Archive | มิถุนายน, 2017

ป้องกันกำจัด” หนอนหลอดหอม ” ด้วย ไบโอแทค (BT)

30 มิ.ย.

บทความตอนนี้ขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับผักกินใบลำผลคือต้นหอม ว่าด้วยเรื่องการกำจัดแมลงศัตรูพืชกลุ่มหนอนหลอดหอม ให้ได้ทราบโดยทั่วกัน หนอนหลอดหอม ซึ่งเป็นแมลงจำพวกผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก โดยมักจะพบว่ามีการระบาดอย่างรุนแรงในช่วงต้น เดือนเมษายน – มิถุนายน ตามแหล่งปลูกผักและหอมทั่วไป หากเกษตรกรปล่อยปละละเลยจะมีเสียหายทวีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นครับ ลักษณะการเข้าทำลายคือหนอนจะกัดทำลายใบหอม และมักจะอาศัยในส่วนของใบหอม(จึงชาวสวนเรียกติดปากว่าหนอนหลอดหอมตามลักษณะที่หนอนอาศัยอยู่)
แนวทางป้องกันกำจัดหนอนหลอดหอมแบบชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เริ่มที่การป้องกันผีเสื้อหนอนหลอดหอมไม่ให้เข้ามาด้วยการฉีดพ่นด้วยผงสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บ อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรนำไปฉีดพ่นให้แปลงต้นหอมมีกลิ่นของสมุนไพรต่างๆที่ผสมอยู่ในไทเกอร์เฮิร์บ เช่นฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ส่งกลิ่นป้องกันแมลงไม่ให้เข้ามารบกวนแปลงต้นหอมของเราได้ …..แต่ถ้าฉีดพ่นไทเกอร์เฮิร์บแล้วยังพบการระบาดของหนอนหลอดหอม(ซึ่งก็น่าจะระบาดไม่มากจากการที่ป้องกันด้วยไทเกอร์เฮิร์บในข้างต้น) ก็ให้ใช้จุลินทรีย์กำจัดหนอน(เสือตัวที่2) ที่ชื่อ”ไบโอแทค”(BT) ฉีดพ่นในอัตรา 25-50 กรัม ติอน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อเชื้อไบโอแทคจะเข้าไปทำลายตอนตั้งแต่ภายในท้องของหนอนหลอดหอม หลังจากฉีดหนอนหลอดหอมจะเริ่มป่วยได้รับเชื้อทันทีและจะตายภายใน 2 ชั่วโมง ข้อดีของการใช้เทคนิควิธีแบบปลอดสารพิษก็คือ 1.ต้นพืช(ต้นหอม)ไม่โทรมภูมิต้านทานโรคแมลงยังดี 2.คนฉีดปลอดภัยไม่ต้องเสี่ยงกับสารเคมียาฆ่าแมลงต่างๆ 3.ประหยัดต้นทุนผมผลิตเพิ่มอีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นายจตุโชค จันทรภูมี โทร.0859205846 หรือ สอบถามทางระบบ LINE ID : tga001 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง…..

เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
แนะนำติชม thaigreenagro@gmail.com

” โรคใบไหม้แผลใหญ่ ในข้าวโพด ” กำจัดด้วย อินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)

29 มิ.ย.

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อราที่มักระบาดในฤดูฝน กับพืชไร่เศรษฐกิจของประเทศไทย นั้นก็คือข้าวโพด และโรคที่มักระบาดในข้าวโพดนั้นก็คือ โรคใบไหม้แผลใหญ่ โรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพด มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการ ระยะแรกจะเกิดเป็นแผลขนาดใหญ่สีเทาหรือสีน้ำตาลยาวไปตามใบ หัวท้ายเรียวคล้ายรูปกระสวย แผลมีขนาด2-20 เซนติเมตร จะเกิดที่ใบล่างๆ ก่อนแล้วลุกลามไปยังใบบนทั่วต้นเมื่อมีอาการรุนแรงแผลจะขยายตัวรวมกันเป็นแผลใหญ่ จะมองเห็นอาการของโรคใบไหม้ได้อย่างเด่นชัด จากนั้นใบจะเหี่ยวแห้งตายในที่สุด โรคนี้จะระบาดในช่วงฤดูฝน หรือในที่ๆ มีความชื้นสูง ลักษณะอาการและการเข้าทำลายของโรคใบไหม้ใบใหญ่ จะเริ่มจากการแพร่กระจายของกลุ่มสปอร์เชื้อราจะปลิวไปตามลมหรือไปกับน้ำขยายพื้นที่ของการแพร่ระบาดได้ไกล เข้าทำลายต้นอื่นต่อไป โรคนี้พบได้ตลอดฤดูปลูกอาการของโรคจะทวีความรุนแรงมากขึ้นหากปลูกข้าวโพดต่อเนื่องกันหลายครั้งครับ
สำหรับการป้องกันรักษาโรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพดแบบชมรมเกษตรปลอดสารพิษ จะเริ่มตั้งแต่การป้องกันโรคตั้งแต่เริ่มปลูก โดยการใช้หินแร่ภูเขาไฟที่ชื่อ พูมิชซัลเฟอร์ในรองก้นหลุมปลูกข้าวโพด เพื่อให้ข้าวโพดที่ปลูกมีซิลิก้าจากพูมิชซัลเฟอร์กินเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของเซลล์ตั้งแต่แร่เริ่ม และก็ใช้จุลินทรีย์กลุ่มที่กำจัดเชื้อราโรคพืชเช่น เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า คือชื่อทางการค้าชื่อว่า “อินดิวเซอร์” หนึ่งในผลิตภัณฑ์กลุ่ม 5 เสือจุลินทรีย์ชีวภาพ ที่มีสรรพคุณในเรื่องการป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืช ฉีดพ่นเป็นประจำเพื่อป้องกันโรคใบไหม้แผลใหญ่ข้าวโพด โดยอัตราการใช้ที่แนะนำคือใช้ผงอินดิวเซอร์ 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นเป็นประจำ 10-15 วันครั้ง(กรณีฉีดคลุมป้องกัน) หรือกรณีที่เกิดโรคระบาดให้ฉีดพ่น 3-7 วันครั้ง เกษตรกรที่ยังไม่มั่นใจในการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช ต้องลองนำผลิตภัณฑ์ 5 เสือจุลินทรีย์ชีวภาพไปทดลองครับ เพราะ 5 เสือจุลินทรีย์ชีวภาพได้ทำการทดสอบการกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชจากแปลงทดสอบต่างๆแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชใกล้เคียงกับการใช้สารเคมีแล้ว กำจัดโรคแมลงต่างๆได้อยู่หมัดเลย แต่ที่ดีกว่าการใช้สารเคมีก็คือ ร่างกายและสุขภาพของเกษตรกรดีกว่าเยอะเลยครับ….ไม่ต้องมานั่งวิงเวียนศรีษะ ไม่ต้องรีบอาบน้ำล้างสารเคมี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายจตุโชค จันทรภูมี โทร.085-9205846 หรือสอบถามทางระบบ LINE ID : tga001 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง…….

เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
แนะนำติชม thaigreenagro@gmail.com

กล้วย พืชกันชนก่อนปลูกไม้ผล ช่วยลดปัญหาปลวกกัดกินรากพืชและบ้านคุณได้

28 มิ.ย.

พูดถึงปลวก…ไม่มีใครที่ไม่รู้จักปลวก สัตว์ตัวเล็กพริกขี้หนูที่คอยสร้างความเสียหายให้บ้านเรือน ถึงตัวจะเล็กแต่สามารถกินบ้านหมดเป็นหลังๆ แล้วมาส่วนใหญ่จะป้องกันโดยใช้สารเคมีฉีดพ่นกำจัด หรืออาจว่าจ้างบริษัทกำจัดปลวกวางท่อระบบอัดสารเคมีเข้าใต้พื้นบ้าน วิธีนี้ก็ใช่ว่าจะทำให้ปริมาณปลวกลดลงหรือหมดไป ทั้งยังต้องทำเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 เดือน/ครั้ง ยิ่งใช้สารเคมีเยอะๆบ่อยๆทำให้สารพิษตกค้างในดินในบ้าน เป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่อาศัย ยิ่งดินที่มีอินทรียวัตถุ ระบายถ่ายเทน้ำดี ไม่แช่ขัง จัดเป็นดินที่เหมาะต่อการปลูกไม้ผล ยิ่งวางระบบน้ำดีๆยิ่งได้เปรียบเป็นสองเท่า ไม่ต้องคอยแหงนหน้ามองฟ้าว่าวันนี้ฝนจะตกหรือไม่ตก ระหว่างแถวระหว่างต้นก็แซมหน่อกล้วยจะช่วยรักษาความชื้น ก่อนที่จะลงปลูกให้รองก้นหลุมด้วยพูมิชซัลเฟอร์สองสามกำมือ บำรุงรากบำรุงต้นกระตุ้นการเจริญเติบโต ยิ่งปลูกกล้วยมากยิ่งได้เปรียบ เพราะนอกจากจะคอยเป็นเงากำบังพรางแสงให้ ลดการคายน้ำ ป้องกันใบไหม้กรอบแล้ว หน่อกล้วยเล็กๆก็จะกลายเป็นดงกล้วยขนาดใหญ่ช่วยรักษาความชื้นทำให้ประหยัดน้ำประหยัดเวลาได้อีกหลายเท่าตัวเลยครับ
ถ้าไม่มีดงกล้วยก็ไม่ควรปลูกไม้ผลช่วงหน้าแล้ง มิฉะนั้นนางพญาปลวกเข้ามาอาศัยกัดกินรากแทน ช่วงหน้าแล้ง…ใช่ว่าพืชอย่างเดียวที่ต้องการน้ำ ปลวกก็ต้องการน้ำเช่นเดียวกัน สังเกตได้จาก…ตรงไหนมีความชื้นตรงนั้นจะมีรังปลวกอาศัยอยู่ นิสัยของปลวกชอบกินไม้จึงไม่ยากที่ล่อให้ขึ้นมากินเศษไม้ เศษฟาง เศษกระดาษที่อยู่บนดิน หรือโคนต้น จากนั้นก็โรยเชื้อราเมตาไรเซียม(ฟอร์แทรน)ทิ้งไว้ ความชื้นของดินเศษไม้ใบหญ้าที่โคนต้นไม้ เป็นกระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโตและเปื้อนติดตัวปลวกได้ง่าย เมื่อปลวกได้สัมผัสเชื้อราเมตาไรเซียม(ฟอร์แทรน) จากนั้นเชื้อราก็จะเริ่มสร้างเส้นใยเข้าไปตามท่อทางเดินอาหารของปลวก และเมื่อเชื้อราขยายจำนวนมากขึ้นๆ ก็จะเข้าทำลายอวัยวะส่วนต่างๆของปลวกต่อ ทำให้ปลวกค่อยๆป่วยค่อยๆตายไปเรื่อยๆ จะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด…เมื่อเจอปลวกพยายามโรยผงเชื้อราเมทาไรเซียมให้โดนตัวปลวก จากนั้นก็ปล่อยให้มันเดินกลับเข้ารังตามปกติ ด้วยพฤติกรรมของปลวกจะชอบเลียทำความสะอาดร่างกายให้กันเสมือนทักทายกัน ทำให้เชื้อราแพร่กระจายติดต่อไปยังตัวอื่นๆได้ง่ายรวดเร็ว เป็นเหตุให้ปลวกที่อยู่ในรังคอยป่วยตายตามภายใน 4 วัน เมื่อไหร่สปอร์เชื้อราสุกแก่กลายเป็นฝุ่นฟุ้งกระจาย เมื่อนั้นเชื้อก็ระบาดลุกลามทำลายปลวกทั้งรัง และสิ้นซากภายใน 3-4 สัปดาห์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือผู้เขียน 081-3983128 ท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ชมรมฯสอบถามได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ Line Center : tga001, tga002, tga003, tga004 *** สินค้าคุณภาพ…ต้องตราใบไม้ลายธงชาติ เท่านั้น ***

คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

โรคแคงเกอร์ โรคประจำตัวมะนาว

27 มิ.ย.

โรคแคงเกอร์ เป็นโรคที่ใช้เรียกโรคเชื้อแบคทีเรียในพืชตระกูลส้ม มะนาว มะกรูด มีสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv citri Hasse โรคแคงเกอร์เกิดได้ทั้งที่ใบ กิ่ง ก้าน และผล ของส้ม มะนาว มะกรูด มีลักษณะอาการ ดังนี้ อาการบนใบ ใบอ่อนเกิดเป็นจุดกลม และฉ่ำน้ำ มีสีเหลืองซีดหรือเขียวอ่อน เมื่อขยายใหญ่ขึ้นมีลักษณะฟูคล้ายฟองน้ำสีเหลืองอ่อน ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกสะเก็ดขรุขระนูนและแข็งตรงกลางเป็นรอยบุ๋ม มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล การเกิดแผลนี้ส่วนใหญ่จะเกิดได้ทั้งสองด้านของใบ และเกิดรุนแรงมากเมื่อหนอนชอนใบเข้าทำลายด้วยใบที่เป็นโรคนี้มักร่วงก่อนกำหนด วิธีสังเกตอาการของโรคแคงเกอร์ บนกิ่งก้าน เมื่อเชื้อทำลายกิ่งอ่อนเริ่มแรกเกิดจุดสีเหลืองนูน ฟูบนเปลือกของกิ่งก้าน ต่อมาแผลจะแตกแห้งเป็นสะเก็ดสีน้ำตาล แล้วลุกลามขยายออกไปตามความยาว หรือรอบกิ่งจนกลายเป็นปุ่มหรือ ปมขนาดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ถ้าเป็นโรครุนแรงจะทำให้ต้นแคระแกร็น กิ่งก้านแห้งตาย และทรุดโทรมอาจถึงตายได้ อาการบนผล เกิดจุดแผลฝังลึกลงไปในผิวผลอ่อน แผลนูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองเข้ม ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกสะเก็ดมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผลทำให้เกิดการปริแตกตามรอยแผลของโรคแคงเกอร์
การป้องกันกำจัด ถ้าเป็นวิธีตามตำราทั่วๆไป ก็จะใช้วิธีเขตกรรม คือใช้กิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรค แข็งแรงปลูก วิธีกล ตัดแต่ง เก็บใบหรือส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย เพื่อป้อง กันการระบาด หรือถ้าระบาดรุนแรงจะใช้สารเคมีที่มีสารประกอบทองแดง หรือสารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ ฉีดพ่นเพื่อเป็นการกำจัดโรคแคงเกอร์ แต่วิธีข้างต้นที่กล่าวมาอาจยังยับยั้งการระบาดของโรคแคงเกอร์ ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษเห็นด้วยกับวิธีการคัดเลือกสาพันธุ์พืชที่แข็งแรงต้านทานโรค แต่ไม่เห็นด้วยกัยวิธีตัดกิ่งที่เป็นโรคไปเผาทำลายและก็การใช้วิธีใช้สารเคมีกลุ่ม คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ ในการฉีดกำจัดโรคแคงเกอร์ เพราะการใช้สารเคมีคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ จะเป็นการทำให้คุ้มกันโรคที่พืชมีหายไป ทำให้โอกาสเป็นโรคแคงเกอร์ของพืชตระกูลส้มมีมากยิ่งขึ้น เราควรใช้สารชีวภัณฑ์ที่เป็นกลุ่มจุลินทรีย์สายพันธุ์บาซิลลัสซับธิลิส ชื่อทางการค้าชื่อว่าไบโอเซ็นเซอร์ ฉีดพ่นในการป้องกันหรือกำจัดโรคแบคทีเรียแคงเกอร์ ข้อดีของการใช้ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัสซับธิลิส) ในการกำจัดแคงเกอร์คือ ไบโอเซ็นเซอร์เป็นสารชีวภาพ จึงไม่เป็นอันตรายต่อพืชตระกูลส้ม ไม่ทำให้ภูมิต้านทานโรคที่มีอยู่แล้วไม่หายไป ทำให้ต้นพืชมีภุฒิต้านทานโรคในตัวเองในระดับหนึ่ง ประโยชน์อีกอย่างคือผู้ฉีดก็ปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อโรคต่างๆ ภูมิต้านทานโรคต่างๆของคนก็ดีตามไปด้วย ยิ่งในปัจจุบันมีข่าวเรื่องกระทรวงสาธารณะสุขได้ออกตรวจเกษตรกรบ้านเรา ปรากฏว่ามีสารพิษในร่างกายสูงมากสุมเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคต่างๆเช่น มะเร็ง ทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษเรามีความเป็นห่วงในเรื่องนี้เป็นอย่างมากครับ เป็นห่วงสุขภาพ เป็นห่วงชีวิตพี่ๆชาวสวนเกษตรกร อย่าเอาชีวิตไปเสี่ยงกับการใช้ยาฆ่าแมลงมากไปเลยครับ หันมาทำแบบปลอดสารพิษที่ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษเราส่งเสริมดีกว่ครับ ได้ผมในการกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชไม่ต่างจากการใช้สารเคมีครับ แต่ที่ต่างคือสุขภาพที่ดีที่เงินไม่สามารถซื้อได้ครับ…….สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายจตุโชค จันทรภูมี โทร.0859205846 หรือสอบถามไปที่ฝ่ายวิชาการของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.029861680-2 หรือสอบถามทางระบบ LINE ID : tga003 และ tga004 ได้ 24 ชั่วโมง……

เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
แนะนำติชม : thaigreenagro@gmail.com

ปลูกมะกรูดตัดใบอินทรีย์ ทางเลือกใหม่ ปลอดภัยทั้งผู้ปลูกผู้บริโภค

26 มิ.ย.

เกษตรกรหลายพื้นที่ประสบปัญหาเพาะปลูกไม่ได้ผล ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำๆกัน ไม่มีการหมุนเวียน ทั้งยังใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว ทำให้ดินเป็นกรดขาดสารอาหาร จากที่เคยร่วนซุยกลายเป็นเหนียวแน่นไม่ระบายน้ำ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินต่อพืชจะค่อยๆลดลง ดินก็เริ่มตายใส่ปุ๋ยบำรุงอะไรก็ไม่ได้ผล ทางเลือกที่ดีก่อนปลูกควรเตรียมดิน ปรับสภาพให้เหมาะสม เริ่มตั้งแต่ไถพรวน ย่อยดิน กำจัดวัชพืช ฯลฯ การปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบมาปรุงแต่งรสชาติอาหาร แปรรูปสกัดกลิ่น ซึ่งผู้เขียนมองว่ามันสามารถเป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักให้เกษตรกรได้ไม้แพ้พืชชนิดอื่นๆ มะกรูดชอบดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ไม่ท่วมขัง pH ระหว่าง 5.8-6.3 และมีอินทรียวัตถุสูง ส่วนระยะปลูกก็มีผลต่อการเตรียมแปลงไม่น้อย เช่นแปลงกว้าง 1 เมตร ก็ควรยกร่องสูง 20-25 เซนติเมตร ห่างจากกึ่งกลาง 1.5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร สลับเป็นฟันปลา ไม่ควรเว้นช่วงห่างเกินไปจะทำให้ตัดใบลำบาก ส่วนพันธุ์นั้นสามารถใช้เมล็ดเพาะ ปักชำ หรือกิ่งตอนก็ได้ ที่สำคัญกิ่งที่จะปลูกต้องปลอดแคงเกอร์ หากปล่อยให้แพร่ระบาดเข้าแปลงจะสร้างปัญหาและส่งผลกระทบระยะยาว
ก่อนปลูกต้นมะกรูดควรนำพูมิชซัลเฟอร์ผสมปุ๋ยคอกก่อนผสมลงดินเพื่อเพิ่มธาตุ อาหาร หลุมปลูกควรมีขนาดกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 80 เซนติเมตร ก่อนวางกล้าพันธุ์ลงปลูกให้หว่านไตรโคเดอร์ม่ารองก้นหลุมช่วยป้องกันรากเน่า กลบโคนต้นแล้วหว่านคลุมดินด้วยเศษไม้ใบหญ้าแห้งรักษาความชื้นหน้าดิน การปลูกที่ดีควรหันหน้าใบไปด้านทิศตะวันออกเพื่อรับแสง และควรปลูกในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะดีที่สุด เพราะถ้าปลูกหน้าฝนก็จะเจอปัญหาราเนื่องจากความชื้นสูง
หลุมปลูกไม่ควรรองก้นด้วยยาฆ่าแมลงหรือคาร์โบฟูรานหากมีปลวกหรือด้วงแมลงในดินให้ใช้ฟอร์แทรน(เมธาไรเซียม)หรือสะเดาบดคลุกผสมรองก้นแทน หลังปลูกได้ประมาณ 1 เดือนให้ใส่ยูเรีย(46-0-0) ผสมกับปุ๋ยคอก(ขี้วัวเก่า)และพูมิชซัลเฟอร์ หว่านห่างจากโคนต้นประมาณ 1-2 คืบ ถ้าเป็นหน้าแล้งก็ให้นำเปลือกถั่วเขียวมาหว่านคลุมรอบๆโคนต้น รักษาความชื้นช่วยกระตุ้นการแตกยอดแตกรากใหม่
แรกๆ ก็ควรหมั่นรดน้ำให้ชื้น ช่วยให้มะกรูดตั้งต้นแตกรากแตกใบอ่อนได้ไวขึ้น การใส่ปุ๋ยควรผสมผสานระหว่างปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสม มะกรูดตัดใบจะใช้ไนโตรเจนค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นปุ๋ยเกร็ดสูตร 30-20-10 หรือสูตร 20-20-20 ทุกๆ 10-15 วัน/ครั้ง สลับกับซิลิโคเทรซ +ซิงค์คีเลท 75%+แมกนีเซียม+ไคโตซาน MTและจิบเบอเรลลิน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า มะกรูดตัดใบย่อมต้องการแมกนีเซียม และสังกะสี(ซิงค์) สูงตามไปด้วย ส่วนปุ๋ยเกร็ดสูตร 30-20-10+จิบเบอเรลลินช่วยให้มะกรูดแตกยอดใหม่ไวขึ้น และปุ๋ยเกร็ดสูตร 20-20-20 +ซิลิโคเทรซ ช่วยบำรุงต้นลดการขาดธาตุอาหาร แมลงศัตรูของมะกรูดส่วนใหญ่เป็นหนอนที่เกิดจากผีเสื้อกลางคืน ที่คอยจ้องทำลายกัดกินใบช่วงยอดอ่อน เกษตรกรต้องขยันคอยตรวจจับแล้วทำลายทิ้ง หรือฉีดพ่นสมุนไพรที่มีกลิ่นแรงๆ รสชาติขมๆอย่างสะเดาบด บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจรร่วมหรือสลับกับคัทอ๊อฟ(บิวเวอร์เรีย) 5-7 วัน/ครั้ง หากหนอนระบาดก็ให้ฉีดพ่นไบโอแทค(บีที)+น้ำสะเดาสลับ 3-4 วัน/ครั้ง ช่วยยับยั้งการกัดทำลายของหนอนก่อนจะเข้าดักแด้อีกแรงหนึ่ง การดูแลก็จะหนักอยู่ช่วง 1-2 เดือนแรกที่ต้องคอยรดน้ำเช้าเย็นวันละ 2 เวลา พออายุ 8 เดือนก็เริ่มบำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์หว่านรอบโคนต้น ลดน้ำเหลือวันละครั้ง พอย่างเข้าปีที่ 2 ก็เริ่มตัดใบออกจำหน่ายได้ โดยเลือกตัดกิ่งที่ยาวๆไว้ก่อน ไม่ต้องซอยสั้นเหมือนตัดแต่งกิ่ง หรือยาวประมาณ 50 เซนติเมตรขึ้นไป นำมามัดเป็นกำๆละ7-8 กิ่ง เมื่อเก็บผลผลิตเสร็จก็พักต้นประมาณ 4 เดือน ตัดแต่งบำรุงให้แตกกิ่งใหม่ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช ขูดดินท้องร่องขึ้นกลบโคนต้น ไม่นานมะกรูดก็จะผลิยอดแตกใบให้ได้เก็บดังเดิม สลับหมุนเวียนทุก 4 เดือน/ครั้ง/รุ่นตลอดทั้งปี มะกรูดตัดใบขายจะเน้นเฉพาะการเจริญเติบโตของกิ่งใบเป็นหลัก การตัดแต่งกิ่งเป็นการกระตุ้นให้แตกยอดแตกใบใหม่ การดูแลรักษาต้นเพื่อไว้ตัดใบขาย ควรดูแลรักษามั่นบำรุงต้นใส่ปุ๋ย ฉีดพ่นสมุนไพรอย่างสะเดาบดหรือจุลินทรีย์อย่างคัทอ๊อฟ(บิวเวอร์เรีย) และไบโอแทค(บีที)อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ยิ่งเป็นช่วงหน้าฝนหรือหน้าหนาวน้ำค้างแรง ราดำ ราสนิม ราส้มฯลฯ ชอบระบาดให้ฉีดพ่นล้างสปอร์ด้วยน้ำเปลือกมังคุดก่อน แล้วตามด้วยไบโอเซ็นเซอร์(พลายแก้ว) 3-5 วัน/ครั้ง แค่นี้ก็สามารถยับยั้งการแพร่กระจายของราและแคงเกอร์ได้แล้วละครับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือผู้เขียน 081-3983128 ท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ชมรมฯสอบถามได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ Line Center : tga001, tga002, tga003, tga004 *** สินค้าคุณภาพ…ต้องตราใบไม้ลายธงชาติ เท่านั้น ***
คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ฟิวซาเรียม(Fusarium)เชื้อโรคร้าย ภัยเงียบที่ป้องกันได้

22 มิ.ย.

Fusarium oxysporum เป็นเชื้อราสำคัญที่ระบาดสร้างความเสียหายให้กับพืชต่างๆ มากมายหลายชนิด โดยมีสายพันธุ์แตกต่างกันออกไปตามชนิดชองพืชที่มันเข้าทำลาย จัดเป็นเชื้อที่สร้างปัญหาและยากต่อการป้องกันกำจัดมากที่สุดตัวหนึ่ง โรคที่สำคัญที่มีสาเหตุจากเชื้อฟิวซาเรียม ได้แก่ โรคตายพรายในกล้วย โรคเหี่ยวในมะเขือเทศ พริก ถั่ว และพืชตระกูลแตง
เชื้อฟิวซาเรียม สามารถเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช มักเข้าทำลายที่ระบบรากและระบบท่อน้ำท่ออาหาร ส่วนของต้นที่อยู่ระดับดินหรือใต้ดินจะถูกทำลายก่อน ทำให้พืชไม่แสดงอาการผิดปกติในระยะแรก จนเมื่อระบบรากถูกทำลายจนเน่าเสียแล้วจึงพบอาการภายนอกตามมา เช่น อาจเกิดอาการชะงักงัน เหลือง เหี่ยวเฉา แล้วแห้งตายทั้งต้น โดยในตอนแรกจะเหี่ยวเฉพาะกลางวันที่อากาศร้อน และจะกลับสดอย่างเดิมในตอนกลางคืน อาการจะค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้น ใบที่เหี่ยวจะเกิดอาการไหม้และแห้งขึ้นที่บริเวณขอบ ต่อมาเนื้อใบที่เหลือจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งจนในที่สุดเมื่อเกิดการเหี่ยวอย่างถาวร พืชก็จะตายทั้งต้น ต้นที่แสดงอาการเหล่านี้เมื่อถอนขึ้นจากดินแล้วผ่าต้นออกดูจะเห็นเชื้อราฟิวซาเรียมเจริญเติบโตอุดตันอยู่ในท่อน้ำท่ออาหารสำหรับต้นที่ตายบางครั้งจะพบแผลสีนํ้าตาลแดงเกิดขึ้นที่บริเวณโคนต้นและราก ในกรณีที่มีความชื้นสูงจะปรากฏเส้นใยและสปอร์หรือโคนีเดียของเนื้อสีชมพูเรื่อๆ ให้เห็นอยู่ทั่วไป ตามแผล ชื้อฟิวซาเรียม เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความเป็นกรด สภาวะชื้นและอุณภูมิสูง(27-32 องศาเซลเซียส) แพร่ระบาดโดยดิน น้ำ เครื่องมือ และสิ่งเคลื่อนไหวต่างๆ สามารถอยู่ข้ามฤดูในเศษซากพืชที่เป็นโรคและในดิน พืชที่ติดเชื้อมักแสดงอาการเมื่อการระบาดทวีความรุนแรงแล้ว ทำให้การรักษาทำได้ยากและต้องใช้ค่าใช้จ่ายมาก การป้องกันจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการรับมือเชื้อฟิวซาเรียม ก่อนปลูกควรรองก้นหลุมปลูกด้วยหินแร่ภูเขาไฟภูมิชซัลเฟอร์ อัตราหลุมละ 50-100 กรัม ช่วยเพิ่มความร่วนซุย ลดความเป็นกรดของดินและช่วยให้พืชมีภูมิต้านทานโรคที่ดี การเจริญเติบโตที่ดีอีกด้วย การใช้กลุ่มเชื้อและควรใช้ราไตรโคเดอร์ม่า(อินดิวเซอร์) รองก้นหลุมปลูกเพื่อช่วยป้องกันโรคเชื้อราที่เกิดจากเชื้อฟิวซาเรียมด้วย หลังปลูก ราดกล้า(พืชผัก)หรือชุบหน่อ(กล้วย)ด้วย หรือฉีดพ่นที่พืชในระยะเริ่มต้น(เช่น กล้วยอายุ 1เดือน) ด้วยจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดเชื้อราอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า) หรือ ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลัสซับทิลิส) เป็นประจำเดือนละ 2 ครั้งก็เป็นการช่วยป้องกันโรคฟิวซาเรียมไม่ให้ระบาดได้………
อบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายจตุโชค จันทรภูมี โทร.0859205846 หรือสอบถามไปที่ฝ่ายวิชาการของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.029861680-2 หรือสอบถามทางระบบ LINE ID : tga003 และ tga004 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
แนะนำติชม thaigreenagro@gmail.com

ป้องกันและกำจัดหนอนกระทู้หอมหน่อไม้ฝรั่ง

21 มิ.ย.

สวัสดีครับช่วงนี้ทั่วทุกถิ่นที่คงเย็นฉ่ำกันถ้วนหน้าเข้าสู่ฤดูฝนแล้วระวังสุขภาพกันด้วยนะครับ วันนี้ผมมีเรื่องราวเกี่ยวกับหน่อไม้ฝรั่งมาฝากกันนะครับ เข้าเรื่องกันเลยครับหน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชผักที่ได้รับความสนใจและนิยมมากในปัจจุบันมีทั้งชนิดหน่อสีขาวและชนิดหน่อสีเขียวโดยมากจะปลูกกันในแถบอากาศอบอุ่นที่ราบสลับเชิงเขา เช่นจังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี นครราชสีมาและแถบจังหวังสุพรรณบุรีบางส่วน ราคาต่อกิโลกรัมหลัก100 บาทขึ้นเลยทีเดียวจึงเป็นสาเหตุให้เกษตรกรหันมาสนใจพืชชนิดนี้กันหลายพื้นที่ไม่เว้นแม่แต่พื้นที่ราบลุ่มแถบภาคกลางอย่างจังหวัดอ่างทอง วันนี้ผมจึงพามาพบกับ คุณจารุวรรณ ทองอ่อน(พี่ปา) เจ้าของสโลแกนที่ว่า **อ่างทองก็ปลูกหน่อไม้ฝรั่งได้(หน่อสีเขียว)**ตั้งอยู่เลขที่ 19 หมู่3 ตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ปลูกบนเนื้อที่เกือบ 2 ไร่ จากที่ผมลงพื้นที่ภาคสนามเยี่ยมชมสวนหน่อไม้ฝรั่งพี่ปาและจากการสอบถามข้อมูล ก็พบกับปัญหาที่กวนใจหน่อไม้ฝรั่งก็คือ เจ้าและหนอนกระทู้หอมศัตรูตัวฉกาจเลยก็ว่าได้ หนอนกระทู้หอมมาจากแม่ผีเสื้อวางไข่เป็นกลุ่มๆมักวางตอนเย็นถึงค่ำ เมื่อฟักตัวเป็นหนอนแล้วจะกัดกินส่วนลำต้นและใบให้ขาด แหว่ง และหักได้และจะกัดกินหน่อไม้ฝรั่งที่อยู่ในระยะกล้ามากกว่าเพราะกัดกินง่ายมากกว่าหน่อไม้ฝรั่งที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เนื่องจากแม่ผีเสื้อวางไข่ครั้งล่ะมากๆทำให้ตัวหนอนที่ฟักไข่มีจำนวนมาก เมื่อเข้ากัดกินทำลายหน่อไม้ฝรั่งทำให้เสียหายมากทีเดียว สร้างความระกำช้ำใจให้ไม่น้อยทีเดียว หลังจากรู้ที่มาของเจ้าตัวปัญหานี้แล้ว ผม(ผู้เขียน) จึงแนะนำให้ใช้ ไบโอแทคจุลินทรีย์ปราบหนอน ในอัตรา 50-80 กรัมต่อ/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 3 วันช่วงที่ระบาดหนัก หลังจากนั้นค่อยๆห่างออกไป ทุกๆ 5 ถึง 7 วันเพื่อฉีดป้องกัน และควรใช้ร่วมกับ ไทเกอร์เฮิร์บผงสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน เพื่อป้องกันแม่ผีเสื้อวางไข่กลางคืนสาเหตุทำให้เกิดหนอน ในอัตราส่วน 1-2 ช้อนแกงต่อ/น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ5-7 วันจะเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นครับ หลังจากพี่ปาใช้แล้วหนอนกระทู้หอมและแมลงศัตรูพืชเริ่มน้อยลงและหายไปในที่สุด สร้างรอยยิ้มคลายความทุกข์คืนความสุขกลับมาอีกครั้งครับ…. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายโอภาส มาฤทธิ์(ผู้เขียน) โทร 087-5198791 , 0868954172 หรือสอบถามได้ที่ฝ่ายวิชาการของชมรมเบอร์โทร 02-9861680-2 หรือติดต่อสอบถามทาง LINE ID tga003และtga004 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ
เขียนและรายงานโดย นายโอภาส มาฤทธิ์ (นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

โลกร้อนเอื้อต่อการเจริญเติบโตของแมลงศัตรูพืช

20 มิ.ย.

ยิ่งอุณหภูมิสูงยิ่งทำให้แมลงฟักฟื้นตัวเร็ว สามารถเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์รวดเร็ว โดยเฉพาะแมลงปากกัดปากดูดน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำ ท่ออาหารจนเป็นสาเหตุให้ต้นพืชแคระแกรน ใบเหลือง หงิก เหี่ยว ไม่เจริญเติบโตตามเวลาอันควร การอัดปุ๋ยเคมีเร่งการเจริญเติบโตที่มีไนโตรเจนสูงๆ ยิ่งกระตุ้นให้ประชากรเพลี้ยแมลงศัตรูเพิ่มปริมาณมากขึ้นและรวดเร็ว สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรโดยเฉพาะพื้นที่ที่ปลูกพืชซ้ำชนิดซ้ำที่ต่อเนื่องนานๆ ส่งผลให้เพลี้ยแมลงศัตรูมีที่อยู่ มีแหล่งอาหาร สามารถเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ชีวภาพอย่าง สมุนไพร จุลินทรีย์ เป็นทางออกอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยควบคุมการระบาดของเพลี้ยได้ อีกยังช่วยลดสารเคมีอันตราย ลดต้นทุนการผลิต ป้องกันสารพิษตกค้าง ดินก็ไม่เสื่อมระบบนิเวศน์ก็ไม่เสีย แมลงตัวห้ำตัวเบียนก็ไม่ถูกทำลายอย่างทุกวันนี้ ท่านเคยสังเกตไหม แมลงปอที่เคยบินโฉบไปโฉมมาตามท้องทุ่ง หรือไม่ก็แมงมุมที่ชักใยตามใบข้าวกลางท้องนาหายไปไหน ผู้เขียนกำลังจะบอกว่าที่มันหายก็เพราะท้องทุ่งมีแต่สารเคมี สารพิษที่คอยทำลายชีวิตและห่วงโซ่อาหารของแมลงหรือแมงพวกนี้ ไม่อนุรักษ์ไว้เอาทำลายอย่างทุกวันนี้ วันข้างหน้าเราก็ไม่มีแมลงดีๆคอยพิทักษ์ท้องทุ่ง ป้องกันแมลงศัตรู และเมื่อผู้พิทักษ์น้อยลงแมลงศัตรูเท่าเดิมหรือมากกว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาครับที่ต้องหาตัวช่วย แต่ก็ต้องดู ต้องเลือก คิดนิดหนึ่งว่า ช่วยส่งเสริมผลักดันหรือ(หนี้)ซ้ำเติม(ตาย)ผ่อนส่ง ท่านคงเข้าใจเจตนาที่ผู้เขียนกล่าวนะครับ แต่ท่านจะเลือกอย่างไร สิ่งใด วิธีไหนสร้างหนี้เพิ่มหรือลดต้นทุนคืนสู่ธรรมชาติคืนบรรยากาศเก่าๆให้ท้องทุ่งท้องนา มันเป็นสิทธิ์ของท่าน ผู้เขียนห้ามหรือไปเปลี่ยนความคิดของท่านไม่ได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือผู้เขียน 081-3983128 ท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ชมรมฯสอบถามได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ Line Center : tga001, tga002, tga003, tga004 *** สินค้าคุณภาพ…ต้องตราใบไม้ลายธงชาติ เท่านั้น ***
คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วิธีแก้ปัญหาดินเค็มแบบชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

19 มิ.ย.

วันนี้จะมาบอกเล่าถึงวิธีการแก้ปัญหาดินที่เป็นด่างในการปลูกข้าวมาฝากกันครับซึ่งก็พบความเป็นด่างได้น้อยมากในแต่ละพื้นที่ ก่อนอื่นต้องขออธิบายความหมายและความสำคัญของดินก่อนว่า ดินเป็นวัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของดิน และแร่ รวมกับสารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่ห่อหุ้มโลก ซึ่งดินจะมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกันไปในที่ต่าง ๆ ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตและระยะเวลาการสร้างตัวของดิน ดินทำหน้าที่เป็นที่ให้รากพืชได้เกาะยึดเหนี่ยวเพื่อให้ลำตันของพืชยืนต้นได้อย่างมั่นคงแข็งแรง ดินทำหน้าที่เป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินเป็นแหล่งที่เก็บกักน้ำหรือความชื้นในดินและเป็นแหล่งที่ให้อากาศในดินที่รากพืชใช้ในการหายใจ โดยการปลูกข้าวแต่ละครั้งสภาพดินที่เหมาะสมในการทำนาในแต่ละครั้งความเป็นกรด-ด่างของดินนั้นต้องมี่ค่า PH อยู่ที่ 5.8-6.3 ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมสำหรับการทำนาที่สุดโดยพืชจะสามารถดูดกินธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารจุลธาตุต่างๆที่อยู่ในดินอย่างเต็มที่ ซึ่งในการปลูกข้าวนั้นได้เมื่อประสบกับปัญหาเรื่องของดินเป็นด่างจัด ทำให้ต้นข้าวไม่เจริญเติบโต รากดำและไม่แตกแขนง ใบเหลืองและแดง โดยวิธีการแก้ปัญหานั้นสามารถทำได้โดยการนำดินไปตรวจและได้นำผลิตภัณฑ์ของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่ชื่อ ภูไมท์-ซัลเฟตแดงมาใช้ ซึ่งภูไมท์-ซัลเฟตแดงมีคุณสมบัติช่วยทำให้ดินร่วนซุย น้ำซึมผ่านดินได้ง่าย ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น แก้ดินที่เหนียวจัด แก้ดินดาน แก้ดินแน่นแข็ง ช่วยไล่เกลือออกจากเนื้อดิน ช่วยเพิ่มอากาศในดิน ช่วยอุ้มน้ำของดิน แก้อาการขาดปูนและกำมะถันในพืช แก้พืชแพ้หนาวและร้อน แก้พืชซีด เขียวตองอ่อน แก้พืชโตช้า ซึ่งคุณยายสุรินทร์ได้ทดลองใช้ ภูไมท์-ซัลเฟตแดง จำนวน 1-2 กระสอบมาคลุกผสมกับปุ๋ยเคมีจำนวน 1-2 กระสอบ แล้วจึงทำการหว่าลงแปลงนาทั้ง 1 ไร่แล้วเริ่มสังเกตดูทุกวัน เมื่อผ่านไปสัก 1-2 วันจะพบได้ว่าว่าต้นข้าวที่เหลืองและแดงก็กลับมาเขียวสวยลำต้นแข็งใบตั้งรับแดดดีมากๆ รากที่ดำและไม่แตกแขนงก็กลับกลายมาเป็นรากขาวใสแตกแขนงเยอะรากยาว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมนายจตุโชค จันทรภูมี โทร.0859205846 หรือสอบถามไปที่ฝ่ายวิชาการของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.029861680-2 หรือสอบถามทางระบบ LINE ID : tga003 และ tga004 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenago.com
แนะนำติชม : thaigreenagro@gmail.com

ป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟไรแดงสตรอเบอร์รี่

16 มิ.ย.

อ่างทองจังหวัดเล็กๆริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อุดมไปด้วยท้องทุ่งนาข้าวเขียวขจีเหลืองอร่ามสีทองพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ตามแบบฉบับพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง เนื่องจากพื้นที่จังหวัดอ่างทองเป็นพื้นที่ราบลุ่มจึงเหมาะแก่การทำการเกษตร ทำได้ตลอดทั้งปี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาข้าวกว่า 90% ของพื้นที่ทั้งหมด แต่ไฉนเลยใครจะคิดได้เล่าว่าอ่างทองก็ปลูกสตอรเบอร์รี่ได้เช่นกันไม่ต้องเดินทางไกลไปถึงเชียงใหม่ ก็สามารถหาได้ที่นี่ไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ วันนี้ขอนำเสนอเรื่องราวของอดีตอาจารย์หนุ่มซึ่งหันหลังให้กับอาชีพครูกลับมาอิงไออุ่นผืนแผ่นดินถิ่นกำเนิด อ.จิราศักดิ์ สุขใจ(เจ้าของไร่สตรอเบอร์รี่สายทอง) ซึ่งปลูกอยู่ ตำบลหนองแม่ไก่ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง บนพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ซึ่งประสบกับปัญหาเพลี้ยไฟไรแดง แมลงปากดูดต่างๆ ก่อนอื่นขออธิบายลักษณะอาการเมื่อถูกเพลี้ยไฟไรแดงหรือแมลงจำพวกปากดูดก่อนนะครับว่ามีอาการเช่นไรลักษณะอาการ ใบจะหยิก ย่น ใบผิดรูปร่างใบม้วนขึ้น ใบเหลืองแข็งกรอบ ส่งผลให้ยอดหงิกงอไม่ติดดอกออกผลสร้างความปวดหัวได้ไม่น้อยทีเดียว หลังจากทราบข้อมูลภาคสนาม ของอ.จิราศักดิ์(เจ้าของ)และเจ้าตัวปัญหาแล้วทางชมรมจึงแนะนำให้ใช้ จุลินทรีย์บูวาเรีย หรือ คัทอ๊อฟ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยไฟไรแดง ในอัตราส่วน 50-80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นช่วงเย็นแดดอ่อนๆทุกๆ 3 วันช่วงที่ระบาดมากๆหลังจากนั้นค่อยๆห่างออกไป ทุกๆ 5 ถึง 7 วัน หรือควรฉีดพ่นสลับกับ มาร์โก้ซีด สารสกัดจากสะเดา อัตราส่วน 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ5-7 วันจะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น หลังจากแนะนำให้ อ.จิราศักดิ์ใช้แล้วเจ้าเพลี้ยไฟไรแดงเจ้าตัวปัญหานี้ค่อยๆหายและลาจากไร่สตรอเบอรี่สายทองโดยปริยายครับ…สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ นายโอภาส มาฤทธิ์(ผู้เขียน) โทร 087-5198791, 0868954172 หรือสอบถามได้ที่ฝ่ายวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร 02-9861680-2 หรือติดต่อสอบถามทาง LINE ID : tga003 และ tga004 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เขียนและรายงานโดย : นายโอภาส มาฤทธิ์(นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com