โปรตีนในอาหารกุ้งสูงมาก กุ้งย่อยไม่หมดเกิดแก๊สของเสีย

23 มิ.ย.

การเลี้ยงกุ้งในบ้านเรานั้นดูเงียบเหงาซบเซามาหลายปี ตั้งแต่หลังจากเหตการณ์ ไนท์วันวัน (911) ที่สมุนของบิลลาเดน กลุ่มอัลกออิดะห์ได้บังคับให้เครื่องบินโดยสารมุ่งหน้าไปชนตึกเวิลด์เทรดของประเทศอเมริกา ทำให้ตึกแฝดที่เป็นเอกลักษณ์ของอเมริกานั้นสูญสลายหายไปจากประวัติศาสตร์ทันที หลังจากวันนั้น 11 กันยายน 2544 จนถึงวันนี้สถานการณ์กุ้งในบ้านเราก็ยังไม่ถือว่ารุ่งโรจน์โชติช่วงชัชวาลย์เหมือนกับห้วงช่วงปี 2537 – 2542 ซึ่งขณะนั้นไม่ว่าจะพื้นที่ภูมิภาคไหนที่เป็นเขตเลี้ยงกุ้ง จะมีใบพัดตีน้ำพัดตีละออกน้ำออกมากระเซ็นเส้นสายกระทบกับประกายแดดไปทั่วทั้งพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น อ. แหลมสิงห์ จังหวัดตราด อ. แกลง จ. ระยอง อ. บางน้ำเปรี้ยว และอีกหลายอำเภอใน จ. ฉะเชิงเทรา อ. พาน จ. ชลบรี อ. สามร้อยยอด อ. กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช อ. ปากพนัง สิชล อ. ระโนด สงขลา จ. พังงา จ. กระบี่ ย้อนขึ้นมาแม้แต่โซนภาคกลางที่ในขณะนั้นไม่น่าเชื่อว่าจะมีกุ้งกุลาดำ ซึ่งถือว่าเป็นกุ้งน้ำเค็มจะมีการเลี้ยงได้ ทั้ง อ. บ้านแพ้ว จ. สมุทรสาคร อ. บางเลน จ. นครปฐม อ. สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี ในพื้นที่นี้จะเรียกว่า “กุ้ง” บูมหรือไม่บูมก็มีข่าวให้ นายบรรหาร ศิลปะอาชา นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นต้องออกมาหย่าศึกระหว่างนากุ้ง กับนาข้าวของพี่น้องเกษตรกรที่มีปัญหาเรื่องของน้ำเค็มจากบ่อกุ้งปล่อยออกมารบกวนการปลูกข้าวทำนาของเกษตรกรท้องถิ่นกันเลยเชียวแหละ
ที่ตลาดกุ้งเงียบเหงาตั้งแต่เหตุการณ์ ไนท์วันวัน นั้นก็เพราะว่าตลาดใหญ่ของบ้านเราที่นำเข้ากุ้งกุลาดำเป็นอันดับต้นๆของโลกนั้นก็คือ ยุโรป อเมริกา และก็ญี่ปุ่น เมื่อเหตุการณ์ก่อการร้ายเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด จึงทำให้ฝรั่งตาน้ำข้าวไม่ว่าจะเป็นยุโรป อเมริกา ก็หวาดผวาไม่กล้าให้ผู้คนชนทั่วโลกเดินทางเข้าออกหรือแม้แต่การนำเข้าสินค้าเกือบทุกชนิดก็ต้องมีมาตรการที่เข้มงวด เพราะยังมีปัญหาในเรื่องของเชื้อโรค แอนแทรกซ์ ที่แอบใส่ในซองจดหมาย เมื่อใครเปิดอ่านก็จะได้รับเชื้อเจ็บป่วยตายโดยไร้ยารักษา ยิ่งทำให้โลกๆ ทั้งโลกตกอยู่ในความหวาดกลัวมาตลอด เพิ่งจะคลี่คลายก็ไม่นานมานี่เอง

หลังจากนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในบ้านเราก็เริ่มมาให้ความสนใจในเรื่องของการเลี้ยงกุ้งขาว แวนาไม ที่สร้างรายได้ดี โตเร็ว เลี้ยงง่าย แต่อย่างว่าพอเลี้ยงมาได้สักระยะก็มีปัญหาในเรื่องของโรคตายด่วน (EMS [Early Mortality Syndrome]) โรคนี้สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่ผู้เลี้ยงกุ้งทั่วโลกนะครับ ไม่ใช่ว่ามีแต่ในบ้านเราบ้านเดียว ปัจจุบันโรคตายด่วนนี้ก็ยังสร้างปัญหาให้กับประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซียม และอินเดีย ล่าสุดนั้น อเมริกามีการตีกลับกุ้งจากเวียดนาม และอินเดียว เนื่องด้วยมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค จึงทำให้น่าจะเป็นโอกาสอีกครั้งหนึ่งของพีน้องเกษตรกรของไทยเราที่ถ้าสามารถเลี้ยงกุ้งให้ผ่านได้ก็น่าจะทำตัวเลขการส่งออกมากขึ้น แต่เดิมเมื่อปีสองปีที่แล้วมีตัวเลขเพียงห้าถึงหกหมื่นตัน แต่มาปีนี้เห็นแว่วๆว่าเขาจะทำกันหื้ได้มากถึง 300,000 ตันทีเดียวเชียวล่ะครับ

จากนโยบายของรัฐบาล คสช. ที่ให้งบประมาณให้ทางกรมประมงไปปรับปรุงนำเข้าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จากต่างประเทศมาเพาะเลี้ยงแล้วจำหน่ายจ่ายแจกพันธุ์ที่ปลอดเชื้อไปสู่พี่น้องเกษตรกรปีละประมาณ 100,000 คู่ จึงทำให้สถานการณ์กุ้งบ้านเราดูเหมือนว่าจะค่อยๆ ดีขึ้น ประกอบกับการเลี้ยงแบบเข้าใจในธรรมชาติและเน้นในเรื่องของการทำแบบปลอดสารพิษ คือไม่ใช่ยา ไม่ใช้ปูน แต่ใช้หินแร่ภูเขาไฟ (สเม็คโตไทต์ Smectotite, สเม็คไทต์ Smectite , ไคลน็อพติโลไลท์ Clinoptilolite) ช่วยในการจับแก๊สของเสียที่พื้นบ่อ และการใช้กลุ่มของบาซิลลัส MT (Bacillus Subthilis ssp) โดยเฉพาะกลุ่มของสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ซึ่งเป็นแฟนคลับเก่าแก่กันมาเกือบยี่สิบปีที่ยังเลี้ยงอยู่รอดกันอยู่ เนื่องด้วยทั้งหินแร่ภูเขาไฟและจุลินทรีย์ที่มีการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงให้มาทำหน้าที่ย่อยกากปลาป่น ข้าวโพด ถั่วเหลืองบด โดยเฉพาะ ให้ก๊าซของเสียมีน้อย ออกซิเจนมากขึ้น อีกทั้งเปอร์เซ็นต์ของโปรตีนในอาหารสัตว์ปัจจุบันมีการแข่งขันกันเพิ่มเปอร์เซ็นให้สูงขึ้นเพื่อโชว์ตัวเลขแข่งขันกันทางด้านตลาด ส่งผลทำให้กุ้ง หอย ปู ปลา เต่า ตะพาบ ไม่สามารถจะย่อยสลายโปรตีนที่หลงเหลือหลังจากขับถ่ายออกมาให้สะอาดหมดจดได้ โปรตีนที่มากเกินความจำเป็นนี้จึงเป็นปัญหาเมื่อตกค้างอยู่ที่พื้นบ่อ บูดเน่า ย่อยสลายกลายเป็นก๊าซแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า) และมีเทน ทำให้กุ้งปลาหายใจไม่ออก เครียด กินอาหารน้อย โตช้า ภูมิคุ้มกันต่ำ เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย มี่รายงานจากคุณประสิทธิ์ ทรทรัพย์ สมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ที่เลี้ยงกุ้งอยู่ที่ อ. กุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ ได้แจ้งว่า ถ้าดูแลรัก๋ษาพื้นบ่อให้สะอาด แม้แต่โรคต่ายด่วนอย่าง EMS ก็ไม่สามารถเข้าทำอันตรายใดๆแก่กุ้งของเขาได้ สนอกสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 081 398 3128

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com

ใส่ความเห็น