรบางท่านอาจจะตกใจและเร่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหรือปุ๋ยที่มีตัวหน้าสูงๆ เข้าไปทันที จะบอกว่าวิธีการแบบนั้นถือว่าไม่ถูกต้องมากนัก เพราะหลังจากที่อากาศกลับมาเป็นปรกติจะทำให้พืชนั้น อวบอ้วน เฝือใบ งามเกิน จนอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง วิธีการแก้ไขต้องปรับแต่งแร่ธาตุสารอาหารที่มีผลต่อการ เมแทบอลิซึม (metabolism) คือการให้แร่ธาตุกำมะถัน, สังกะสี, นิกเกิล และซิลิสิค แอซิด ฯลฯ (ชื่อการค้า “ไรซ์กรีนพลัส”) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำให้พืชสร้างภูมิต้านทานต่ออากาศที่แปรปรวนหนาวจัด หรือร้อนจัดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งไม่ทำให้พืชอวบอ้วนอ่อนแอเหมือนการใช้ปุ๋ยยูเรีย

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

ปลูกพืชหมุนเวียน สับเปลี่ยนอาหารลงดิน

22 ธ.ค.

การปลูกพืชแบบไม่หยุดพัก ไม่ลืมหูลืมตา ทำให้ดินไม่มีเวลาหยุดพักสะสมอาหาร กิจกรรมของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในดิน ไม่มีเวลาได้มาเก็บมากินเศษซากอินทรีย์วัตถุที่เป็นโมเลกุลใหญ่ให้กลายเป็นเศษชิ้นเล็กชิ้นน้อย หรือช่วยทำให้โมเลกุลเล็กลง ทำให้ฮิวมัส ฮิวมิค แอซิดในดินลดจำนวนและหดหายไปทีละน้อยๆ ทำให้โครงสร้างดินเสื่อมโทรม อาหารที่สะสมอยู่ในดินก็ไม่มี เพราะขาดการกักเก็บที่ดีจากโครงสร้างดินที่หละหลวม เนื่องด้วยเป็นดินที่ไม่มีอินทรียวัตถุเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยอย่างเพียงพอ ถ้าจะให้เห็นภาพก็นึกถึงทะเลทรายนั่นเลยครับ คือถ้าทะเลทรายบริเวณไหนมีการเติมอินทรียวัตถุอยู่บ่อยๆ ก็จะเป็นอินทรียวัตถุบวกทราย แต่ถ้าทรายถูกชะล้างเอาอินทรียวัตถุออกไป ก็จะเหลือเพียงแต่ทรายอย่างเดียว ไม่นุ่ม ชุ่มชื้น ขาดชีวิตชีวา จะปลูกพืชไร่ไม้ผลอะไรก็ต้องแต่งเติมเสริมใส่ปุ๋ยเคมีอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับเรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน อย่าให้ขาดแร่ธาตุสารอาหารและอินทรีย์วัตถุ

การพักดิน ด้วยการปลูกพืชชนิดอื่นๆ สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ก็จะช่วยทำให้ดินอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชตระกูลถั่ว อย่างเช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วพร้า แคบ้าน (ปลูกไว้กินดอก) หรือจะเป็นโสน ปอเทือง ก็ได้ แต่การปลูกพืชที่สามารถจับตรึงไนโตรเจนจากอากาศสะสมลงในดิน โดยที่รากของถั่วจะมีปมที่สามารถกักเก็บไนโตรเจนอยู่ในดิน อีกทั้งยังมีรายได้จากการขายผลผลิตที่ออกมาจากต้นถั่ว ต้นแค ก็จะทำให้ไม่เสียพื้นที่ เสียเวลา ไปโดยเปล่าประโยชน์ ได้ทั้งผลผลิตนำไปขายสร้างรายได้ ได้ทั้งปุ๋ยไนโตรเจนจากปมที่รากถั่ว ได้ทั้งเศษซากต้นถั่วเมื่อไถกลบกลายเป็นอินทรีย์วัตถุ จะช่วยทำให้ดินดำน้ำชุ่มในระยะยาวเป็นอย่างดี

ในช่วงที่รอเศษซากของพืชบำรุงดินอยู่นั้น พี่น้องเกษตรกรก็สามารถที่จะนำหินแร่ภูเขาไฟ ที่ชื่อว่า พูมิชซัลเฟอร์ ใส่เสริมเพิ่มลงไปในดินในอัตรา 20 -40 กิโลกรัมต่อไร่ ก็สามารถทำให้ดินเติมเต็มแร่ธาตุสารอาหารต่างๆ ทั้ง ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม นิกเกิล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแร่ธาตุ ซิลิสิค ที่ช่วยทำให้พืชใบแข็ง ตั้ง ชู สู้แสง เมื่อใบพืชรับแสงได้มาก ก็ลดปัญหาเรื่องเชื้อราเข้าทำลาย อีกทั้งสร้างภูมิต้านทานแก่หนอน และแมลงให้เข้าทำลายได้ยากยิ่งขึ้น และที่สำคัญจะช่วยทำให้โครงสร้างดินแข็งแรงไปอย่างยั่งยื่น เหมือนปลูกพืชอยู่บนเกาะภูเขาไฟ อย่างเช่น ชวา บาหลี หรือฟูจิ นั่นเองครับ

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

ทำอย่างไรดินถึงจะดี ร่วนซุยพืชหยั่งรากลึก ดูดกินธาตุอาหารดี

20 ธ.ค.

สวัสดีครับสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกๆท่าน วันนี้ผู้เขียนมีเรื่องราวมาเม้ามาเล่ามาแนะนำกันอีกแหละ กับเรื่องที่ว่าแล้วเราจะทำอย่างไรให้ดินของเราดี ร่วนซุย พืชหยั่งรากได้ลึก และดูดกินธาตุอาหารได้ดี เคยสังเกตมั้ยว่าเวลาที่เราปลูกต้นไม้ ต้นไหนที่จะเจริญเติบโตดี โตเต็มที่ผลิตมักจะเพิ่มทวีคูณเหมือนเงาตามตัว ตรงกันข้ามกับต้นที่ปลูกบนพื้นที่เกษตรที่ทำมาอย่างยาวนาน แต่ไม่เคยบำรุงปรับปรุงดินเลย ผลผลิตก็จะตกต่ำอย่างน่าใจหาย

เมื่อดินขาดการบำรุง ธาตุอาหารและอินทรียวัตถุในดินก็ค่อยๆลดน้อยลงเรื่อยๆ ในที่สุดดินก็แน่นแข็งเป็นดาน ไม่ร่วนซุย โพรงอากาศในดินน้อยลง ทำให้รากขดม้วนเหมือนรังนก ไม่ดูดซึมน้ำ ไม่ดูดซับอาหาร ต้นแคระแกรนไม่โต ให้ผลผลิตน้อย เมื่อโตช้าแถมให้ผลผลิตน้อย คราวนี้ละก็อัดปุ๋ยอัดยาลงไปใหญ่ เพื่อหวังว่าจะได้ผลผลิตขึ้นมาบ้าง ยิ่งอัดก็ยิ่งหมดยิ่งสิ้นเปลืองปุ๋ยเปลืองยาเข้าไปใหญ่ ยิ่งเพิ่มต้นทุนสร้างภาระหนี้สินโดยไม่รู้ตัว

การบำรุงดินให้ฟื้นคืนสภาพเป็นเรื่องจำเป็นไม่ควรมองข้าม เริ่มตั้งแต่ตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน เติมอินทรียวัตถุ ควบคุมการใช้ปุ๋ยเคมีโยการผสมร่วมหรือสลับกับปุ๋ยอินทรีย์ในรอบปีที่ใช้ให้สมดุล ลดความเสื่อมของดินจากการใช้ปุ๋ยเคมียาวนาน หรืออาจใช้สารละลายดินดานALS ช่วยให้เม็ดดินที่เกาะแน่นเป็นปึก แตกแยกออกจากกัน ดินที่เคยแน่นแข็งก็จะค่อยๆคลาย ร่วนซุย ระบายน้ำดีขึ้น ลดการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากการชะล้างของน้ำหน้าผิวดิน ผิวดินจะชุ่มชื้นไม่ว่าจะเป็นหน้าแล้งหรือหน้าหนาวอย่างตอนนี้ (20/12/2556)

เป็นไปได้ควรหว่านพูมิซซัลเฟอร์ร่วมกับโพแทสเซียมฮิวเมทและซิลิโคเทรซ ปรับโครงสร้างของดินให้ร่วนซุยยั่งยืน เพิ่มซิลิก้าในดิน ทำให้ต้นพืชแข็งแรง เพิ่มค่า CECในดินให้ดูดซับธาตุอาหารแล้วค่อยๆปลดปล่อยให้พืชใช้อย่างต่อเนื่อง จนไม่แสดงอาการขาดปุ๋ย ทำได้อย่างนี้รับรองว่าได้เลยว่า ดินร่วนซุย มีอินทรียวัตถุ ไม่แน่นแข็ง ระบายน้ำได้ดี มีออกซิเจนให้รากตลอด ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยใช้ยาที่ต้องคอยฉีดพ่นบำรุงรักษา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน (081-3983128)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ปลายหนาว เข้าแล้ง จัดแจงเฝ้าระวังโรคภัยศัตรูพืช

18 ธ.ค.

ช่วงนี้ก็เริ่มรู้สึกว่าเริ่มอุ่นๆ ขึ้นบ้างเล็กน้อยเป็นบางวัน ไม่แน่ว่าเป็นเรื่องของหย่อมความกดอากาศต่ำจากทะเลจีนใต้ หรือฝั่งอันดามัน พัดพาดผ่านเข้ามาเป็นระยะๆหรือไม่ ด้วยว่ายังมีพายุที่กระหน่ำซ้ำเติมพื้นที่อาณาบริเวณรอบๆ ประเทศของเราอยู่บ้างเป็นระยะๆ หลังจากที่ พายุ “ไห่เยี่ยน” ได้ถล่มเข้าประเทศฟิลิปปินส์จนมีผู้ล้มตายจำนวนมาก ประเทศไทยเราจึงนับได้ว่าอยู่ในชัยภูมิที่โชคดีเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยอยู่ใจกลางของเอเชีย มีภูมิประเทศที่เพื่อนบ้านเป็นเมืองหน้าด่านป้องกันภัยธรรมชาติได้ในหลายๆ ครา ทำให้เรารอดพ้นวิกฤติที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติมาได้พอสมควร แต่เสียอยู่อย่างเดียว คือ แพ้ภัยตัวเอง!!!

ในห้วงช่วงฤดูกาลนี้ปัญหาเรืองของโรคแมลงศัตรูพืชที่จะเข้ามาระบาดทำลายพืชไร่ไม้ผลของพี่น้องเกษตรกรก็จะเป็นกลุ่มของเพลี้ยค่อนข้างมากอยู่เหมือนกัน (แต่ก็อย่าได้ประมาทไปนะครับ เพราะว่าสภาพอากาศและฤดูกาลนั้นเปลี่ยนแปลงไปมาก อาจจะมีแมลงศัตรูพืชที่หลากหลายและเข้ามาไม่เลือกฤดูกาล) โดยเมนหลักก็จะเป็นกลุ่มเพลี้ย โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ระบาดในนาข้าวนั้น เริ่มมีให้ได้ยินได้ฟังกันมาบ้างแล้ว ทางฝั่งภาคตะวันออก และภาคกลาง ไม่ว่าจะเป็น ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี, อ่างทอง, สิงห์บุรี, ชัยนาท, นครสวรรค์ และอุทัยธานี แต่ยังไม่รุนแรงเหมือนในครั้งก่อน ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่พี่น้องเกษตรกรก็ควรต้องวางแผนป้องกันเตรียมตัวกันเสียก่อนเนิ่นๆ ก็จะดีนะครับ

การใช้สมุนไพร ในกลุ่มของขมิ้นชัน ไพร ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอมและกานพลู (ชื่อการค้า “ไทเกอร์เฮิร์บ”) นั้นจะช่วยลดจำนวนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้เข้ามาในแปลงนาของเราได้น้อยลง อีกทั้งยิ่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์อย่าง บิวเวอร์เรีย (Beauveria bassiasna), และ เมธาไรเซียม (Metarhizium Anisopliae) (ชื่อการค้า “ทริปโตฝาจ”) ก็จะยิ่งเพิ่มความมั่นใจได้ว่าในแปลงนาของเรานั้น มีทหารยามทำหน้าที่เฝ้ายามสังเกตการณ์รอวันที่เพลี้ยเข้ามา ก็จะถูกโจมตีทำลายได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มของการระบาดได้ดีทีเดียว อีกเรื่องหนึ่งนะครับ สำหรับพื้นทีทางตนบน ซึ่งอากาศยังคงหนาวเย็นอยู่ ควรใช้ผลิตภัณฑ์ต้านความหนาว อย่าง “ไรซ์กรีนพลัส” ในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น จะช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างความต้านทานต่อสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นลงได้ เพราะประกอบไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารที่คิดค้นต่อเนื่อง มาจาก ซิงค์คีเลท 75 % และ ไวตาไลเซอร์ จึงทำหน้าที่ในการสู้หนาวโดยเฉพาะเป็นประโยชน์ต่อต้นพืชเป็นอย่างดี ทำหน้าที่คล้ายผ้าห่ม คือร้อนก็นำมาบังแดด หนาวก็นำมาห่ม ประกอบด้วยแร่ธาตุที่สำคัญอย่าง ซัลเฟอร์, นิกเกิ้ล, และซิลิสิค เสริมการทำงานของซิงค์คีเลทให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เรียกว่าระดมสรรพกำลังต้านความหนาวมาใส่ไว้ในกระป๋องเดียวโดยเฉพาะครับ

คุณมนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

ดินเหนียวที่ว่าปั้นตุ่มปั้นหม้อ คลายตัว ฟูร่วน ปลูกผักได้ผลดีหลังปรับปรุงดิน

18 ธ.ค.

สวัสดีครับพี่ๆน้องๆชาวชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกๆท่านครับ โดยในวันนี้ทางทีมงานของชมรมเกษตรปลอดสารพิษก็ได้มีโอกาสลงพื้นที่แห่งหนึ่งนั่นก็คืออำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีนั่นเองครับ โดยการลงพื้นที่ในครั้งนี้ทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้สัมภาษณ์เกษตรกรท่านหนึ่งซึ่งทำอาชีพปลูกผักหมุนเวียนตามแต่ละฤดูของผักแต่ละชนิดครับและท่านนั้นก็คือคุณพี่สมคิด ปัจจุบันพี่สมคิดปลูกผักบนเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่แลยังปลูกต้นชวนชม 3 ไร่เป็นอาชีพเสริมในกานประกอบอาชีพเกษตรอีกช่องทางหนึ่งครับ

เทคนิคอย่างแรกที่พี่สมคิดได้ให้ข้อมูลมาคือการใช้หินแร่ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์หว่านตอนเตรียมดิน พี่สมคิดจะใช้หินแร่ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์อัตรา 1 กระสอบ/พื้นที่ 1 ร่อง พี่สมคิดได้กล่าวว่าหลังจากใช้พบว่าดินจะคลายตัวได้ดีมากทำให้ผักโตไวและปุ๋ยจะไม่เปลืองผักจะมีความต้านทานต่อโรคและแมลงได้อย่างดีมากๆเมื่อเทียบกับแปลงข้างๆแล้วพบว่าแปลงข้างๆกันจะมีเชื้อราต่างๆและแมลงศัตรูพืชต่างๆรบกวนแต่แปลงของพี่สมคิดกลับไม่มีแมลงและเชื้อราเลย ซึ่งทำให้ลดต้นทุนในการปลูกผักได้อย่างดี ส่วนชวนชมเมื่อใช้แล้วก็โตดีพอสมควรดินไม่อุ้มน้ำ ตาของต้นถี่ไม่ห่าง โขดก็โตใหญ่ดีมาก ตอนนี้พี่สมคิดได้ลงผักคะน้าและผักหอม สมาชิกท่านใดสนใจจะสั่งผัก ต้นชวนชม ติดต่อได้ที่ (089-6843934)หรือสอบถามข้อมูลวิชาการเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com