“บทความเกษตร”ยับยั้งการเกิดโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตงแบบปลอดสารพิษ

22 ม.ค.

ครับพี่ๆน้องๆชาวสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกๆท่าน วันนี้ทางทีมงานนำข้อมูลเกี่ยวกับการยับยั้งโรคเชื้อราในพืชตระกูลแตงอย่างแตงกวา ของเกษตรกรจังหวัดสิงห์บุรี ชื่อคุณนิวัฒน์ คุ้มดี ที่ได้ทราบข้อมูลว่าตอนนี้ได้ปลูกแตงกวาอยู่ในพื้นที่จำนวน 3 ไร่ โดยบริหารจัดการดูแลเพียงคนเดียว จากการสอบถามยังพบว่าตอนนี้แตงกวานั้นสมบูรณ์แข็งแรงดี ผลผลิตก็สมบูรณ์ แต่มีปัญหาตรงที่สภาพอากาศนั้นมีหมอกและน้ำค้างเยอะในตอนเช้าทำให้เกิดปัญหาเรื่องของโรคราน้ำค้างเข้าเล่นงาน โดยโรคราน้ำค้าง หรือที่เกษตรกรเรียกว่า “โรคใบลาย” เป็นโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดโรคหนึ่งของแตงกวาและพืชวงศ์แตงในประเทศไทย สาเหตุของโรคเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis (Berk.& M. A. Curtis) Rostovzev ที่สามารถเข้าทำลายได้เฉพาะในพืชวงศ์แตง โดยอาการจะเกิดเป็นปื้นเหลืองบนใบ ด้านหลังของใบอาจมองเห็นกลุ่มของเส้นใยหรือบางครั้งมองไม่เห็นด้วยตา ปื้นสีเหลืองนั้นต่อไปจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลโดยเริ่มเปลี่ยนจากกลางแผลออกไป ถ้าสภาพอากาศเหมาะต่อการเจริญของเชื้อคือ อุณหภูมิ 16-22 องศาเซลเซียส และความชื้นสูงจะทำให้มีการระบาดของโรคอย่างรวดเร็วทำให้ ใบของแตงแห้งและทำให้ต้นตาย เกษตรกรที่เพาะปลูกนั้นสามารถมองสังเกตเห็นอาการผิดปกติที่บริเวณใบแก่ และโคนเถาจะแสดงอาการก่อนคือ มีแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอ่อนประปายทั่วไปทำให้ใบแห้งและเหี่ยว เมื่อโรคระบาดรุนแรงจะทำให้เถาแตงเหี่ยวตายหมดทั้งเถา ในช่วงมีอากาศชื้นเมื่อพลิกดูด้านท้องใบจะมีขุยของราสีขาวหม่นคล้ายผงแป้ง โรคนี้จะระบาดรุนแรงและรวดเร็วเมื่อแตงอยู่ในระยะกำลังให้ผล ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่จะเก็บเกี่ยว การแพร่กระจายของเชื้อนั้นจะปลิวไปตามลม แต่บางครั้งระบาดได้โดยติดไปกับแมลงบางชนิด เช่น ด้วงเต่าแตง ฯลฯ กรณีที่โรคระบาดรุนแรง อาจทำให้ผลผลิตแตงกวาลดลงมากกว่าร้อยละ 50

การป้องกันเบื้องต้นที่ใช้ป้องกันคือการดูแลเรื่องดินให้ร่วนซุยการใช้หินแร่ภูเขาไฟพูมิช-ซัลเฟอร์หว่านให้ทั่วแปลงหรือผสมกับปุ๋ยแล้วหว่านก็ได้ ขั้นตอนต่อมานั้นก็คือการใช้ฮอร์โมนของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เช่น ซิลิโคเทรซ ไวตาไลเซอร์และไคโตซานMT ฉีดพ่นบำรุงทุกๆ 7-14 วัน/ครั้ง(โดยปรกติพี่เขาจะฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน/ครั้ง) ขั้นตอนต่อมาคือการใช้จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า(ชนิดละเอียด)ผสมน้ำฉีดพ่นสลับกับบีเอสพลายแก้ว เพื่อเป็นการกำจัดสปอร์เชื้อราที่ปลิวมาตกและกำลังจะขยายเชื้อ โดยการทำวิธีนี้จะเป็นการป้องกันและกำจัดโรคราน้ำค้างและเชื้อราต่างๆได้อย่างดีเยี่ยม และตอนนี้พี่เขากำลังทดลองใช้แซนโธไนท์ซึ่งเป็นสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่สามารถล้างเชื้อราน้ำค้างได้อย่างดีเยี่ยมแทนการใช้จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่าและบีเอสพลายแก้ว ซึ่งการใช้พลายแก้วและไตรโคเดอร์ม่านั้นจะมีต้นทุนที่สูงกว่าการใช้แซนโธไนท์พอสมควร แต่วิธีข้างต้นที่กล่าวมาตอนแรกนั้นทางสวนแตงของคุณนิวัฒน์ คุ้มดี ได้ยืนยันว่าได้ผลดีมาก(แค่อยากจะลดต้นทุนลงมาอีกเท่านั้นถึงลองแบบใหม่) เกษตรกรท่านใดที่ปลูกแตงกวาอยู่ในตอนนี้อย่านิ่งเฉยควรลงดูแปลงเพื่อตรวจสอบการระบาดของโรคเพื่อจะได้ป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายจตุโชค จันทรภูมี(ผู้เขียน) โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่เบอร์ Call Center ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.084-5554205-9

เขียนและรายงานโดย

จตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)

ใส่ความเห็น