Archive | เมษายน, 2017

การปลูกดาวเรืองปลอดสารพิษ เรื่องการป้องกันกำจัดหนอนด้วยวิธีปลอดสารพิษ

28 เม.ย.

เรื่องที่ผู้เขียนจะนำเสนอในตอนนี้ก็คือการป้องกันกำจัดหนอนในดาวเรืองโดยแนวทางการใช้แบบปลอดสารพิษ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผล มีเกษตรกรที่ใช้วิธีชีวภาพนี้ในการกำจัดหนอนต่างๆในดาวเรืองอยู่ในหลายพื้นที่ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับเจ้าหนอนต่างๆที่ผู้ปลูกดาวเรืองต้องเจอ หนอนที่ค่อยทำลายดาวเรืองหลักๆก็มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน นั้นคือ 1. หนอนชอนใบดาวเรือง : หนอนชอนใบที่ทําลายดาวเรืองนับว่าเป็นศัตรูดาวเรืองที่สําคัญที่สุดชนิดหนึ่ง เป็นหนอนแมลงวันขนาดเล็กกัดกินผิวใบด้านใน รอยทําลายจะเห็นเป็นทางสีขาว โดยจะสังเกตเห็นเป็นทางเดินของหนอนภายในใบ เล็กบ้างใหญ่บ้างตามขนาดของหนอนและระยะการเจริญเติบโตของหนอน หากปล่อยไว้จะเสียหายมาก และจะทําให้โรคใบจุดทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากแผลที่หนอนกัดกินจะทําให้โรคเข้าทําลายได้ง่ายขึ้น 2. หนอนกระทู้หอมเจาะดอกดาวเรือง : หนอนอาจมีสีต่างๆ กันตามสภาพแวดล้อม การกัดกินจะกินได้ทั้งที่ใบและเจาะเข้าไปกินในดอก การระบาดของหนอนจะมากในช่วงที่อากาศร้อนระยะฝนทิ้งช่วง หรือฤดูแล้ง 3. หนอนเจาะสมอฝ้ายดาวเรือง : ทําลายพืชโดยการกัดกินดอกโดยการกัดกินกลีบดอกที่กําลังตูม และสามารถกัดกินใบได้ในกรณีไม่มีดอกให้เจาะกิน สำหรับแนวทางการป้องกันกำจัดหนอนแบบปลอดสารพิษของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เริ่มตั้งแต่การทำให้ต้นดาวเรืองแข็งแรงแข็งแกร่ง เซลล์แข็งแกร่งมีภูมิต้านทานด้วยตัวเอง โดยการใช้หินแร่ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์รองก้นหลุมตั้งแต่ก่อนปลูกเพื่อให้ดาวเรืองมีธาตุซิลิก้าจากพูมิชซัลเฟอร์กินตั้งแต่แรกเริ่ม ช่วยให้ดาวเรืองมีภูมิคุ้นกันโรคและแมลงที่ดีตั้งแต่แรก แล้วช่วงที่พบการระบาดของหนอนต่างๆนั้นคือช่วงที่ดาวเรืองเริ่มโต(ช่วงอายุ 30-60 วันหลังจากปลูก) แนวทางการป้องกันหนอนของชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะให้เน้นไปที่ตัวต้นเหตุของหนอนก็คือ ตัวผีเสื้อกลางคืนที่จะมาวางไข่ทำให้เกิดหนอน โดยการป้องกันนั้นให้ใช้สมุนไพรต่างๆเช่น ไทเกอร์เฮิร์บ(ผงสมุนไพรรวม) ฉีดพ่นเป็นประจำทุก7-10 วันเพื่อให้กลิ่นของสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บคอยส่งกลิ่นเหม็นขับไล่ไม่ให้ผีเสื้อกลางคืนเข้ามาวางไข่ในสวนดาวเรืองของเราได้ ถ้าเราหมันฉีดป้องกันผีเสื้อกลางคืนบ่อยๆก็จะไม่มีผีเสื้อมาวางไข่ เมื่อผีเสื้อไม่มาวางไข่ก็ไม่มีหนอน (ท่านผู้อ่านว่าจริงมั๊ยครับ) แต่ถ้ายังพบเห็นหนอนหรือเกิดการระบาดของหนอนในแปลงดาวเรืองควรใช้ ชีวินทรีย์ที่ป้องกันกำจัดหนอนที่ชื่อว่า “บีทีชีวภาพ”ซึ่งเป็นชิวินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์กับหนอน เป็นเชื้อโรคร้ายของ หนอน ฉีดพ่นให้ทั่วทุก 3 วัน หลังจากที่หนอนสัมผัสกับเชื้อบีทีหนอนจะเริ่มป่วยไม่กินอาหาร การเข้าทำลายของหนอนจะหยุดทันที แต่ตัวหนอนยังไม่ตายให้เห็นในวันแรก จะเริ่มค่อยๆป่วยและตายในเห็นในวันที่ 2-3 นับจากวันฉีด หรือทางที่ดีเกษตรกรผู้ปลูกดาวเรืองควรผสม ไทเกอร์เฮิร์บร่วมกับบีที ฉีดพ่นทุก 7-10 วันตั้งแต่หนอนยังไม่ระบาดเพื่อเป็นการป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ข้อมูลเรื่องการป้องกันกำจัดหนอนแบบปลอดสารพิษนี้ทางผู้เขียนได้ข้อมูลจากเกษตรกรที่ปลูกดาวเรืองใน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ชื่อฟาร์มดาวเรืองไร่รักพ่อ อยู่ตรงข้ามโตโยต้าโชคชัย ถ.สีคิ้ว-บุรีรัมย์ ถ้าเกษตรกรที่อยู่ในโซนนั้นสนใจก็เข้าไปปรึกษากับทางฟาร์มได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณจตุโชค จันทรภูมี (ผู้เขียน) โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่ฝ่ายวิชาการของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ที่เบอร์ 02-9861680-2 หรือสอบถามทางระบบ LINE ID : tga003 และ tga004 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
แนะนำติชม : thaigreenagro@gmail.com

อาหารเริ่มน้อย ใบเหลือง ต้นแคระ ปัญหานึงของมะนาวในวงบ่อซิเมนต์

27 เม.ย.

เป็นที่ทราบกันว่ามะนาวที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์นั้น พื้นที่การหากินของรากมะนาวนั้นมีข้อจำกัดเรื่องระยะการหากิน ยิ่งมะนาวอายุมากขึ้น นั้นก็หมายความว่ารากมะนาวก็เกิดขึ้นมากด้วยโดยสังเกตได้จากรากมะนาวจะดันวงท่อขึ้นสูงจากฝารองประมาณ ครึ่งเซนติเมตร มองเห็นรากชัดเจน ในช่วงนี้รากมะนาวจะแน่นเต็มวงไปหมดทำให้การออกรากใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพในการดูดซับปุ๋ยนั้นมีน้อยลง ดังนั้นในช่วงระยะนี้ต้องหมั่นใช้การสังเกต โดยให้สังเกตุจากต้นและใบของมะนาวเป็นสำคัญ หากใบเริ่มเหลืองหรือเหลืองเป็นบางกิ่ง สาเหตุมาจากระบบรากมีปัญหาเนื่องจากการให้น้ำที่มากเกินไป เพราะส่วนใหญ่มะนาวในวงบ่อจะให้น้ำแบบระบบมินิสปริงเกอร์ ดังนั้นการไหลของน้ำในแต่ละวงอาจจะไม่เท่ากัน บางวงได้น้อยบางวงได้มาก ส่งผลให้ระบบรากมีปัญหา ทางแก้ไขก็คือให้ปรับเปลี่ยนระบบน้ำให้ไหลสม่ำเสมอตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และหว่านโรยพูมิชซัลเฟอร์ร่วมกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักปรับสภาพดินเป็นระยะๆให้ดินโปร่งระบายน้ำได้ดีขึ้น หรืออาจใช้วิธีควบคุมทรงพุ่มโดยการตัดแต่งกิ่งออกไป 40% เพราะหากปล่อยทรงพุ่มให้สูงใหญ่จะพบว่ามะนาวหาอาหารเลี้ยงต้นไม่เพียงพอเนื่องจากพื้นที่มีจำกัด ถึงแม้ว่าจะให้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องก็ตาม มะนาวหลังจากตัดแต่งทรงพุ่มแล้วไม่เกิน 20 วันยอดใหม่ๆก็จะแตกออกมาเป็นทรงพุ่มที่สวยงามเหมือนเดิม ในทางกลับกันหากไม่ตัดแต่งควบคุมทรงพุ่ม ต้นมะนาวก็จะโทรมเร็วและอายุจะสั้นลง นั้นหมายถึงว่าผลผลิตที่ได้ก็ลดลงด้วย ฉะนั้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ตั้งแต่ 2ปีขึ้นไปควรควบคุมทรงพุ่มโดยไม่ต้องเสียดาย ปรับแต่งระบบน้ำให้เข้าที่ให้น้ำไหลในปริมาณที่เท่ากัน รวมถึงต้องคอยเติมดิน อินทรีย์วัตถุลงช่วยเรื่อยๆเพื่อยืดอายุมะนาวให้ยาวนานขึ้น เพื่อรักษาระดับผลผลิต จำนวนผลต่อต้นให้มีปริมาณที่มากพอ พอที่จะสร้างกำไรให้แก่เกษตรกรได้ต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือผู้เขียน 081-3983128 ท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ชมรมฯสอบถามได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ Line Center : tga001, tga002, tga003, tga004 *** สินค้าคุณภาพ…ต้องตราใบไม้ลายธงชาติ เท่านั้น ***
คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

บทความพิเศษ เรื่อง แร่ธาตุและสารอาหาร ปัจจัยเสริมเพิ่มผลผลิตเกษตรกร

24 เม.ย.

ความเป็นไปในธรรมชาติ ต้นไม้ตามป่าเขาลำเนาไพรที่เขาสามารถเจริญเติบโต ไม่ต้องมีมนุษย์คนใดคอยดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ย แต่ก็ยังสามารถผลิดอกออกผลเป็นอาหาร เป็นที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์ป่านานาชนิดได้ตราบนานเท่านาน ถ้าไม่มีมนุษย์โลภมากเห็นแก่ตัวไปตัดไม้ทำลายป่า เสียจนป่าเหลือน้อยดังที่เห็นดังเช่นปัจจุบัน ผลที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ มาจากเหตุที่ป่าทั้งป่าอยู่กันแบบพึ่งพิงอิงอาศัย เศษกิ่ง ก้าน ใบ ที่ค่อยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนร่วงหล่นลงมาที่ผืนดิน มีไส้เดือน จุลินทรีย์ แอคทิโนมัยซีท มัยคอร์รัยซ่า ตุ่น เต่า กิ้งก่า ฯลฯ คอยทำหน้าที่ย่อยสลายให้กลายเป็นปุ๋ย เป็นอาหาร แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันอย่างไม่มีวันจบสิ้น ทำให้ระบบนิเวศน์มีความสมบูรณ์ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดตอน สำหรับแปลงเกษตรกรที่เราจะใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและฉีดพ่นปุ๋ยชีวภาพอยู่สม่ำเสมอ ก็ใช่ว่าจะได้รับแร่ธาตุและสารอาหารได้ครบถ้วน ครบโภชนาการเหมือนกับแร่ธาตุและสารอาหารในป่าเขาลำเนาไพร ที่ผ่านการหมักสลายมาเป็นร้อยเป็นพันปี แต่จะได้ผลเบื้องต้นพื้นฐานเรื่องของดินที่จะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่อาจจะไม่เพียงพอกับผลผลิตที่เราต้องการ หากเกษตรกรมีแนวคิดแบบนี้ ก็ต้องค่อยๆ เรียนรู้ว่าการใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่หมักกันเพียง 2 – 3 เดือน แล้วจะให้พืชที่เราปลูกได้รับแร่ธาตุและสารอาหารที่ครบถ้วน ทั้งธาตุหลักอย่าง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุรอง แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน ธาตุเสริม เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม นิกเกิ้ล ไทเทเนียม ซิลิก้า ไคโตซาน ฯลฯ ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะระยะเวลาในการหมัก การย่อยสลายนั้นน้อยเกินไป ดังนั้นจึงมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเรื่องสารปรับปรุงบำรุงดินเยอะแยะมากมายออกมาเป็นตัวเลือกให้พี่น้องเกษตรกรได้เลือกใช้ ซึ่งเบื้องต้นนั้นพี่น้องเกษตรกรจำเป็นที่จะต้องทราบก่อนว่าดินของเรานั้นมีปัญหาในด้านใด ถ้าเป็นปัญหาด้านดินเป็นกรด ดินเปรี้ยว อันนี้ก็ต้องใช้สารปรับปรุงดินที่เป็นกลุ่มของปูน อย่าง ปูนมาร์ล ปูนเปลือกหอย ปูนเผา ปูนขาว โดโลไมท์ ฟอสเฟต ถ้าดินเป็นด่าง ก็ต้องแก้ด้วยกลุ่มของอินทรียวัตถุ (อาศัยกรดอินทรีย์จากกิจกรรมของจุลินทรีย์) ยิปซั่ม และภูไมท์ซัลเฟต ถุงแดง แต่ถ้าดินที่ขาดแคลนแร่ธาตุสารอาหาร ขาดแคลนความอุดมสมบูรณ์ อันนี้ก็จำเป็นต้องเสริมกลุ่มของปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ แต่ดังที่ได้ทราบว่าปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์นั้นไม่สามารถที่จะตอบสนองเรื่องสารอาหารให้เพียงพอต่อการเพิ่มผลผลิตในแบบทันทีทันใดได้ จึงจำเป็นที่จะต้องหาวัสดุที่พร้อมต่อการแตกตัวย่อยสลาย อย่างกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟหินแร่ภูเขาไฟในโลกนี้มีมากมายหลายชนิด บ้างก็นำไปใช้ในการกลบฝังกากกัมมันตภาพรังสี บ้างก็นำไปใช้ในการกรองน้ำเสียในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือในบ่อเลี้ยงปลาคาร์ฟ บ้างก็นำไปใช้ในการจับกลิ่นเหม็นในตึก อาคาร เครื่องกรองอากาศ บ้างก็นำไปเคลือบกับปุ๋ยให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้าที่ญี่ปุ่นทำขายมามากมาย บ้างก็นำไปใช้จับก๊าซพิษของเสียในบ่อกุ้งบ่อปลา จับกลิ่นเหม็นป้องกันแมลงวันในคอกสัตว์เล้าไก่ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าหินแร่ภูเขาไฟที่อยู่ใต้เปลือกโลกเรียกว่า “แมกมา” มีความร้อนเป็น 1,000 องศาเซลเซียส พอระเบิดเกิดขึ้นมาเป็น“ลาวา” หลุดพ้นจากแรงอัดมหาศาลใต้เปลือกโลก เจอบรรยากาศที่บางเบาจึงพองตัวคลายก๊าซและไอน้ำระเหยออก บวมพองเหมือนข้าวโพดคั่ว (Popcorn) และมีรูพรุนมหาศาล ซึ่งผ่านกาลเวลาเป็นร้อยๆ ล้านปี ก่อนจะเป็นหินแร่ที่พร้อมต่อการย่อยสลายให้กลายเป็นปุ๋ยเป็นอาหารแก่พืช จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งมีแร่ธาตุและสารอาหารทั้ง ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม และที่สำคัญมีซิลิก้า (Sio2 à H4Sio4) ที่ละลายน้ำแตกตัวเป็นซิลิสิค แอซิด ได้อีกกว่า 70 % ซึ่งช่วยให้เซลล์พืชที่ได้รับเข้าไปสะสมอย่างเพียงพอ สามารถที่จะยับยั้งป้องกั้นโรคแมลงเพลี้ยหนอน รา ไร ไม่ให้รบกวนได้ แร่ธาตุและสารอาหารที่มีความหลากหลายมากกว่าปุ๋ยเคมีที่มีธาตุหลักเพียง 3 ตัว คือ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P)โพแทสเซียม (K) ปัจจุบันจึงเป็นที่นิยมของเกษตรกรในการนำมาใส่เสริมเพิ่มเข้าไปพร้อมกับปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเติมเต็มแร่ธาตุและสารอาหารให้พืชได้รับอย่างครบถ้วนสมบูรณ์และเพียงพอต่อการให้ผลผลิตที่ตนเองต้องการ อาจจะนำไปคลุกผสมกับปุ๋ยเคมีในอัตราส่วน 1 : 5 ก็จะช่วยให้ปุ๋ยเคมีเหล่านี้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า พืชจะค่อยๆ ดูดกินไปที่ละนิดตามต้องการ(ปุ๋ยละลายช้า มิได้หมายความว่าละลายยากนะครับ) เปรียบเสมือนเป็นตู้เย็นให้กับรากพืช ช่วยให้การใส่เสริมเพิ่มปุ๋ยเข้ามาในระบบการทำเกษตรแบบมืออาชีพ ประหยัด และใช้ปุ๋ยน้อยลง เป็นการเติมอาหารพืชในลักษณะที่เป็นเกษตรอินทรีย์ (ในกรณีที่ไม่อยากใช้ปุ๋ยเคมี) ถูกใจเกษตรกรแนวเกษตรอินทรีย์ชีวภาพได้อย่างลงตัว สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ 02 986 1680 -2
สนับสนุนบทความโดย นายมนตรี บุญจรัส
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด (ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)
สอบถามข้อมูลข่าวได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2000 8499 , 081 732 7889

ผลลัพธ์ของการลด ละ เลี่ยงสารเคมีสู่วัฏจักรธรรมชาติ

17 เม.ย.

แน่นอนครับว่าสารเคมีที่เราใช้กำจัดแมลงส่วนหนึ่งจะต้องตกค้างอยู่ในผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งไม่สามารถล้างออกได้ด้วยน้ำเปล่า หรือทำลายด้วยความร้อนจากการหุงต้ม ดังนั้นอาหารที่เราบริโภคเข้าไปทุกวันนี้ย่อมปนเปื้อนไปด้วยสารพิษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจจะส่งผลกระทบต่อตัวผู้ใช้โดยตรง หรือผู้บริโภค ซึ่งมีทั้งที่แสดงอาการทันที หรือค่อยๆสะสมเข้าร่างกายทีละนิดทีละหน่อย นอกจากนี้สารเคมียังทำลายแมลงดีในธรรมชาติที่คอยกินแมลงศัตรูพืชให้ค่อยๆหมดไปจากธรรมชาติ เมื่อแมลงศัตรูธรรมชาติส่วนหนึ่งถูกทำลาย ทำให้แมลงศัตรูพืช(ตัวจริง)เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้แหล่งอาหารไม่เพียงพอ สมดุลของระบบนิเวศก็หายไป แมลงศัตรูพืชระบาดมากขึ้นจนกลายเป็นว่าเคมีควบคุมไม่ได้ผล เคยถามตัวเองไหมว่า…ในอดีตทำไมเคมีเคยควบคุมแมลงอยู่…ไม่ใช่หรือ ไม่ใช่อะไรหรอกครับ…แต่ความจริง….แมลงศัตรูธรรมชาติส่วนหนึ่งคอยควบคุมอยู่นั้นเอง เมื่อสารเคมีส่วนหนึ่งไปกำจัดศัตรูธรรมชาติจนลดลง จึงทำให้แมลงศัตรูขยายพันธุ์รวดเร็วมากขึ้นจนกลายเป็นศัตรูพืชในที่สุด สารเคมีเหล่านี้ไม่ได้อยู่เฉพาะในพื้นที่การเกษตรเท่านั้นหรอกครับ แต่จะแพร่กระจายไปทั่วบริเวณ ซึ่งอาจจะไปทางน้ำที่ไหลผ่านแปลงเกษตรที่ฉีดพ่นสารเคมี ทำให้แหล่งน้ำปนเปื้อนเคมี เมื่อระบบนิเวศถูกทำลาย น้ำเน่าเสีย ปลาตาย อีกเพราะสารเคมีสลายช้า เมื่อสัมผัสหรือสะสมในร่างกายเล็กๆน้อยๆอาจจะไม่ถึงกับเสียชีวิตทันทีก็จริงอยู่ แต่มีผลต่อสุขภาพในระยะยาว ทำให้เจ็บป่วยง่าย กระเสาะกระแสะ ขี้โรค เดี่ยวเป็นโรคโน้นเดี่ยวเป็นโรคนี้ สรุปง่ายๆเลยแล้วกัน … ผลดีของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีน้อยกว่าผลเสีย ท่านใดสนใจแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือเสนอข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน 081-3983128 ท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ชมรมฯสอบถามได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ Line Center : tga001, tga002, tga003, tga004 *** สินค้าคุณภาพ…ต้องตราใบไม้ลายธงชาติ เท่านั้น ***
คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

การปลูกดาวเรืองปลอดสารพิษ เรื่องการป้องกันกำจัดหนอนด้วยวิธีปลอดสารพิษ

12 เม.ย.

เรื่องที่ผู้เขียนจะนำเสนอในตอนนี้ก็คือการป้องกันกำจัดหนอนในดาวเรืองโดยแนวทางการใช้แบบปลอดสารพิษ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผล มีเกษตรกรที่ใช้วิธีชีวภาพนี้ในการกำจัดหนอนต่างๆในดาวเรืองอยู่ในหลายพื้นที่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับเจ้าหนอนต่างๆที่ผู้ปลูกดาวเรืองต้องเจอ หนอนที่ค่อยทำลายดาวเรืองหลักๆก็มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน นั้นคือ1. หนอนชอนใบดาวเรือง : หนอนชอนใบที่ทําลายดาวเรืองนับว่าเป็นศัตรูดาวเรืองที่สําคัญที่สุดชนิดหนึ่ง เป็นหนอนแมลงวันขนาดเล็กกัดกินผิวใบด้านใน รอยทําลายจะเห็นเป็นทางสีขาว โดยจะสังเกตเห็นเป็นทางเดินของหนอนภายในใบ เล็กบ้างใหญ่บ้างตามขนาดของหนอนและระยะการเจริญเติบโตของหนอน หากปล่อยไว้จะเสียหายมาก และจะทําให้โรคใบจุดทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากแผลที่หนอนกัดกินจะทําให้โรคเข้าทําลายได้ง่ายขึ้น2. หนอนกระทู้หอมเจาะดอกดาวเรือง : หนอนอาจมีสีต่างๆ กันตามสภาพแวดล้อม การกัดกินจะกินได้ทั้งที่ใบและเจาะเข้าไปกินในดอก การระบาดของหนอนจะมากในช่วงที่อากาศร้อนระยะฝนทิ้งช่วง หรือฤดูแล้ง3. หนอนเจาะสมอฝ้ายดาวเรือง : ทําลายพืชโดยการกัดกินดอกโดยการกัดกินกลีบดอกที่กําลังตูม และสามารถกัดกินใบได้ในกรณีไม่มีดอกให้เจาะกินสำหรับแนวทางการป้องกันกำจัดหนอนแบบปลอดสารพิษของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เริ่มตั้งแต่การทำให้ต้นดาวเรืองแข็งแรงแข็งแกร่ง เซลล์แข็งแกร่งมีภูมิต้านทานด้วยตัวเอง โดยการใช้หินแร่ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์รองก้นหลุมตั้งแต่ก่อนปลูกเพื่อให้ดาวเรืองมีธาตุซิลิก้าจากพูมิชซัลเฟอร์กินตั้งแต่แรกเริ่ม ช่วยให้ดาวเรืองมีภูมิคุ้นกันโรคและแมลงที่ดีตั้งแต่แรก แล้วช่วงที่พบการระบาดของหนอนต่างๆนั้นคือช่วงที่ดาวเรืองเริ่มโต(ช่วงอายุ 30-60 วันหลังจากปลูก) แนวทางการป้องกันหนอนของชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะให้เน้นไปที่ตัวต้นเหตุของหนอนก็คือ ตัวผีเสื้อกลางคืนที่จะมาวางไข่ทำให้เกิดหนอน โดยการป้องกันนั้นให้ใช้สมุนไพรต่างๆเช่น ไทเกอร์เฮิร์บ(ผงสมุนไพรรวม) ฉีดพ่นเป็นประจำทุก7-10 วันเพื่อให้กลิ่นของสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บคอยส่งกลิ่นเหม็นขับไล่ไม่ให้ผีเสื้อกลางคืนเข้ามาวางไข่ในสวนดาวเรืองของเราได้ ถ้าเราหมันฉีดป้องกันผีเสื้อกลางคืนบ่อยๆก็จะไม่มีผีเสื้อมาวางไข่ เมื่อผีเสื้อไม่มาวางไข่ก็ไม่มีหนอน (ท่านผู้อ่านว่าจริงมั๊ยครับ) แต่ถ้ายังพบเห็นหนอนหรือเกิดการระบาดของหนอนในแปลงดาวเรืองควรใช้ ชีวินทรีย์ที่ป้องกันกำจัดหนอนที่ชื่อว่า “บีทีชีวภาพ”ซึ่งเป็นชิวินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์กับหนอน เป็นเชื้อโรคร้ายของหนอน ฉีดพ่นให้ทั่วทุก 3 วัน หลังจากที่หนอนสัมผัสกับเชื้อบีทีหนอนจะเริ่มป่วยไม่กินอาหาร การเข้าทำลายของหนอนจะหยุดทันที แต่ตัวหนอนยังไม่ตายให้เห็นในวันแรก จะเริ่มค่อยๆป่วยและตายในเห็นในวันที่ 2-3 นับจากวันฉีด หรือทางที่ดีเกษตรกรผู้ปลูกดาวเรืองควรผสม ไทเกอร์เฮิร์บร่วมกับบีที ฉีดพ่นทุก 7-10 วันตั้งแต่หนอนยังไม่ระบาดเพื่อเป็นการป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆข้อมูลเรื่องการป้องกันกำจัดหนอนแบบปลอดสารพิษนี้ทางผู้เขียนได้ข้อมูลจากเกษตรกรที่ปลูกดาวเรืองใน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ชื่อฟาร์มดาวเรืองไร่รักพ่อ อยู่ตรงข้ามโตโยต้าโชคชัย ถ.สีคิ้ว-บุรีรัมย์ ถ้าเกษตรกรที่อยู่ในโซนนั้นสนใจก็เข้าไปปรึกษากับทางฟาร์มได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณจตุโชค จันทรภูมี (ผู้เขียน) โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่ฝ่ายวิชาการของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ที่เบอร์ 02-9861680-2 หรือสอบถามทางระบบ LINE ID : tga003 และ tga004 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
แนะนำติชม : thaigreenagro@gmail.com

จุลินทรีย์มีดีเยอะ…ไม่เห็นต้องง้อ…ยาเคมี

11 เม.ย.

ปัญหาเพลี้ยแป้งทำลายมันสำปะหลังก่อความยุ่งยากให้แก่เกษตรกรมาช้านาน การแก้หรือป้องกันส่วนใหญ่ใช้สารเคมีทั้งชนิดออกฤทธิ์เฉียบพลันและชนิดดูดซึมฉีดพ่น เพื่อหวังให้ตายทันใจปรารถนา แต่บางครั้งหลังฉีดแล้วกลับไม่ตาย เนื่องจากสารเคมีไม่ได้สัมผัสโดนตัวหรือน้ำที่ผสมเป็นด่างทำลายฤทธิ์ยา ซึ่งปกติแล้วน้ำที่เหมาะสมเสริมฤทธิ์ยาต้องเป็นอ่อนๆ หากพบว่าน้ำเป็นด่างให้เติมซิลิซิคแอซิค ปรับสภาพน้ำก่อนผสมยาหรือฉีดพ่นยาแล้วโดนเฉพาะตัวพ่อตัวแม่ที่อยู่ด้านบนตัวส่วนลูกที่ซ่อนอยู่ด้านล่างไม่โดน ทำไม่สามารถหยุดหรือระงับการทำลายได้ ทำให้ใช้ยาไม่ค่อยได้ผล อีกมุมหนึ่งอย่าลืมว่าเพลี้ยแป้งมีเกราะธรรมชาติจากผงแป้งฝุ่นสีขาวคอยป้องกัน ทำให้ไม่เปียกน้ำ ลื่นไหลไม่สัมผัสหรือยึดเกาะติดลำตัว จำเป็นต้องอาศัยตัวช่วยอย่างม้อยเจอร์แพล้นท์(สารจับใบ)เพิ่มประสิทธิภาพทำให้สารเปียกใบง่ายขึ้นปัจจุบันจุลินทรีย์อย่างเชื้อราบิวเวอร์เรีย,เมธาไรเซี่ยม ก็สามารถทำลายป้องกันควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งได้ดีไม่แพ้สารเคมีเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษจึงได้มีการพัฒนาจุลินทรีย์ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ใช้กำจัดเพลี้ยแป้ง,เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลฯลฯ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในรูปของผงสปอร์แห้ง ที่ชื่อคัทอ๊อฟ(บิวเวอร์เรีย) และฟอร์แทรน(เมทาไรเซี่ยม) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ประเภทเชื้อรากินแมลง ที่ใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกนานกว่า 40ปีมาแล้ว อีกอย่างไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม กำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เพียงแค่ใช้คัทอ๊อฟร่วมกับฟอร์แทรนอย่างละ 25-30กรัม ผสมในน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น ก็สามรถทำลายเพลี้ยแป้งได้อย่างมีประสิทธิภาพหรืออาจเสริมฤทธิ์โดยการปรับสภาพน้ำด้วยซิลิซิคให้เป็นกรดอ่อนๆร่วมกับม้อยเจอร์แพล้นท์ก่อนจะนำจุลินทรีย์ดังกล่าวลงผสม ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งใต้ใบบนใบ ประสิทธิภาพของม้อยเจอร์แพล้นท์ก็จะค่อยๆชะล้างแวกซ์ทำลายเกราะป้องกันออก ทำให้จุลินทรีย์เข้าทำลายได้ง่ายขึ้นหลังจากม้อยเจอร์แพล้นท์ได้ทำลายเกราะป้องกันแล้ว จุลินทรีย์ก็จะสัมผัสตัวเพลี้ยแล้วค่อยๆงอกออกจากสปอร์เจริญเป็นเส้นใยแทงเข้าทำลาย จากนั้นจะเริ่มมีอาการป่วย หยุดทำลายและตายในที่สุด หากสังเกตดีๆจะพบว่าเพลี้ยที่ตายจะแห้งคล้ายๆ กับว่าถูกดูดกินน้ำเลี้ยงนั่นเอง เวลาที่เหมาะสมในการฉีดพ่นควรเป็นช่วงเย็นแดดไม่จัดหรือไม่มีแดด ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบ ใต้ใบ กิ่ง ก้าน โคน กอ หรือที่คาดว่าเพลี้ยแอบหลบซ่อนอยู่ ให้เปียกชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ 7วัน/ครั้ง หากระบาดให้ฉีดแบบวันเว้นวันติดต่อกัน 3 ครั้ง นอกจากนี้ควรฉีดพ่นควบคุมปริมาณเพลี้ยในสวนในไร่เป็นประจำ เพื่อตัดวงจรป้องกันการระบาดให้ทันท่วงที สำหรับเกษตรกรที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน 081-3983128 ท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ชมรมฯสอบถามได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ Line Center : tga001, tga002, tga003, tga004 *** สินค้าคุณภาพ…ต้องตราใบไม้ลายธงชาติ เท่านั้น ***
คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

แนะนำการปลูกพืชใช้น้ำน้อย สร้างรายได้ในช่วงฤดูแล้ง

10 เม.ย.

ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยอยุ่ในช่วงที่อากาศร้อนที่สุดของปีและเป็นช่วงที่ประเทศไทยแล้งและขาดแคลนน้ำ สำหรับภาคเกษตรแล้วถือว่าได้รับผลกระทบมากที่สุดเพราะน้ำเป็นปัจจัยหลักอันดับ1 ในการทำการเกษตร ฉะนั้นแล้วควรจะมองหาพืชที่ใช้น้ำน้อยมาเพาะโดย เฉทเช่นนโยบายของทางภาครัฐที่ส่งเสริมให้ปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยๆในการเพาะปลูกโดยการปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น พืชที่ใช้น้ำน้อย เช่นพืชตระกูลผัก เช่น ผักบุ้ง คะน้า ถั่วฝักยาว บวบ ฟัก กระเพรา ตะไคร้ เป็นต้น หรือจะเป็นกลุ่มไม้ดอก ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตสั้น ใช้น้ำน้อย มาปลูกทดแทนสร้างรายได้มาจุนเจือครอบครัวระหว่างช่วงรอน้ำทำนาพืชเศรษฐกิจที่น่าจำสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้เกษตรกรที่ว่างเว้นจากการทำนา ที่ทางผู้เขียนอย่ากแนะนำก็คือ ดาวเรือง ซึ่งดาวเรืองเป็นดอกไม้ในไม่กี่ชนิดที่ขายกันเป็นดอก ไม่ได้ขายเป็นกิโลกรัมเหมือนดอกมะลิหรือดอกไม้ชนิดอื่นๆ ดาวเรืองใช้เวลาปลูกประมาณ 60-70 วันก็สามารถตัดดอกขายได้แล้ว หลังจากที่ตัดรอบแรกแล้วก็สามารถตัดดอกขายได้อีกประมาณ 2 เดือนเป็นอย่างต่ำ ราคารับซื้อที่ซื้อขายกันอยู่ก็ดี ดอกจัมโบ้(ดอกใหญ่พิเศษ) รับซื้อกันอยู่ที่ดอกละ 1-2 บาท ส่วนดอกเล็กราคาก็ลดหลั่นลงมา เกษตรกรในภาคอีสานจะนิยมปลูกดาวเรืองเป็นอาชีพเสริมหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีช่วงเดือนพฤศจิกายน เพราะภาคอีสานจะทำนากันปีละครั้งจะไม่มีน้ำทำนาปรังเหมือนเขตภาคกลาง หลังจากเกี่ยวข้าวแล้วก็จะทำการปลูกพืชระยะสั้นเสริมแบบนี้แทบทุกปี เกษตรกรในเขตภาคกลางน่าจะเอาวิธีของชาวนาในภาคอีสานไปลองปรับใช้ดูบ้างสำหรับดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่ดูแลไม่อยาก ดูแลด้วยการใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 เป็นประจำทุกเดือน ส่วนเรื่องของโรคแมลงก็จะมีเชื้อราที่คอยสร้างปัญหาส่วนมากจะเป็นที่ดอกทำให้ดอกดาวเรืองมีตำหนิ ราคาอาจตกลงได้ แมลงศัตรูก็จะมี หนอนเจาะดอก หนอนกินใบ เพลี้ยไฟ เป็นต้นเกษตรกรที่ทำนา หรือ ทำพืชไร่ ควรปรับตัวให้ทันกับสถานณ์ปัจจุบัน ไม่ใช่มีอาชีพทำนาหรือทำไร่เชิงเดียวอย่างเดียว แต่ควรจะมีความรู้ในเรื่องการเพาะปลูกพืชอย่างอื่นด้วย เผื่อว่าในภายภาคหน้าเกิดเหตุการณ์ขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก จะได้ปรับตัวได้ทัน ท่วงทีสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่ฝ่ายวิชาการของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือสอบถามทางระบบ LINE ID : tga003 และ tga004 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
แนะนำติชม : thaigreenagro@gmail.com