Archive | สารพันเห็ด RSS feed for this section

บทความเกษตร”ปัจจัยที่ทำให้เห็ดภูฐานออกดี”

14 มี.ค.

บทความเกษตร”ปัจจัยที่ทำให้เห็ดภูฐานออกดี”
สวัสดีครับพี่ๆน้องๆชาวชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกๆท่านครับ วันนี้ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะมาพูดถึงปัจจัยในการเปิดดอกเห็ดภูฐานให้ ออกดีและมีผลผลิตที่มีมาตราฐานและปริมาณสูงครับ กล่าวถึงเห็ดภูฐานทุกๆท่านก็คงจะทราบลักษณะและความอร่อยของเห็ดชนิดนี้กัน บ้างแล้วเพราะเป็นเห็ดที่เพาะง่ายเลี้ยงดูง่ายที่สุดในบรรดาเห็ดชนิดอื่นๆ และยังเป็นเห็ดที่ผู้คนให้ความนิยมนำไปบริโภคสูง ซึ่งนั่นก็ทำให้เกษตรกรหลายๆท่านนั้นหันมาเพาะเห็ดเป็นรายได้เสริม บางท่านก็เพาะกันเป็นอาชีพหลัก ซึ่งเห็ดที่เปิดดอกออกมานั้นจะมีราคาที่ไม่สูงและไม่ต่ำจึงทำให้เกษตรกร หลายๆท่านนิยมเพาะกัน แต่ปัญหาของเกษตรกรส่วนใหญ่ที่เพิ่งทดลองเปิดดอกหรือบางท่านที่เปิดดอกเห็ด ขายมานานแล้วยังไม่ทราบถึงปัจจัยที่จะทำให้เห็ดออกดีมีคุณภาพเลยจึงประสบกับ ปัญหาของการขาดทุน เพราะการจะเปิดดอกเห็ดเพื่อจัดจำหน่ายในแต่ละครั้งนั้นจะต้องใช้ทุนที่สูงใน ระดับหนึ่งเลยที่เดียว โดยปัจจัยของการเปิดดอกเห็ดเพื่อจัดจำหน่ายหรือนำไปรับประทานในครอบครัวนั้น ให้ออกดอกดี ออกเยอะ ดอกเห็ดมีคุณภาพนั้นจะมีปัจจัยอยู่ 7 ปัจจัยด้วยกันครับ

โดยปัจจัยในการเปิดดอกนั้นมี 7 ข้อดังนี้

1.อุณหภูมิ เห็ดภูฐานนั้นชอบอุณหภูมิที่ระดับกลางๆไม่เย็นมากและไม่ร้อนมากนั่นก็คือ 25-30 องศา ถ้าเกษตรกรควบคุมให้อุณหภูมิให้นิ่งก็จะทำให้เห็ดออกดีและมีคุณภาพครับ

2.ความชื้น เห็ดภูฐานชอบความชื้นที่ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเกษตรกรควบคุมให้ความชื้นให้นิ่งก็จะทำให้เห็ดออกดีและมีคุณภาพครับ

3.ความสะอาด ถ้าเกษตรกรท่านใดรักษาความสะอาดภายในโรงเรือนได้จะทำให้ก้อนเห็ดไม่เสียเร็วและผลผลิตจะมีคุณภาพและปริมาณ

4.อากาศ จะเป็นตัวช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด เกษตรกรส่วนใหญ่จึงนิยมหลังคาที่มุงจากซึ่งจะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี

5.แสง จะมีความจำเป็นอย่างมากในการกระตุ้นให้เส้นใยรวมตัวกันเพื่อให้เกิดดอกเห็ด ได้เร็วขึ้น เห็ดนางฟ้าต้องการแสงปานกลาง แสงที่เหมาะสมคือขนาดพอดีที่จะอ่านหนังสือได้

6.ความเป็นกรดเป็นด่าง ก้อนเชื้อจะต้องมีค่าPH ที่ออกเป็นกรดอ่อนๆคือ 5.8

7.เรื่อง ของธาตุอาหารภายในก้อนเชื้อเห็ดที่จะนำมาเปิด บางท่านไม่ทราบว่าอาหารภายในก้อนที่ซื้อมานั้นมีเยอะหรือเปล่าววิธีการสัง เกตุก็คือ ทดลองซื้อมาลองเปิดดูสัก 5 ก้อนเพื่อดูดอกเห็ดที่ออกมาว่าออกเยอะหรือไม่และสามารถเก็บได้นานเท่าไหร่ ถ้าออกดีและเก็บได้นานแสดงว่าภายในก้อนเชื้อนั้นมีอาหารเยอะ

และนี่ก็คือปัจจัยในการเปิดก้อนเห็ดของเกษตรกรที่ต้องศึกษาและปฎิบัติให้ได้ในทุกๆข้อแล้วอาชีพในการเพาะเห็ดจะประสบกับความสำเร็จ

เขียนและรายงานโดย พิสิษฐ์(ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)

สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือ http://www.thaigreenagro.com

เขียนและรายงานเมื่อวันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2557

บทความเกษตร”เห็ดไม่ออกดอก เห็ดดอกเล็ก ไม่มีน้ำหนัก แก้ไขอย่างไรมาดูกัน”

13 พ.ย.

บทความเกษตร”เห็ดไม่ออกดอก เห็ดดอกเล็ก ไม่มีน้ำหนัก แก้ไขอย่างไรมาดูกัน”
สวัสดีครับพี่ๆน้องๆชาวชมรมเกษตรปลอดสารพิษ วันนี้ทางทีมงานจะมาพูดถึงคุณประภัสสร ที่ทำอาชีพเพาะเห็ดภูฐานมาฝากกันครับ โดยปรกติแล้วคุณประภัสสร นั้นจะทำอาชีพหลักคือการทำนาข้าวอยู่ที่ อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา แต่ประสบกับปัญหาในเรื่องของน้ำที่มาจากน้ำฝนและมาจากน้ำที่อื่นๆทำให้การประกอบอาชีพหลักคือปลูกข้าวนั้นต้องหยุดไปกับสภาวะของน้ำนั่นเองครับ โดยคุณประภัสสรนั้นได้ทำการคิดตระหนักถึงรายได้ที่ขาดหายไปตลอดมาว่าระหว่างที่รอการทำการเกษตรปลูกข้าวอีกครั้งจะต้องทำอะไรที่สามารถสร้างรายได้ให้เข้ามาบ้าง และก็พบว่าอาชีพการเพาะเห็ดนั้นก็เป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองอีกทางหนึ่ง จึงค้นหาวิธีเพาะเห็ดจากหนังสือบ้างอินเทอร์เน็ตบ้าง จึงได้เริ่มทดลองเพาะเห็ดภูฐานมาเป็นอาชีพเสริมแล้วประสบความสำเร็จได้ การที่ประสบความสำเร็จของพี่ประภัสสรนั้นก็คือ การตรวจสอบตลาดที่จะนำสินค้าหรือเห็ดที่เพาะได้เสียก่อนเมื่อได้ตลาดที่จะนำเห็ดไปขายแล้วนั้นก็จะมาสำรวจเรื่องราคาว่าถ้าเพาะแล้วจะขายได้ในราคาประมาณเท่าไหร่ต่อกิโลกรัม พอหาตลาดและตกลงเรื่องของราคาแล้วพี่ประภัสสรนั้นก็ได้สั่งก้อนเห็ดจากบริเวณท่าเรือมาทำการเปิดก้อนขายครับ(ไม่ยอมบอกชื่อฟาร์มที่ทำก้อนขาย) โดยสั่งมา 2,000 ก้อน (ราคาก็ไม่ยอมบอกครับ)

และหลังจากนั้นไม่นานประมาณ 3 อาทิตย์พี่ประภัสสรก็ได้ก้อนเห็ดภูฐานมาเปิดก้อนสมใจโดยพี่ประภัสสรนั้นเพาะในห้องน้ำที่ตัวเองไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งเป็นที่ๆดีนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ก่อนนำก้อนเข้าโรงพี่ประภัสสรได้เล่าว่าต้องทำความสะอาดภายในห้องน้ำให้สะอาดเสียก่อนก่อนที่จะนำก้อนไปเปิด หลังจากนั้นไม่นานนักพอเห็ดรุ่นแรกๆออกมาดี แต่รุ่น2-3เริ่มมีปัญหาคือเห็ดออกมาน้อยและไม่ได้น้ำหนัก จึงไปศึกษาทางอินเทอร์เน็ตพบบทความของชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่ใช้แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ดและอาหารเสริมเห็ดดีพร้อมจึงได้ติดต่อมาทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษเพื่อจะซื้อไปทดลองใช้ดู ทางทีมงานจึงแนะนำให้ไปซื้อที่ร้านตัวแทนจำหน่ายที่ใกล้ที่สุด เมื่อพี่ประภัสสรได้สินค้ามาก็เริ่มทำการฉีดพ่นที่หน้าก้อน ฉีดพ่นทุกๆ 3 วันครั้งประมาณ 3 ครั้ง เห็ดของพี่ประภัสสรนั้นก็เริ่มออกดอกมาอีกครั้งคราวนี้ก็เยอะพอๆกับหน้าแรกๆที่พี่ประภัสสรเปิดเลยและดอกยังใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบๆกับตอนที่มีปัญหา ทำให้พี่ประภัสสรถึงกับยิ้มออก และเอ่ยออกมาว่าประทับใจผลิตภัณฑ์ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษมากๆถ้าน้ำยังไม่รดก็คงจะต้องเพาะเห็ดต่อไปอีกแต่ไม่แน่อาจจะเพาะเห็ดเป็นอาชีพเสริมร่วมกับการปลูกข้าวก็เป็นได้พี่ประภัสสรกล่าวทิ้งท้าย และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเสียงหนึ่งคำยืนยันที่ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้เก็บข้อมูลดีๆมาฝากทุกๆท่านครับ เกษตรกรท่านใดที่เพาะเห็ดและมีปัญหาเรื่องเห็ดไม่ออกดอกและเห็ดไม่มีน้ำหนักก็สามารถสอบถามหรือนำผลิตภัณฑ์ของชมรมไปทดลองใช้(แล้วจะบอกว่าดีจริงๆครับ) สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือ http://www.thaigreenagro.com

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

ดอกเห็ดผอม ต้องบำรุง

15 ส.ค.

ในกระบวนการเพาะเห็ดนั้น สิ่งที่ควรให้ความสำคัญก็คือการจัดสรรอาหารภายในก้อนเชื้อเห็ดให้มีอยู่มากเพียงพอเลี้ยงดอกเห็ดไปได้ตลอดรอดฝั่งอย่างน้อยก็ไม่ควรต่ำกว่า 4 หรือ 5 เดือน เกษตรกรผู้เพาะเห็ดหน้าใหม่มักจะไปติดกับดักกับก้อนเชื้อเห็ดราคาถูก ที่มักจะมีแร่ธาตุสารอาหารเติมเสริมลงไปเพียงเล็กน้อยจึงทำให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาถูก เพียงก้อนและ 4 หรือ 5 บาท ส่วนใหญ่ลักษณะของก้อนก็จะหลวม สั้น ใส่อาหารน้อยส่วนใหญ่มีแต่เพียงขี้เลื่อยเพียงอย่างเดียว แต่กลุ่มพวกอาหารเสริมอย่าง ภูไมท์, ยิปซั่ม ดีเกลือ ปูนขาว จะมีค่อนข้างน้อย ทำให้เมื่อนำไปเพาะก็จะได้ผลผลิตเห็ดออกมาไม่สมบูรณ์ บ้างดอกเล็ก บ้างกานยาวแต่ผอม ไม่สมประกอบ หรือได้ผลผลิตตามที่พึงพอใจก็จะเป็นในระยะแรกๆ เพียงเท่านั้น

ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ จึงได้ผลิตแร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ดและอาหารเสริมเห็ดดีพร้อมออกมาเพื่อมีไว้สำหรับแก้ปัญหาที่ปลายเหตุของเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเตรียมก้อนที่ไม่ดีเพียงพอหรือไม่ได้มาตรฐาน ถ้าปล่อยให้ล่วงเลยไปตามระยะเวลาก็จะทำให้สูญเสียโอกาสและเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์นานถึง 4 เดือน 5 เดือน ฉะนั้นเมื่อพบปัญหาจากการที่ก้อนเชื้อที่ซื้อหรือผลิตออกมาแล้วนั้นไม่ได้คุณภาพที่ได้มาตรฐานเพียงพอ ก็ควรใช้อาหารเสริมเห็ดดีพร้อมนำมาฉีดพ่นบำรุงให้เพียงพอต่อความต้องการของเห็ด สังเกตได้จากความพึงพอใจของเราเอง ว่าดอกเห็ดที่ออกมานั้นตรงตามมาตรฐานในท้องตลาดและตรงกับที่ใจเราต้องการหรือพึงพอใจหรือไม่ สามารถใช้อาหารเสริมเห็ดดีพร้อมในอัตรา 10 – 20 กรัมต่อน้ำ 5 -10 ลิตร ฉีดพ่นผ่านหน้าก้อนทุกครั้งก่อนที่จะให้น้ำแก่เห็ด ก็จะสามารถช่วยเหลือเห็ดให้ผลผลิตดอกออกมาได้อวบอ้วนเช่นเดียวกับการเตรียมก้อนที่ใส่อาหารอย่างเพียงพอ

อีกกรณีหนึ่งคือแร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ดนั้นสามารถที่จะนำมาฉีดพ่นช่วยเหลือเมื่อพบปัญหาก้อนเชื้อไม่สามารถที่จะผลิตดอกออกมาได้อย่างต่อเนื่อง หยุด ๆ ออก ๆ หรือออกแบบกระปริบกระปอยไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกษตรกรผู้เพาะมีรายได้ที่ไม่ต่อเนื่อง บางครั้งอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็น เดี๋ยวฝน สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนแบบที่มนุษย์เองก็ยังเวียนหัวมึนงงเกิดความเครียดเจ็บป่วยไม่สบายไปเลยก็เยอะ หรือบางประเทศสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบจนถึงทำให้มนุษย์เสียชีวิตได้จากคลื่นร้อน (Heat wave) ซึ่งในอดีตคำนี้เราจะไม่ค่อยได้ยินกันบ่อยนัก ฉะนั้นไม่ต้องสงสัยเลยนะครับว่าทำไมเห็ดในระยะนี้จึงมีปัญหาเรื่องการเพาะ การดูแลบำรุงรักษากันค่อนข้างมาก นั่นเป็นเพราะสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตนั่นเองครับ ซึ่งเกี่ยวกับอุณภูมิเปลี่ยนแปลง (Climate Change) และเรื่องโลกร้อน (Global Warmming) จึงต้องมีตัวช่วยเข้ามาให้เขาได้ปรับตัวและสร้างอาหารจากภายในช่วยให้เขาสามารถที่จะได้รับอาหารได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยด้วยยการใช้ แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด ในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 5 – 10 ลิตรฉีดพ่นทุกๆ 3 – 7 วัน อาจจะใช้ไปพร้อมกับอาหารเสริมเห็ดดีพร้อมด้วยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของปัญหาที่เราพบ อย่างไรก็ตามเราสามารถหลีกเลี่ยงการแก้ปัญหาในลักษณะที่เป็นปลายเหตุแบบนี้ได้ โดยกลับไปดูที่ต้นเหตุคือการเลือกซื้อแหล่งผลิตก้อนที่มีคุณภาพหรือการผลิตก้อนเชื้อที่ต้องเอาใจใส่อย่างพิถีพิถันในการเติมเพิ่มอาหารเสริมเข้าไปเพื่อจะได้ไม่ต้องตามไปแก้ปัญหาในระยะปลายดังที่กล่าว

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13659&Param2=2

ทำก้อนเห็ดไม่มี ราเขียว ราดำ ราส้ม

17 มิ.ย.

เห็ดเริ่มมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นทุกที จากรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และการเพาะปลูกและผลิตได้ง่ายอายุการเก็บเกี่ยวสั้น แต่ปัญหาและอุปสรรคของผู้เพาะเห็ดเมื่อทำการเพาะไปได้สักระยะหนึ่งก็จะพบปัญหาความไม่แน่นอนในคุณภาพของก้อนเชื้อที่มีการปนเปื้อนของเชื้อราศัตรูเห็ดทำให้เมื่อเพาะไปได้ระยะหนึ่งผลผลิตต้องเสียหาจากการถูกทำลายของราดำ ราเขียว ราเมือก ราส้มฯลฯ จึงทำให้ผู้เพาะเห็ดมีความคิดที่จะผลิตก้อนเชื้อขึ้นมาเองเพื่อทำเป็นธุรกิจจากการผลิตก้อนเชื้อ วันนี้ทางผู้เขียนจะมาแนะวิธีหรือสูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดอย่างง่ายไร้รา

โดยการหมักเชื้อบีเอสพลายแก้วในอัตรา 1 ช้อนชา (5 กรัม)กับมะพร้าวอ่อนหนึ่งผลหรือจะเป็นนมหวานยี่ห้ออะไรก็ได้ 1 กล่อง (ประมาณ 250 ซี.ซี.) หมักทิ้งไว้ให้ได้ 24-48 ชั่วโมง จากนั้นนำบีเอสพลายแก้วที่หมักจนได้ที่แล้วนำมาผสมน้ำ 20 ลิตรราดรดลงบนกองขี้เลื่อย 100 กิโลกรัมที่คลุกเคล้ากับส่วนผสมอย่างอื่นเรียบร้อยแล้ว(ค่อยๆใส่ทีละน้อย) ทำการตรวจสอบความชื้นโดยใช้มือกำขี้เลื่อยที่ผสมคลุกเคล้าแล้ว เมื่อค่อยๆคลายออกแล้วยังเป็นผงป่นไม่รวมตัวเป็นก้อนและยังไม่มีรอยบิแยะออกเป็นสามส่วนก็ให้เพิ่มน้ำบีเอสพลายแก้วที่หมักไว้ โดยค่อยๆเติมลงไปจนได้ตามที่ต้องการคือมีความชื้นประมาณ 80-90% สังเกตได้อีกวิธีหนึ่งเมื่อกำขี้เลื่อยแล้วขี้เลื่อยจะไม่แตกแยกออกจากกัน

เมื่อผสมวัสดุเพาะเสร็จเรียบร้อยแล้วนำมากรอกบรรจุใส่ถุง ทำให้ก้อนแน่นโดยใช้มือก็ได้กระทุ้งกดอัดหรือกระแทกก้นถุงลงกับพื้นหรือจะใช้เครื่องอัดก้อนก็ตามสะดวกให้ได้น้ำหนักโดยประมาณ800-900 กรัม ใส่คอขวดอุดสำลีปิดหมวกด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ใช้หนังยางรัดหมักบ่มทิ้งไว้สักสองสามคืนแล้วจึงค่อยนำไปนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นลงแล้วนำไปหยอดใส่เชื้อได้ตามปรกติ วิธีการนี้ช่วยลดการปนเปื้อนของเชื้อราเขียวได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13234&Param2=2
วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

เกร็ดน่ารู้ เพาะเห็ดภูฐานในหน้าร้อนให้ได้ผล

15 พ.ค.

เห็ดภูฐานเป็นเห็ดที่นิยมมากในวงการเพาะเห็ดและเป็นที่รู้จักสำหรับผู้บริโภคมากด้วยเช่นกันด้วยรสชาติที่อร่อยสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายอย่างจึงทำให้เป็นที่ต้องการมากของตลาดแต่ช่วงหน้าร้อนนี้เห็ดภูฐานสำหรับมือใหม่จะมีปัญหาในเรื่องของเห็ดไม่ออกดอกซึ่งสร้างปัญหาสำหรับนักเพาะเห็ดมือใหม่เพราะจะประสบกับปัญหาของเรื่องการขาดทุนเนื่องจากลงทุนไปเยอะ วันนี้ทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษก็มีเกร็ดความรู้ไม่มากไม่น้อยให้เกษตรกรผู้เพาะเห็ดมือใหม่ที่คิดจะเพาะเห็ดภูฐานในสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัดมาฝากันกันครับ โดยก่อนอื่นผู้ที่เพาะเห็ดภูฐานนั้นจะต้องรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับเห็ดภูฐานให้มากเสียก่อน อาทิเช่น อุณหภูมิ ความชื้น การเปิดดอก การเก็บ การดูแลรักษา การรักษาความสะอาด เป็นต้น เนื่องจากความรู้ที่กล่าวไปข้างต้นเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตและต้นทุนของเกษตรกรผู้เพาะเองทั้งนั้น ซึ่งการเพาะเห็ดภูฐานในช่วงที่สภาพอากาศร้อนมากอย่างนี้สามารถทำได้ยากแต่ก็มีผลในเรื่องของราคาที่สูงขึ้นนั่นเอง

โดยเริ่มแรกต้องศึกษาโรงเรือนให้มีความมิดชิดสามารถควบคุมอุณหภูมิความชื้นได้โดยเห็ดภูฐานนั้นชอบอากาศที่เย็นอยู่ที่ 28-30องศาเซลเซียสและความชื้นอยู่ที่ 80 นั่นเอง การสังเกตก้อนเชื้อว่าเดินเต็มหรือยังโดยการดูที่ก้นถุงจะมีสีขาวเส้นใยเห็ดเดินเต็มก้นนั่นเอง ควรทำความสะอาดโรงเรือนให้สะอาดก่อนนำก้อนเห็ดไปเปิดดอกในโรงเพราะจะทำให้เชื้อราต่างๆเข้ามาทำลายก้อนเชื้อเห็ดได้ การรดน้ำจะต้องไม่ให้เข้าหน้าก้อนเด็ดขาด การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้คงที่ถ้าอุณหภูมิสูงให้ทำการระบายความร้อนออกโดยการเปิดแสลนและรดน้ำเพิ่ม การเก็บดอกเห็ดควรจะดึงทั้งก้านหรือโคนของดอกเห็ดให้หมดถ้าไม่หมดให้ใช้ด้ามช้อนเช็ดแอลกอฮอล์70%แล้วแคะออกให้หมด การให้น้ำควรให้เช้า กลางวันและเย็นแต่ในสภาพที่อากาศร้อนควรให้เช้า สาย เที่ยง บ่ายและเย็นเพิ่มขึ้นมาเพื่อรักษาอุณหภูมิความชื้นไว้นั่นเองครับ การใช้ยาฮอร์โมนเห็ดด้วยก็จะช่วยเพิ่มปริมาณและน้ำหนักของเห็ดได้อย่างดีอย่างไรก็ดีในการเพาะเห็ดหลักสำคัญก็คืออุณหภูมิความชื้นและความสะอาดที่จะต้องคำนึงและปฏิบัติรักษาไว้ให้ได้ตลอด เกษตรกรที่เพาะเห็ด มีข้อสงสัยสามารถโทรปรึกษาได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 086-8954172 (คุณพิสิษฐ์) ได้ทุกวัน

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13023&Param2=2
วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

เกษตรกรตัวอย่างกับการแก้ปัญหาราเขียวในก้อนเห็ดหูหนู ด้วยจุลินทรีย์บีเอสพลายแก้ว

23 เม.ย.

ปัญหาอันดับหนึ่งที่ผู้เพาะเห็ดทั้งหลายประสบพบเจอคงนี้ไม่พ้นเรื่อง ราเขียวในก้อนเห็ด ซึ่งปัญหาเรื่องราเขียวสามารถเกิดได้กับเห็ดทุกชนิด เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดฮังการี เห็ดขอนขาวขอนดำ เห็ดหอม เห็ดลมเห็ดกระด้าง เห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดหูหนู ฯลฯ แนวทางการป้องกันกำจัดส่วนใหญ่จะใช้การคัดแยกก้อนที่เป็นราเขียวนั้นออกจากโรงเรือนเพาะเห็ดเพื่อนำไปทิ้งไปเผาทำลาย ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องเท่าใดนัก ต่างจากแนวทางของชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่ใช้จุลินทรีย์เป็นตัวป้องกันกำจัดเชื้อราเขียว ไม่ต้องคัดก้อนที่เป็นราเขียวทิ้ง ทำให้ก้อนเชื้อเห็ดที่อยู่ในโรงเพาะอยู่ครบถ้วน สามารถเก็บผลผลิตของดอกเห็ดได้เหมือนเดิม

วันนี้ทางผู้เขียนขอยกย่องวิธีการกำจัดเชื้อราเขียวในก้อนเห็ดของเกษตรกรท่านมาบอกเล่าให้กับท่านที่ทำเห็ดทั้งหลายได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดเชื้อราเขียวในเห็ดหูหนู และนำไปปรับใช้ในฟาร์มเห็ดของท่าน โดยเกษตรกรท่านนี้คือคุณประนอม มหาไม้ อยู่ที่บ้านพักเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน และมีโอกาสได้รู้จักชมรมเกษตรปลอดสารพิษโดยผ่านเวปไซต์ http://www.thaigreenagro.com คุณประนอม มีอาชีพหลักคือรับราชการเป็นนางพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน และเพาะเห็ดหูหนูเป็นอาชีพเสริมส่งขายตลาด ทำอยู่ประมาณ 5,000 ก้อน ปัญหาที่พบส่วนมากคือ ปัญหาเรื่องของเชื้อราโดยเฉพาะราเขียว ซึ่งจะพบกันมากในผู้ที่ทำอาชีพเพาะเห็ด ยังผลให้เชื้อเห็ดถูกทำลายและผลผลิตลดลงอย่างมาก เลยได้โทรเข้ามาปรึกษากับนักวิชาการของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

หลังจากที่คุณประนอม มหาไม้ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักวิชาการจากทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ซึ่งได้แนะนำให้ใช้เชื้อจุลินทรีย์กำจัดโรคเชื้อราในเห็ด เชื้อบาซิลัส ซับทิลิส พลายแก้ว ซึ่งเป็นเชื้อ แบคทีเรียกำจัด เชื้อรา สามารถหมักขยายเชื้อเพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนให้ได้จุลินทรีย์ในปริมาณที่มากขึ้นและยังช่วยประหยัดต้นทุนอีกด้วยสามารถหมักได้หลายสูตรทั้ง สูตรไข่ไก่ สูตรน้ำมะพร้าวอ่อน สูตรนมยูเอชที โดยแนะนำให้ฉีด 7 วันครั้ง หรือในช่วงอากาศชื้นจัดแนะนำให้ฉีด 3 วันครั้ง โดยใช้ สลิ๊งค์ ฉีดอัดเข้าไปในก้อนเห็ดโดยตรง

คุณประนอม มหาไม้ ได้ทดลองโดยแยกก้อนเห็ดหูหนูที่เป็นเชื้อราออกมาไว้นอกโรงเรือนและได้ทำการทดลองฉีดเชื้อบาซิลัส ซับทิลิส พลายแก้วโดยหมักขยายเชื้อ บาซิลัส ซับทิลิส พลายแก้ว โดยใช้สูตรหมักในน้ำมะพร้าวอ่อนโดยใช้น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล เจาะเปิดฝาแง้ม ใส่เชื้อลงไป 5 กรัม จากนั้นปิดฝาทิ้งไว้ 1-2 วัน แล้วนำมาผสมน้ำได้ 20 ลิตร ฉีดพ่น โดยการฉีดพ่นจะเน้นฉีดให้ชุ่มเปียกทั้งหน้าก้อน หลังก้อน ตามพื้นและผนังของโรงเรื่องเห็ด เพื่อให้เชื้อพลายแก้วกระจายไปทั่วก้อนเห็ดและโรงเรือนเห็ด

หลังจากที่ทดลองฉีดเชื้อ บาซิลัส ซับทิลิส พลายแก้ว ไป 2 ครั้งปรากฏว่า ก้อนเห็ดหูหนูที่เป็นราเขียว ชะงักการเจริญเติบโตเชื้อราเขียวไม่มีการแพร่กระจายขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นมาอีกและที่สำคัญเห็ดหูหนูยังออกดอกเหมือนเดิมอีกด้วยโดยปกติแล้วก้อนเห็ดก้อนไหนที่เป็น ราเขียว เชื้อราเขียวจะแพร่กระจายไปทั่วทั้งก้อนอย่างรวดเร็วและเห็ดก้อนนั้นก็จะเสียในที่สุด

ตอนนี้คุณประนอม มหาไม้ ลดปัญหาจากเรื่องราเขียวในก้อนเห็ดหูหนูไปได้กว่า 80 % แล้วและคุณประนอม ยังได้แนะนำ เชื้อ บาซิลัส ซับทิลิส พลายแก้ว ให้กับกลุ่มที่เพาะเห็ดที่สนิทสนมรู้จักกันในอำเภอบ้านธิ ได้ใช้ด้วย ซึ่งก็ป้องกันกำจัดเชื้อราเขียวในเห็ดหนูหนูได้เหมือนเช่นคุณประนอม มหาไม้เช่นกัน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือ 085-9205846 (คุณจตุโชค)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=12869&Param2=2
วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

TWO IN ONE ปลูกเห็ดปลูกผักในแปลงเดียว กำไรเห็นๆ

16 เม.ย.

เห็ดตีนแรดหรือตับเต่าขาวเป็นเห็ดที่อาศัยย่อยเศษไม้ใบหญ้าที่ตายแล้วเป็นอาหาร แต่ด้วยเส้นใยที่เดินเชื่องช้า จึงไม่สามารถเจริญแข่งขันกับเห็ดชนิดอื่นอย่างเห็ดหลินจือ เห็ดกระถินพิมาน เห็ดแครงฯลฯ ได้ เห็ดตีนแรดนอกจากย่อยเศษไม้ที่ตายแล้วยังอาศัยแฝงอยู่ในรากพืช ค่อยย่อยอินทรีย์วัตถุช่วยกระตุ้นการงอกของราก สังเกตได้จากการงอกของเห็ดตีนแรดบริเวณปลายรากของพืชอาศัย

สภาพแวดล้อมเป็นใจชุ่มชื้นไปด้วยน้ำฝนเมื่อไร เมื่อนั้นเส้นใยจะก่อรวมตัวเป็นดอกเห็ดขนาดใหญ่ดันทะลุผ่านหน้าดินออกมา แรกๆก็ออกมาหลายดอกแต่ก็มีบางดอกเท่านั้นที่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ ดอกไหนที่แย่งอาหารได้ไม่พอก็จะเล็กไปโดยปริยายกระทั้งสร้างสปอร์ บางครั้งอาจพบเห็นเห็ดตีนแรดเจริญเติบโตบนกองขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เศษใบไม้ใบหญ้าที่ถูกฝังกลบทิ้งไว้ใต้ดินเป็นเวลานานๆ

การเพาะเห็ดชนิดนี้เริ่มด้วยการเพาะลงถุงพลาสติกแบบเดียวกับเห็ดนางรม นางฟ้า เห็ดขอน ฯลฯ โดยการแยกเชื้อบริสุทธิ์เลี้ยงบนวุ้น จากวุ้นเลี้ยงต่อบนเมล็ดข้างฟ่าง จากนั้นเลี้ยงต่อบนขี้เลื่อยหรือปุ๋ยหมักในถุงพลาสติก ผู้ที่เพาะเห็ดตีนแรดส่วนใหญ่มักตัดตอนโดยการนำก้อนเชื้อเห็ดในถุงขี้เลื่อยที่เส้นใยเดินเต็มไปฝังบนแปลงผักแทน ขุดดินบนแปลง เอาถุงพลาสติกออกจาก้อน วางก้อนแล้วเอาดินกลบ จากนั้นค่อยหว่านเมล็ดพันธุ์ผักทับได้บน ดูแลรดน้ำเหมือนปลูกผักทั่วไป

แปลงผักที่เพาะเห็ดตีนแรดควรปลอดสารเคมีหรือไม่ใช้เคมีเลย โดยเฉพาะยาฆ่าแมลง ยากำจัดเชื้อรา ในแปลงผักอาจหว่านพูมิชซัลเฟอร์เพิ่มเติม 2-3 กำมือต่อตารางเมตร ช่วยกระตุ้นการงอกของเห็ด เพิ่มรสชาติของเห็ดและพืชผักที่ปลูก ประมาณ 15-20 วันก็สังเกตเห็นเห็ดตีนแรดงอกขึ้นพร้อมๆกับผัก รอได้ขนาดก็สามารถเก็บมารับประทานหรือขายได้ หากไม่มีพื้นที่หรือแปลงปลูกผักก็สามารถเณรมิตรกระถางให้เป็นแปลงเพาะเห็ดได้ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

อากาศร้อนจัด เห็ดไม่ออกดอก ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ดู….

12 เม.ย.

เห็ด (Mushroom) เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ซึ่งจัดอยู่ในอาณาจักรของรา (Kingdom Myceteae หรือ Fungi) ไม่จัดว่าเป็นพืช เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) หรือ สารสีเขียว ทำให้เห็ดไม่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตนเอง โดยวิธีสังเคราะห์แสง จึงไม่อาจปรุงอาหารได้เอง ต้องอาศัยสารอินทรีย์หรือสาร อนินทรีย์ เป็นอาหารจากภายนอก ที่เกิดจากการปล่อยน้ำย่อย (enzymes) ให้สารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์มีอนุภาคเล็กลงและง่ายต่อการดูดซับ (absorption) เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต

ในปัจจุบันการเพาะเห็ดในประเทศไทยมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีการเพาะเห็ดเป็นอาชีพเสริมและมีการเพาะเห็ดเป็นการค้าเพิ่มมากขึ้นด้วย ทั้งนี้เนื่องจากเห็ดเป็นที่นิยมรับประทานและตลาดมีความต้องการสูงประกอบกับมีการพัฒนาการเพาะเห็ดด้วยเทคโนโลยีต่างๆมากขึ้นทำให้สามารถเพาะได้ง่าย กรรมวิธีไม่ยุ่งยาก ใช้อุปกรณ์น้อย ต้นทุนก็ต่ำ ใช้ระยะเวลาในการเพาะสั้น และสามารถเพาะได้ตลอดทั้งปี จึงทำให้ในปัจจุบันการเพาะเห็ดได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย คนหันมาประกอบอาชีพเพาะเห็ดกันมากขึ้นทั้งทำเป็นอาชีพหลักและทำเป็นอาชีพเสริม

สำหรับเห็ดที่คนไทยนิยมเพาะและบริโภคกันทั่วไปได้แก่ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดฮังการี เห็ดหูหนู เห็ดนางรม เห็ดโคนญี่ปุ่น เป็นต้น ในช่วงนี้กำลังเข้าสู่ฤดูร้อนซึ่งอากาศปีนี้ค่อนข้างร้อนมากถึงมากที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยทะลุ 40 องศาเซลเซียส เกือบทุกภาคของประเทศ ทำให้เกิดปัญหากับเห็ดคือเห็ดไม่ออกดอกหรือออกในปริมาณที่น้อยมากซึ่งสาเหตุสำคัญคืออุณหภูมิที่สูงมาก ปกติอุณหภูมิที่เหมาะกับการเพาะเห็ดในประเทศไทยจะอยู่ระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส ซึ่งปัญหาเรื่องเห็ดไม่ออกดอกนี้ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการเพาะเห็ดโดยตรง ทำให้สูญเสียรายได้ไปเกือบครึ่งและยังส่งผลต่อผู้บริโภคด้วยเพราะเห็ดมีจำนวนน้อยลงทำให้ราคาปรับสูงขึ้นด้วย ทำให้ช่วงนี้ผู้ประกอบการเพาะเห็ดท่านใดสามารถมีเห็ดออกขายได้ก็จะได้ราคาที่ดีด้วยถือเป็นช่วงเวลากอบโกยก็ว่าได้

วันนี้ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษมีเทคนิคเล็กๆน้อยๆในการดูแลรักษาเห็ดให้ออกดอกในช่วงฤดูร้อนนี้มาแนะนำให้กับเกษตรกรที่เพาะเห็ดที่กำลังประสบปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ก่อนอื่นต้องรักษาอุณหภูมิให้ได้ประมาณ 28–30 องศาเซลเซียส ความชื้นในโรงเรือนไม่ควรต่ำกว่า 80% โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์วัด การให้น้ำให้ถี่มากกว่าช่วงปกติจากวันละ 2 ครั้งเช้าเย็นเป็นวันละ 4-5 ครั้งทุก 4 ชั่วโมงโดยไม่ต้องให้น้ำเยอะให้รดบางๆผ่านหน้าก้อนก็พอถ้ามีเวลาให้น้ำตอนกลางคืนอีกรอบจะเป็นการดีมากเพราะหน้าร้อนตอนกลางคืนอากาศจะร้อนกว่าปกติและเห็ดจะต้องการน้ำเป็นอย่างมากและเวลากลางคืนให้เปิดผ้าใบที่โรงเรือนเห็ดขึ้นประมาณหนึ่งคืบเพื่อให้อากาศในโรงเรือนเห็ดได้ถ่ายเททำให้โรงเรือนเห็ดไม่ร้อนเกินไป และอีกวิธีที่ช่วยกระตุ้นให้เห็ดออกดอกก็คือการฉีดพ่น แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด ร่วมกับ อาหารเสริมเห็ดดีพร้อม ทุกๆ 3-5 วัน โดยฉีดสเปร์บางๆผ่านหน้าก้อนเห็ด วิธีนี้ก็สามารถช่วยกระตุ้นให้เห็ดออกดอกได้เช่นกัน เทคนิคต่างๆที่กล่าวมานี้เกษตรกรที่เพาะเห็ดทั้งหลายน่าจะนำไปปรับหรือทดลองกับฟาร์มเห็ดของตัวท่านเองดูนะครับน่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเห็ดไม่ค่อยออกดอกในช่วงหน้าร้อนได้ไม่มากก็น้อยครับ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

“แร่ม้อนท์”วัตถุดิบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการทำก้อนเห็ด

5 เม.ย.

แร่ม้อนท์ หรือ Montmorillonite คือกลุ่มของเถ้าของภูเขาไฟ ที่เกิดการระเบิดขึ้นมาจากปล่องภูเขาท่ามกลางลาวา ถูกผลักดันจนลอยขึ้นระเบิดกลางอากาศ โดยจะระเบิดหนึ่ง สอง หรือสามครั้ง ซึ่งการระเบิดของตัวมันเองนี้ทำให้เกิดรูพรุนและความโปร่งมหาศาล ซึ่งถ้าเราเคยดูสารคดีที่ถ่ายทำการระเบิดของภูเขาไฟ จะเห็นตอนระเบิดที่มีลาวาสีแดงไหลออกมา และก็จะมีฝุ่นละอองสีดำหรือเทาที่พวยพุ่งออกด้วย อันนี้คือกลุ่มของแร่ ม้อน ครับ ซึ่งในตัวของแร่ม้อนท์ นี้ จะอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และเทรซซิลิเม้นท์ต่าง ๆมากมาย และยังมีความสามารถในการดูดซับความชื้นได้ค่อนข้างดี จึงนำมาเป็นส่วนผสมในก้อนเชื้อเห็ดและส่วนผสมของสารกระตุ้นเห็ด ฯลฯ

ทางผู้เขียนเชื่อว่ายังมีเกษตรกรที่ทำอาชีพเพาะเห็ดอีกมากมายที่มีความคิดว่า แร่ม้อนท์คืออะไรทำไมต้องเพิ่มแร่ม้อนท์เข้ามาเป็นส่วนผสมอีกแค่ใช้รำ ดีเกลือ ยิปซั่ม ปูนขาวเหมือนเดิมก็น่าจะเพียงพอแล้ว ทำไมต้องเพิ่มต้นทุนขึ้นมาอีกด้วย ลองมาดูข้อมูลของสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษเราท่านหนึ่งที่ใช้แร่ม้อนท์แล้วได้ผลเป็นอย่างดีเผื่อเป็นข้อมูลให้กับท่านสมาชิกท่านอื่นที่ยังมีข้อส่งใสว่าทำไมต้องใช้แร่ม้อนท์ในก้อนเห็ดด้วย ข้อมูลที่จะนำเสนอนี้เป็นข้อมูลของเกษตรกรที่ทำอาชีพเพาะเห็ดมานานหลายสิบปีแล้ว ซึ่งได้เคยเข้ารับฟังการสัมมนาของท่านอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ด้วยเลยได้ข้อมูลเกี่ยวกับสูตรการทำเห็ดโดยการใช้แร่ม้อนท์เป็นส่วนผสมจากท่านอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ จึงได้ทำสูตรการทำก้อนเห็ดโดยใช้แร่ม้อนท์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เกษตรกรตัวอย่างของเราในวันนี้มีชื่อว่า คุณเครือวัลย์ สุยะใหญ่ อยู่บ้านเลขที่ 19/1 หมู่ 1 ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน สมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ มีอาชีพเพาะเห็ดเก็บดอกขายและทำก้อนเชื้อเห็ดขาย เชื้อเห็ดที่ทำก็มีเห็ดหูหนู เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดฮังการี เห็ดยานางิ เห็ดนางฟ้าภูฐาน

สำหรับสูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดของคุณเครือวัลย์จะใช้แร่ม้อนท์ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม ส่วนวัสดุเพาะอื่นๆเช่น รำใช้ 5 กิโลกรัม ดีเกลือ 2 ขีด โดยทางคุณเครือวัลย์ได้ทดลองกับเห็ดหูหนูก่อนและได้จำหน่ายให้กับกลุ่มลูกไร่ที่ซื้อก้อนเห็ดของคุณเครือวัลย์เอง ทางคุณเครือวัลย์ยังได้เก็บข้อมูลว่าแร่ม้อนท์ช่วยเพิ่มผลผลิตเห็ดได้จริงโดยเก็บข้อมูลผลผลิตเห็ดหูหนูของลูกฟาร์มของตัวเองกับลูกฟาร์มของฟาร์มเห็ดเจ้าอื่นๆที่ไม่ได้ใช้แร่ม้อนท์ ผลปรากฏว่าเห็ดหูหนูที่มีแร่ม้อนท์ผสมเพิ่มเข้าไปให้ผลผลิตต่อก้อนอยู่ที่ประมาณ 4 ขีด ต่อหนึ่งรุ่น ส่วนเห็ดหูหนูของฟาร์มอื่นที่ไม่ได้ใช้แร่ม้อนท์เป็นส่วนผสมจะให้ผลผลิตต่อก้อนอยู่ที่ประมาณ 2 ขีด และก้อนเชื้อเห็ดของคุณเครือวัลย์ยังให้ผลผลิตได้นานกว่าฟาร์มอื่นประมาณ 2 รุ่น และปัญหาเรื่องราเขียวที่เป็นปัญหาใหญ่ของเห็ดหูหนูก็น้อยไม่ค่อยมีเชื้อราเขียวระบาด ตอนนี้คุณเครือวัลย์ได้ใช้แร่ม้อนท์เป็นส่วนผสมในการทำก้อนเชื้อเห็ดทุกชนิดที่ฟาร์ม และยังเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่บำรุง ป้องกันกำจัดโรคแมลงในเรื่องเห็ดของชมรมเกษตรปลอดสารพิษด้วย เช่น แร่ม้อนท์ ภูไมท์ พลายแก้ว บีที ไมโตฟากัส แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด อาหารเสริมเห็ดดีพร้อม (รายระเอียดสินค้าดูได้ที่หน้าเว็บ) ท่านสมาชิกท่านใดที่อยู่ทางจังหวัดลำพูนหรือจังหวัดใกล้เคียงสนใจก้อนเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพหรือสนใจเข้าไปดูงานที่ฟาร์มคุณเครือวัลย์ก็สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้นะครับ

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการเพาะเห็ดที่ต้องเจอ

2 เม.ย.

ท่านสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษและผู้ที่มีความสนใจในเรื่องการเกษตรปลอดสารพิษทุกท่าน วันนี้ผู้เขียนมีเรื่องราวปัญหาอุปสรรคต่างๆในการเพาะเห็ดของเกษตรกรที่เพาะเห็ดแล้วประสบปัญหา ร้อยแปดพันเก้า ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ มีทั้งปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงปัญหาใหญ่ที่อาจทำให้อาชีพของคนเพาะเห็ดถึงกับขาดทุนหรือต้องเลิกทำอาชีพเพาะเห็ดไปในที่สุด วันนี้ผู้เขียนได้นำปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกโดยสรุปปัญหาที่พบเจอบ่อย ๆ นำมาให้ทุกท่านปรับปรุงและแก้ไขภายในฟาร์มเพาะเห็ดของตัวท่านเอง ซึ่งปัญหาที่พบเจอบ่อย ๆ ผู้เขียนขอกล่าวเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้

1. ปัญหาหน้าถุงหรือหน้าก้อนเห็ดเหลืองและเน่า สาเหตุคือน้ำเข้าไปขังในถุงเห็ด ใต้ขอบถุงมีน้ำเยิ้ม ลื่น ๆ เมือก ๆ สีเหลืองนั้นคือ ราเมือก การแก้ไข ใช้มีดกรีดเล็ก ๆ ใต้ขอบถุงเพื่อระบาย น้ำออกแล้วเอาปลายช้อนขูดที่ก้อนเห็ดที่เน่าออกให้สะอาด จากนั้นฉีกพ่นด้วย น้ำหมักพลายแก้ว ตามสูตรการหมักของชมรมฯ ดังบทความก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจจะหมักด้วย น้ำมะพร้าว , น้ำเต้าหู้, นมUHT, นมผงเด็ก หรือกรณีไม่หมัก ใช้เชื้อพลายแก้ว 100 กรัมต่อน้ำ 20 แล้วแต่สะดวกฉีดพ่นทุก ๆ 3 วัน ติดต่อกัน 3 – 4 ครั้ง หรือจนกว่าก้อนเชื้อจะหายจากราเมือก

2. ปัญหาเห็ดดอกแรกเหี่ยวแห้งเหลือง สาเหตุคือแคะหน้าก้อนแล้วขี้เลื่อยแตกทำให้ เส้นใยประสานกันช้า ความชื้นในโรงเรือนน้อย การแก้ไข เก็บดอกที่เหี่ยวทิ้งด้วยการใช้ปลายช้อนขูดหน้าก้อนเบา เพิ่มความชื้นในโรงเรือนโดยการรดน้ำที่พื้นโรงเรือนให้แฉะเพื่อให้ความชื้นระเหิดขึ้นจากพื้นปนกับอากาศ แล้วใช้แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด อัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นหน้าก้อนทุก ๆ 3 -5 วัน หรือฉีดหลังการเก็บดอกก็จะทำให้เห็ดออกดอกดีขึ้น ฉีดไปจนกระทั่งก้อนจะยุบและไม่ออกดอก วิธีการนี้เพื่อเป็นการเติมอาหารเสริมจากภายนอกให้กับก้อนเห็ด สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากการได้รับอาหารจากภายในก้อนชื้อเพียงอย่างเดียว

3 .ปัญหาดอกเห็ดเน่าเปียกและเหลือง สาเหตุความชื้นในโรงเรือนมากเกินไป ซึ่งหากผู้เพาะเห็ดไม่รดน้ำเข้าหน้าก้อนมากหรือรดน้ำไปโดนดอกเห็ดจนแฉะก็ไม่ทำให้ดอกเห็ดเน่า วิธีรดน้ำที่ดีที่สุดควรรดที่หลังก้อนเพื่อให้น้ำไปกระตุ้นเส้นใยเห็ดให้ออกดอก ไม่ควรรดเข้าหน้าก่อนโดยเด็ดขาด หากต้องการความชื้นให้สเปรย์ร่าตุกระตุ้นดอกเห็ดเป็นละอองบาง ๆ เข้าที่หน้าก้อนแทนการให้น้ำแบบเข้าหน้าก้อน หากอุณหภูมิในโรงเรือนร้อนและชื้นจนเกินไป ให้ทำการเปิดโรงเรือนสักประมาณ 5-10 นาทีเพื่อให้ลมระบายถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือนออกไป

4. ปัญหาเห็ดใบหงิกหงอ โดยเฉพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน ลักษณะอาการ มีใบหงิก งอ ก้านยาว แต่ดอกเล็ก บางครั้งพบใบด่าง และเหี่ยวแห้งไป หรือแก่ไป โดยไม่ทันโต เกิดจากสภาพแวดล้อม และอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม เช่น อากาศร้อนอุณหภูมิเกิน 30 องศา ความชื้นสัมพันธ์ น้อยกว่า 80 % หรือ หนาวเย็น ลมโกรก มีการระบายอากาศมากไป ซึ่งอุณหภูมิในโรงเรือน น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 30 องศา แต่อากาศแห้ง หน้าก้อนแห้งอาการจะรุนแรงมาก ๆ ขึ้น หากมีแมลงหวี่ระบาดในโรงเห็ดร่วมอยู่ด้วย การแก้ไข คือ ลดการระบายอากาศในโรงเรือน ไม่ให้ลมโกรก ทำให้ภายในโรงเรือนมีความชื้นมากยิ่งขึ้น โดยการให้น้ำบ่อยขึ้น แต่ให้น้อย ๆ เป็นการรักษาความชื้น หากพบเห็นแมลงหวี่ ให้ฉีดพ่นผงสมุนไพร ไทเกอร์เฮิร์บ ตามพื้นโรงเรือน ผนังโรงเรือน และหลังก้อนเพื่อลดปริมาณแมลงหวี่ให้น้อยลง หากดอกยังยิบ ๆ อยู่หากดอกเห็ดโตแล้วไม่แนะนำ เพราะจะทำให้เห็ดมีกลิ่นสมุนไพร และใช้เชื้อบีที ที่หมักขยายเชื้อแล้วฉีดพ่นหน้าก้อนกรณี ป้องกันแมลงหวี่วางไข่ ทุก ๆ 7 วันครั้งเพื่อควบคุม แต่หากพบไข่แมลงหวี่มาไข่แล้วให้ใช้เชื้อบีที ฉีกพ่นทุกๆ 3 วัน ติดต่อกัน 3-4 ครั้งเพื่อเป็นการรักษาให้จุลินทรีย์ไปทำลาย ไข่ ดักแด้ หนอน ของแมลงหวี่ที่ฝังตัวอยู่ในก้อนหากเกษตรพี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเห็ดท่านใด มีปัญหาเกี่ยวกับโรคของเห็ดถุง สามารถสอบถามทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com